ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว

มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว  Thumb HealthServ.net
มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว  ThumbMobile HealthServ.net

ได้มีการบันทึกไว้ว่า ในประเทศอินเดีย มีการใช้น้ำมันมะพร้าว มาเป็นเวลากว่า 4,000 ปี สำหรับประเทศไทย ก็มีการปลูกมะพร้าวมาประกอบอาหารหวานคาว ใช้เป็นสมุนไพร และเครื่องสำอาง ประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียและแปซิฟิก ต่างก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวมาเป็นเวลาช้านานเช่นกัน จนได้ขนานนามมะพร้าวว่าเป็นต้นไม้แห่งชีวิต (Tree of Life)

ความสำคัญของน้ำมันมะพร้าว
      มนุษย์ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นอาหาร เป็นยา และเป็นเครื่องสำอาง มา นับเป็นพันๆ ปี ชาวเอเชียและแปซิฟิกที่ใช้น้ำมันมะพร้าวประกอบอาหาร ต่างก็มีสุขภาพดีถ้วนทั่ว ไม่ค่อยมีใครเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคต่อลูกหมากโต โรคไขข้อ โรคปวดเมื่อย โรคชราภาพก่อนวัย โรคผิวหนัง ฯลฯ แม้กระทั่งชาวอเมริกันและชาวยุโรป ครั้งหนึ่งก็นิยมบริโภคน้ำมันมะพร้าว แต่เพิ่งเปลี่ยนไปใช้น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันพืชอื่นๆเมื่อเร็วๆ นี้เอง
     


      การนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้รักษาโรค ทั้งโดยแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ในตำราแพทย์แผนไทย
มีการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ทางยา ตามตำราแพทย์แผนไทย ดังต่อไปนี้ :
   - รักษาแผลเรื้อรัง : เอากะลามะพร้าวมาถูด้วยตะไบจนได้ผลละเอียด แล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าว แทรกพิมเสนเล็กน้อย ทาแผลเรื้อรัง เช้า กลางวัน เย็น ทาบ่อยๆ 
   - รักษาเกลื้อน : เอากะลามะพร้าวแก่จัด ที่มีรู ที่ขูดแล้ว มาใส่ถ่านไฟแดงๆ จะทำให้เกิดน้ำมันมะพร้าวไหลออกมา เอาน้ำมันนี้มาทาโรคเกลื้อน ทาแล้วทิ้งไว้ 7 วัน ล้างออกยาก จะติดแน่นอยู่ เกลื้อนจะค่อยๆ หายไปเอง 
   - แก้ปวดฟัน : เอากะลามะพร้าวแก่จัด ที่มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป รองน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมา เก็บใส่ขวดปิดแน่นไว้ ใช้สำลีพันปลายไม้ชุปน้ำมันมะพร้าวอุดรูฟันที่ปวด อย่าให้สัมผัสเหงือก หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ จะเกิดความชาได้
   - รักษาเล็บแตก : เอาน้ำมันมะพร้าวที่ด้จากการเผากะลามะพร้าวเหมือนข้าวต้น ใส่แผลที่เกิดกับเล็บ เล็บแตก เล็บหลุด แผลที่ซอกเล็ก
   - รักษาคางทูม : เอาน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณคางทูมบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง ทาบางๆ 2-3 วัน อาการคางทูมจะดีขึ้น
   - รักษาแผลเป็น : ใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลามะพร้าว เผาไฟถ่าน ทาที่แผล ๆ จะหายไปในไม่กี่วัน เมื่อแผลหาย จะไม่เป็นแผลเป็น
   - แก้ชันนะตุพุพอง : น้ำมันมะพร้าวผสมเหง้าขมิ้นชัน สารส้ม เล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ หรือใช้เพียงน้ำมันมะพร้าวเพียงอย่างเดียว ก็ได้ผลดี
   - แก้รังแค : ใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเคี่ยวน้ำกะทิแก่จัด เคี่ยว ได้น้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ ปล่อยให้เย็นลง ทาศีรษะ 30 นาที แล้วสระออกด้วยแชมพู ใช้เพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว
   - รักษาน้ำกัดเท้า : เอาน้ำมันมะพร้าว ผสมสารส้ม น้ำปูนใน และเกลือ อย่างละเล็กน้อย กวนหรือคนผสมให้เข้ากันดี เอามาทาแผลทันที ทาบ่อยๆ 
   - รักษาฝ่ามือแห้งแตก และเล็บขบ : ใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวใหม่ๆ หรือใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเผากะลามีรูจากไผ ก็ได้  ทาเช้า กลางวัน เญ็น หรือหยอดเล็บขบ จะหายเร็ว และไม่ปวด



2. ในทรรศนะของนักวิจัยเกี่ยวกับไขมันชาวตะวันตก
นักวิจัยเกี่ยวกับไขมันชาวตะวันตก รู้จักคุณค่าของน้ำมันมะพร้าวมาช้านานแล้ว โดยได้นำน้ำมันมะพร้าวมาใช้
   - ในโรงพยาบาลสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาระบบย่อยอาหาร หรือการดูดซึมอาหาร
   - กับเด็กทารก และเด็กเล็ก ที่ไม่สามารถย่อยไขมันอื่นได
   - ในสูตรอาหารเลี้ยงทารก เพื่อช่วยสนับสนุน และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน
   - เป็นน้ำมันที่ช่วยลดน้ำหนักได้ จนได้รับการขนานนามว่า เป็นน้ำมันชนิดเดียวในโลก ที่มีแคลอรีต่ำ

 

 น้ำมันมะพร้าวช่วยเสริมความงาม

1. รูปร่างสมส่วน และแข็งแรง
เนื่องจากเมื่อบริโภคเข้าไป น้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นพลังงานทันที จึงไม่สะสมเป็นไขมันซึ่งทำให้อ้วน นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานดีขึ้น ช่วยเร่งอัตราเมตาบอลิสซึม เกิดความร้อน (thermogenesis) จึงนำเอาไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ ไปใช้เป็นพลังงาน จึงลดความอ้วนได้

2. ผิวพรรณงดงาม
เนื่องจากเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก น้ำมันมะพร้าวจึงถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้ดีและรวดเร็ว การทาตัวด้วยน้ำมันมะพร้าว ช่วยให้ผิวพรรณเยาว์วัย อ่อนนุ่ม เนียน และงดงาม ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าว ช่วยให้ผิวพรรณเยาว์วัย อ่อนนุ่ม เนียน และงดงาม ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ :
   2.1 มีกรดลอริกสูง : ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคทางผิวหนัง
   2.2 มีแอนตีออกซิแดนต์ที่มีอนุภาพสูง : วิตามินอี สารฟีนอล และไฟโตสเตอรอลในน้ำมันมะพร้าว เป็นแอนตีออกซิแดนต์ที่มีอนุภาพสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง และช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวหนัง และช่วยขจัดเซลล์ผิวหนัง และช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและกระตุ้นให้สร้างเซลล์ใหม่อีกทั้งยัง ปกป้องการทำลายของแสงอัลทราไวโอเล็ต ซึ่งมาจากแสงแดด ที่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น แก่ก่อนวัย อีกทั้งยังไม่เกิดไฝ ฝ้า และช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่น อ่อนนุ่ม ดูอ่อนกว่าวัย ไม่แตกสะเก็ด
   2.3 ผิวดูอ่อนวัย ผิวนุ่มและเนียน : น้ำมันมะพร้าวเป็น moisturizer ช่วยทำให้ผิวดูอ่อนวัย อีกทั้งยังนุ่นเนียน
   2.4 ปราศจากฝ้าและกระ : อนุมูลอิสระเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝ้า และกระซึ่งสารแอนตีออกซิแดนต์ในน้ำมันมะพร้าว ช่วยป้องกันได้

3. เส้นผมงดงาม
น้ำมันมะพร้าว มีบทบาทในการทำให้เส้นผมงดงาม ดังต่อไป : 
   3.1 ช่วยปรับสภาพของผม : น้ำมันมะพร้าว เป็น hair conditioner ที่ช่วยให้ผมนุ่ม เป็นเงางาม
   3.2 ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ : น้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะต่อต้านเชื้อโรค ทำให้ไม่มีรังแค และมีสารแอนตีออกซิแดนต์ ที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้หนังศีรษะ ไม่เหี่ยวย่น 
   3.3 ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี : น้ำมันมะพร้าวซึมเข้าไปในเส้นผมได้ดี ช่วยยืดอายุโปรตีนของเส้นผม

4. ประจักษ์พยาน 
   ชนชาติที่ได้รับการยกย่องว่า มีรูปร่างสมส่วน มีผิว และผมสวยที่สุดในโลก คือชาวเกาะทะเลใต้ เพราะชาวเกาะเหล่านี้บริโภคมะพร้าว และใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมตัวและผม ทำให้ผิวไม่แตกแห้งเป็นกระ แต่ชุ่มชื้นและเนียน ส่วนผมก็สลวย ดกดำเป็นเงางาม ทั้งๆ ที่ชาวเกาะเหล่านี้ ทั้งชายและหญิง ดำน้ำทะเล จับสัตว์น้ำ และเก็บประการัง ถูกแดดแผดเผาร่างกายตลอดทั้งวัน
   น้ำมันมะพร้าวมี : (1) สารฆ่าเชื้อโรค ช่วยทำให้ผิวและผมปลอดจากเชื้อโรค เช่นโรคผิวหนัง สิวฝ้า รังแค   (2) สารแอนตีออกซิแดนต์ ช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระที่เร่งให้เกิดความเหี่ยวย่นของผิวหนัง อีกทั้งยังช่วยให้ผิวหนังอ่อนเยาว์ โดยการกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และทับถมกันจนทำให้ผิวแห้งขณะเดียวกัน ก็ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ 
 

หาอ่านเพิ่มได้จาก : เอกสารวิชาการฉบับที่ 4/2552 "มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว ฉบับปรับปรุง"
โดย : ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ; ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย



ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด