ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)
 
โรคตับอักเสบบีคืออะไร
เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสชนิดบี (Hepatitis B virus) สามารถติดต่อทางเลือด และการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ โดยสามารถรับเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้
  • ทารกของมารดาที่ติดเชื้อขณะคลอด
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู
  • การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
  • การถูกเข็มที่ใช้แล้วตำจากการทำงาน
  • การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
นอกจากนี้ไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
 
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี
แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
 
ระยะเฉียบพลัน
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสียและอาเจียน อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
 
ระยะเรื้อรัง
แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
  • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้ การติดเชื้อแบบเรื้อรัง พบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดและยังเป็นอันตรายที่อาจนำไปสู่ ตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด
 
ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี

เด็กและวัยรุ่น
เด็กไทยทุกคน ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี 3 เข็มด้วยกัน
  • เข็มที่ 1    เมื่อแรกเกิด
  • เข็มที่ 2    เมื่ออายุ 1-2 เดือน
  • เข็มที่ 3    เมื่ออายุ 6-18 เดือน
ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG (Hepatitis B Immune Globulin) 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
 
ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด (หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้

ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี  อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่ 
   
 
ผู้ใหญ่
บุคคลที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ดังเช่น
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน
  • ผู้ที่ฉีดสารเสพติด
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป
  • ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ
  • บุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ติดเชื้อเอดส์
 
สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงก็สามารถฉีดวัคซีนได้
 
ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
  • ผู้ที่เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นอันตรายแก่ชีวิตต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือส่วนประกอบของวัคซีน
  • ผู้ที่มีอาการป่วย ควรรอจนกว่าหายเป็นปกติก่อนจึงจะฉีดได้
 
ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ดังนี้
  • ถึงแม้อัตราเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรงที่เกิดจากวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ให้เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
  • มีอาการผิดปกติดังนี้ อาการของการแพ้รุนแรง กล่าวคือ หายไจลำบาก หรือหายใจมีเสียงวีด เสียงแหบ ไข้สูง ผื่น หน้าบวม ปากบวม ตัวซีด หรือ หัวใจเต้นเร็วเป็นต้น
ด้วยความปรารถนาดี  ศูนย์วัคซีนโรงพยาบาลวิภาวดี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด