เปิดแผนปฏิบัติ ขับเคลื่อนนโยบายกัญชา 6 ต้น โดย รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มนัญญา ไทยเศรษฐ์ ร่วมกับ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้รายละเอียด ดังนี้
โครงการปลูกกัญชา บ้านละ 6 ต้นนี้ จะเป็นการประสานความร่วมมือของหน่วยงานสำคัญ ตั้งแต่ กระทรางเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สาธารณสุขจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยทั้งหมด จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบ และดำเนินการ ผลักดัน ในส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ การยื่นเรื่องขออนุญาต การตรวจสอบพื้นที่ การพิจารณาจัดสรรต้นกล้า ต้นพันธุ์ การเตรียมการและขั้นตอนการปลูก ฯลฯ เหล่านี้ โดยมุ่งหวังให้เกษตรกร ประสบผลสำเร็จมากที่สุด ลดความสูญเสีย ได้ผลผลิตมีคุณภาพตามที่ต้องการ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากการหารือร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ร่างแนวปฏิบัติ เบื้องต้น ดังนี้
1. เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจ ยื่นเรื่องที่สาธารณสุขจังหวัด โดยแบบฟอร์มการยื่นขออนุญาตจะเป็นแบบเดียวกันกับการยื่นขอที่อย. (ในกรุงเทพ) โดยในแบบฟอร์มต้องระบุ เช่น นำเมล็ดพันธุ์จากที่ใด ผลผลิตจะจำหน่ายให้ใคร ฯลฯ
2. จากนั้นสาธารณสุขจังหวัดจะส่งเรื่องต่อไปที่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อส่งอนุกรรมการทำการตรวจสอบและลงพื้นที่ เก็บข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเกี่ยวกับการปลูก (ต้นพันธุ์ วัสดุปลูก วิธีการ) หลังจากนั้นจะส่งเรื่องกลับมายังสาธารณสุขจังหวัด และส่งมอบให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เป็นผู้อนุมัติ
3. เมล็ดพันธุ์ การเตรียมการปลูก
ในส่วนนี้ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ การเตรียมต้นพันธุ์ วัสดุปลูก ดิน และวิธีการปลูก โดยแบ่งเป็น
- กรณี กัญชง สามารถนำเข้าได้ โดยขออนุญาตจาก อย. มี 2 แหล่ง นำเข้า และ พื้นไทย
- กรณี กัญชา ใช้แหล่งพันธุ์ของไทย โดยหลักๆ จะมาจาก รพ. อภัยภูเบศร โดยเมล็ดพันธุ์ที่ได้มา กรมวิชาการเกษตรจะทำการปักชำ เพื่อขยายพันธุ์เป็นต้นกล้า (แทนการให้เมล็ดพันธุ์) รวมถึงเตรียมวัสดุปลูก ดิน และการสนับสนุนการปลูก วิธีการปลูก ที่อาจแตกต่างกันไป ขั้นกับสภาพพื้นที่
ส่วนความคืบหน้าในการพัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสมกับเกษตรกรและปลูกในประเทศไทย โดยต้องให้ได้ CBD สูง THC สูง ด้วยนั้น กรมวิชาการเกษตรระบุว่า ในเดือนตุลาคม 64 นี้ จะได้สายพันธุ์หลักแน่นอน
จากร่างแนวปฏิบัตินี้ คาดว่าได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้
Cann Society TV
20 Feb 2021