ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คำแนะนำในการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก แก่คุณแม่ตั้งครรภ์

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ในขณะตั้งครรภ์
การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้
  • ช่วยให้การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดิน การยืน หรือการยกของ มีความคล่องตัวขึ้น
  • เพิ่มความแข็งแรงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้คลอดบุตรง่าย
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหน้าท้องแตกลาย และปริแยก
  • ป้องกันเส้นเลือดขอด และลดการเป็นตะคริวขณะตั้งครรภ์
  • เพิ่มความแข็งแรงของขาในการรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และเพิ่มความแข็งแรงของแขนเพื่อใช้ในการอุ้มและดูแลลูกหลังคลอด
  • ป้องกันอาการปวดหลังและป้องกันกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ขณะเจ็บท้องคลอด
  • เพื่อช่วยเตรียมร่างกายขณะคลอด และให้รู้วิธีการผ่อนคลายขณะเจ็บท้องคลอด
  • ทำให้ร่างกายแข็งแรงภายหลังคลอด
คำแนะนำในการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์
  • ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • ควรอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย และผ่อนร่างกายภายหลังออกกำลังกาย ครั้งละ 5 นาที
  • ควรดื่มน้ำระหว่างออกกำลังกาย
  • ควรออกกำลังกายครั้งละน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ
  • ควรเริ่มออกกำลังกายเมื่อตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน แต่สำหรับผู้ที่แท้งง่ายติดต่อกัน ควรเริ่มทำเมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน
  • ไม่ควรออกกำลังกายในอากาศที่ร้อนและชื้น หรือกำลังเป็นไข้ และไม่ควรออกกำลังกายจนอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้การเคลื่อนไหวแบบกระตุก หรือเคลื่อนไหวเร็วมาก และไม่ควรเหยียดแขน-ขามากจนเกินไป เพราะจะทำให้เอ็นของข้อต่อเกิดการบาดเจ็บได้
  • ไม่ควรออกกำลังกายหนักและเหนื่อยมากจนเกินไป โดยสามารถพูดคุยกับผู้อื่นได้ในขณะออกกำลังกายก็เพียงพอ
  • ภายหลังตั้งครรภ์ 4 เดือนไปแล้ว ไม่ควรออกกำลังกายในท่านอนหงายนานเกิน 5 นาที
  • ไม่ควรออกกำลังกายในท่าเบ่งหรือกลั้นหายใจ เพราะจะทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง จนเกิดการเป็นลมได้

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด