[อัพเดต 27 พค 64] ลงทะเบียนทางเว็บไซต์
www.ไทยร่วมใจ.com หรือผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” ตั้งแต่ 27 พค 64 (12.00 น.) เป็นต้นไป
[อัพเดต 13 พค 64] กทม เปิดจุดฉีดนอกโรงพยาบาลเพิ่มอีก 10 จุด ตามรายชื่อด้านล่าง (ลำดับ 15-25)
30 เม.ย. 64 กทม. แถลงข่าวความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร สภาการพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการจัดหน่วยบริการวัคซีน COVID-19 ให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในเดือน มิ.ย. 64 กทม.จะได้รับการจัดสรรวัคซีน โดยมีเป้าหมายฉีดให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรในกรุงเทพมหานคร หรือประมาณ 5 ล้านคน (เพื่อให้เกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ - herd immunity) เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย กระจายวัคซีนได้รวดเร็ว มีความสะดวกต่อประชาชน และลดการเดินทางข้ามพื้นที่ กทม. จึงกำหนดแผนการให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนแรกในโรงพยาบาลทุกสังกัดในกรุงเทพมหานคร 11 แห่ง
กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรือรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
2. ส่วนที่สองเป็นหน่วยบริการวัคซีนกรุงเทพมหานคร 14 แห่ง + เพิ่มอีก 10 แห่ง (12 พค 64)
สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 59 ปี ที่สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และได้ทำการจองคิวรับวัคซีนมาแล้ว หน่วยบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล ได้แก่
- SCG บางซื่อ 2,000 คน/วัน ร่วมกับ กรมการแพทย์
- ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว 2,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.รามาธิบดี
- สามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน 1,500 คน/วัน ร่วมกับ รพ.จุฬา
- ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค เขตสวนหลวง 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
- True Digital Park เขตพระโขนง 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.ศิริราช
- เอเชียทีค เขตบางคอแหลม 2,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
- เดอะมอลล์ บางกะปิ 2,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.นพรัตน์ราชธานี
- โรบินสัน ลาดกระบัง 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
- โลตัส มีนบุรี 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
- เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.วชิรพยาบาล
- ไอคอนสยาม เขตคลองสาน 1,000 คน/วัน ร่วมกับ รพ.ศิริราช
- สถานีบริการน้ำมัน ปตท. พระราม 2 เขตบางขุนเทียน 1,500 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
- เดอะมอลล์ บางแค 2,000 คน/วัน ร่วมกับ ม.สยาม โดยคณะแพทย์ศาสตร์และพยาบาลศาสตร์
- บิ๊กซี บางบอน 1,500 คน/วัน ร่วมกับ รพ.เครือบางปะกอก
- ม.หอการค้าไทย 2,000-2,500 คน/วัน
- สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ 1,000-1,500 คน/วัน
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ 2,500-3,000 คน/วัน
- ม.ศรีปทุม 1,500-2,000 คน/วัน
- เซ็นทรัลเฟสติดวัล อีสต์วิลล์ 1,500-2,000 คน/วัน
- เซ็นทรัลเวิลด์ 2,500-3,000 คน/วัน
- สยามพารากอน 2,000-2,500 คน/วัน
- เอ็มโพเรียม 1,000 คน/วัน
- โลตัส พระราม 4 1,000-1,500 คน/วัน
- โลตัส ปิ่นเกล้า 1,500-2,000 คน/วัน
- บิ๊กซี ร่มเกล้า 1,000 คน/วัน
*คลิกที่ชื่อแต่ละแห่งเพื่อดูแผนที่
* ลำดับ 15-25 เพิ่มเติมเมื่อ 12 พค 64
กทม.ตั้งเป้าหมายในการฉีดที่หน่วยบริการนอกโรงพยาบาล ให้ได้แห่งละ 1,000-3,000 คนต่อวัน รวม 25 แห่ง จะให้บริการได้ 38,000-50,000 คนต่อวัน
แผนการวัคซีนโควิด ระยะที่ 2 ที่จะเริมฉีดช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ กำหนดฉีดให้กับบุคคลากร ต่างๆ ดังนี้
- สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค อาทิ ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต (พนักงานกวาดและเก็บขนขยะ)
- เจ้าหน้าที่ด่านท่าเรือคลองเตย
- เจ้าหน้าที่ในสถานกักตัวทั้งในส่วนของ SQ , ASQ และLQ
- เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ Hospitel
- รวมทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค และกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และประชาชนทั่วไป ตามเป้าหมายหลักของกระทรวงสาธารณสุข
เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกสถานที่ให้บริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล ประกอบด้วย
- เป็นสถานที่ที่ประชาชนเดินทางเข้ารับบริการได้สะดวก
- ในกรณีฉุกเฉินสามารถนำส่งโรงพยาบาลได้ภายใน 10 นาที
- ตำแหน่งที่จัดหน่วยบริการต้องสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังจุดจอดรถพยาบาลได้สะดวก
- มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดบริการฉีกวัคซีนตามแนวทางและหลักการป้องกันการติดเชื้อ
- มีการจัดจุดพักรอสังเกตอาการ 30 นาที
- จัดที่นั่งรองรับประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 100 ราย
- อากาศถ่ายเทดี ไม่ร้อนเกินไป
- มีห้องน้ำสำหรับให้บริการประชาชน
- มีจุดล้างมือสำหรับบุคลากร
- มีการให้บริการ Internet หรือ wifi เพื่อรองรับการทำงานของเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้หน่วยให้บริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล จัดเก้าอี้นั่งพักคอยสำหรับประชาชนให้เพียงพอกับประชาชนที่มารอรับบริการและเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถขยายเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการได้ตามสถานการณ์ ซึ่งในเบื้องต้นได้รับการประสานจากภาคเอกชนจะให้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร
28 เมย 64