ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หัวใจวาย (Heart Failure)

หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ หัวใจวายไม่ใช่หัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า Heart Failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ขาดออกซิเจน หากหัวใจห้องซ้ายวาย ก็จะมีการคั่งของน้ำที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary Ederma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า โดยที่อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น เกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อย ๆ เกิดขึ้น โรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ

สาเหตุของหัวใจวาย
เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยกันหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบ
 
 
สาเหตุแน่ชัด
 
สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่
• หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Heart Disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไป หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
• โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดหัวใจวาย
• ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวและต้องทำงานมากขึ้น เกิดหัวใจล้มเหลว
• โรคลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease) ทำให้ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
• หัวใจพิการแต่กำเนิด
• โรคปอด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง ก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย
• หัวใจเต้นผิดปกติ อาจเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าเกินไป(Bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอ
• สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น
• ไทรอยด์เป็นพิษ
 
อาการของโรคหัวใจวาย
 
ผู้ป่วยอาจมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ มีจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวาย ควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้าง และควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้นหากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆที่พบได้คือ 
  •  เหนื่อยง่าย หากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะเหนื่อยเฉพาะเวลาทำงานหนัก ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นความรุนแรงของอาการเหนื่อยจะมากขึ้น งานปกติที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย แม้แต่เวลาพักก็ยังรู้สึกเหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์
  •  นอนแล้วจะมีอาการเหนื่อย หลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ทำให้ต้องลุกขึ้นมานั่งอาการถึงจะดีขึ้น บางรายนอนราบไม่ได้เลยเรียกว่า Orthopnea
  •  อ่อนเพลียง่าย
  •  เท้าบวมหรือท้องมานเนื่องจากมีการคั่งของน้ำ
  •  น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว
  •  ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีสีแดงหรือชมพู ปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอาการของน้ำท่วมปอด
  •  มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง
  •  ความจำเสื่อมมีการสับสน
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว
 
การรักษา
โรคหัวใจวาย เป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการของหัวใจวาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยมีหลักการรักษา ดังนี้
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • การใช้ยารักษา
  • การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การขยาย Balloon หลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
  • การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ
 
 
 การป้องกันโรคหัวใจวาย
การป้องกันก่อนการเกิดโรค เรียก Primary Prevention เป็นวิธีการที่ดีที่สุด
 
  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารรสเค็มจัด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด
  2. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือตีบ
  3. ตรวจร่างกายประจำปา ก่อนการเกิดโรคหัวใจ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด