ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ระบบสุขภาพปฐมภูมิของไทย พ.ศ.2562

ระบบสุขภาพปฐมภูมิของไทย พ.ศ.2562 HealthServ.net
ระบบสุขภาพปฐมภูมิของไทย พ.ศ.2562 ThumbMobile HealthServ.net

พระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 ที่เกิดขึ้นตามประสงค์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชน มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยบริการสาธารณสุขดังกล่าวต้องครอบคลุม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งรัฐต้องพัฒนา การบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 47 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ และมาตรา 55 บัญญัติให้ รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชน มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยบริการสาธารณสุขดังกล่าวต้องครอบคลุม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งรัฐต้องพัฒนา การบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรา 258 ช. ด้านอื่น ๆ (5) บัญญัติให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศโดยให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้น สมควรมีกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดระบบสุขภาพ ปฐมภูมิซึ่งมีคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิทำหน้าที่เป็นองค์กรกำกับดูแลที่ดำเนินการด้วยการมีส่วนร่วม ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการ ระบบสุขภาพปฐมภูมิมีประสิทธิภาพทั่วประเทศ และให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่เป็นธรรม มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้



คำนิยามในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้


“บริการสุขภาพปฐมภูมิ” หมายความว่า บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มุ่งหมาย ดูแลสุขภาพของบุคคลในเขตพื้นที่รับผิดชอบในลักษณะองค์รวม ตั้งแต่แรก ต่อเนื่อง และผสมผสาน ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมทั้งเชื่อมโยงกับครอบครัว ชุมชน และบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ

 
“ระบบสุขภาพปฐมภูมิ” หมายความว่า กลไกและกระบวนการในการประสานความร่วมมือ เพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งการส่งต่อผู้รับบริการและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการทั้งระดับ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ


“หน่วยบริการ” หมายความว่า
(1) สถานพยาบาลที่ด าเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐ และสภากาชาดไทย
(2) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(3) หน่วยบริการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(4) หน่วยบริการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


“หน่วยบริการปฐมภูมิ” หมายความว่า หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัตินี้


“เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ” หมายความว่า หน่วยบริการปฐมภูมิหรือหน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัตินี้


“แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว” หมายความว่า แพทย์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตร เพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
 
 
“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบ าบัด ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้หมายความรวมถึงบุคคลตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542


“คณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกันกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ และให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านสุขภาพปฐมภูมิเพื่อเป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวและผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ “ส านักงาน” หมายความว่า ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข


“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 




 

กฎหมายเกี่ยวกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ


                 ในบทความ เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ (วรรณวนัช สว่างแจ้ง : เรียบเรียง)  ได้กล่าวถึงระบบสุขภาพปฐมภูมิ ไว้โดยละเอียด ว่า 

                 ในประเทศไทย บริการระดับปฐมภูมิ หมายถึง สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งกระทรวง สาธารณสุขกำหนดให้มีบทบาททั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และ การฟื้นฟูสภาพเช่นกัน รวมทั้งมีบทบาทสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐาน

                 แต่น้ำหนักของบทบาทจะ เน้นไปที่การคัดกรอง ปัญหาสุขภาพที่ไม่ซับซ้อน มิได้กล่าวถึงคุณลักษณะในลักษณะของการดูแลที่ผสมผสานอย่างเข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการ มิได้เน้นบริการที่ดูแลประชาชนต่อเนื่อง แต่มีแผนงานที่กำหนดให้หน่วยงานเหล่านี้มีบทบาทในการประสานกับหน่วยงาน 5 กระทรวงหลักเพื่อการพัฒนาชุมชน และ คุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวคิดของสาธารณสุขมูลฐาน

                 ลักษณะของแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณค่าหรือศักดิ์ศรีของ บริการระดับปฐมภูมิไม่เด่นชัด และด้อยกว่าบริการที่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์สูง ต่อมาจึงมีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ โดยเน้นแนวคิดใหม่ ที่ทำให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีคุณค่าและเอกลักษณ์ของตนเองที่ชัดเจน (สุพัตรา ศรีวณิชชากร,)


                 เพื่อกำหนดกลไกการจัดระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน โดยที่มาตรา 47 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้บุคคล ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ และมาตรา 55 บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชน ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชน มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

                 โดยบริการสาธารณสุขดังกล่าวต้องครอบคลุม การส่งเสริม สุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งรัฐต้องพัฒนา การบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                 ประกอบกับมาตรา 258  บัญญัติให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศโดยให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม


                 ดังนั้น สมควรมีกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดระบบสุขภาพ ปฐมภูมิซึ่งมีคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิทำหน้าที่เป็นองค์กรกำกับ ดูแลที่ดำเนินการด้วยการมีส่วนร่วม ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาค ประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการ ระบบสุขภาพปฐมภูมิมีประสิทธิภาพทั่วประเทศ และให้ ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นธรรม มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน 
 
 
 
                 โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น ต้นไป



ระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพปฐมภูมิ


                 ระบบบริการปฐมภูมิ ในเชิงแนวคิดและหลักการ (พ.ศ.2542) หมายถึง ระบบที่ให้บริการ สุขภาพในระดับที่เป็นด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข (First line health care services) ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องร่วมกับประชาชน

โดยประยุกต์ความรู้ทั้ง ทางด้านการ แพทย์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์ ในลักษณะผสมผสาน (Integrated) การส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา โรค และการฟื้นฟูสภาพได้อย่างต่อเนื่อง (Continuous) ด้วย แนวคิดแบบองค์รวม (Holistic) ให้แก่บุคคล ครอบครัว และ ชุมชน (Individual, family and community) โดยมีระบบส่งต่อและเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งประสานกับ องค์กรชุมชนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความรู้ของประชาชนในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนเอง และ สามารถดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้อย่างสมดุลย์

                 ความหมายในมิติของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary Care, CUP) หมายถึง หน่วยงานที่ สามารถเป็นหน่วยคู่สัญญารับงบประมาณเหมาจ่ายต่อหัวประชากรได้ โดยที่ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน คือจัดให้มีหน่วยบริการ ปฐมภูมิ (Primary Care Unit : PCU) ที่ทำหน้าที่ให้บริการสุขภาพทั่วไป ทั้งส่วนที่เป็นการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพพื้นฐาน ที่เป็นลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก การ ให้บริการที่บ้านและบริการในชุมชน ไม่รวมบริการที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ตั้งอยู่ในที่สามารถเดินทางไปใช้บริการ ได้สะดวกภายใน 30 นาที มีบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์และการจัดการตาม เกณฑ์มาตรฐาน โดยหน่วยบริการปฐมภูมิจะต้องมีประชากรที่ขึ้นทะเบียนที่ชัดเจน และรับผิดชอบดูแล ประชากรไม่เกิน 10,000 คนต่อหน่วย หน่วยบริการระดับนี้อาจจัดบริการโดยสถานพยาบาลหน่วยเดียว หรือจัดเป็นเครือข่ายของหน่วยบริการย่อยที่ร่วมกันให้บริการได้ (สุพัตรา ศรีวณิชชากร, )


                 ระบบสุขภาพปฐมภูมิเกิดจาก 3 ส่วนคือ

                 ส่วนแรกเกิดจากปัญหาอุปสรรคในบริบทระบบ สุขภาพปัจจุบันของไทย เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้นและมีโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ต้องการการดูแลที่ซับซ้อนมากขึ้น

                 ส่วนที่สองคือหน่วยบริการ เช่น โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีภาระงาน มากไม่สามารถดูแลแบบองค์รวมและต่อเนื่องได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาซับซ้อนของ โรงพยาบาลขนาดใหญ่จึงไม่สามารถทำได้อย่างเบ็ดเสร็จ ขณะเดียวกันประชาชนยังขาดความรอบรู้สุขภาพที่จำเป็น สังเกตได้จากเวลาไปโรงพยาบาลหมอตรวจใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที ตรวจเสร็จก็จ่ายยา เวลาที่หมอได้พูดคุยกับคนไข้เพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคนไข้จึงมีค่อนข้างน้อย ทำให้การ ดูแลไม่เหมาะสม

                 ส่วนที่สาม คือ ค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพของภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้น

                 ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการผลักดันภายในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้และเพื่อให้บริการ ประชาชนได้ดีขึ้น ด้วยการผลักดันให้มี “พระราชบัญญัติสุขภาพปฐมภูมิ” เพื่อกำหนดกลไกการจัด “ระบบสุขภาพปฐมภูมิ” รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนได้รับ “บริการ สุขภาพปฐมภูมิ” ที่มีประสิทธิภาพมีความเป็นธรรม มีคุณภาพและมีมาตรฐาน พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน เป็นกฎหมายที่ใช้ บริหารจัดการเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพมาตรฐานใกล้บ้าน ด้วยแนวทางการพัฒนาในรูปแบบคลินิกหมอครอบครัว (thairath.co.th)


การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ

บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคณะผู้ ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ บริการ สุขภาพ ปฐมภูมิที่บุคคลมีสิทธิได้รับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ประกาศ กำหนด บริการสุขภาพปฐมภูมิตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีการบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา 21 (มาตรา 15) บุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลหรือรับบริการสาธารณสุขตามสวัสดิการ หรือตาม สิทธิที่ได้รับตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ด้วย และให้การใช้สิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์การได้รับสวัสดิการหรือสิทธิของบุคคลนั้น ค่าใช้จ่ายใน การรักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในการรับบริการสุขภาพปฐมภูมิตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง อาจขยายให้ได้รับนอกเหนือหรือเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้สำหรับสวัสดิการ หรือสิทธิใน การรักษาพยาบาลหรือบริการสาธารณสุขก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี หรือตามที่คณะกรรมการตกลงกับคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทที่มีกฎหมาย จัดตั้ง หรือหน่วยงานของรัฐอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสวัสดิการหรือสิทธิดังกล่าว แล้วแต่กรณี และ ให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับค่าใช้จ่ายดังกล่าว (มาตรา 16) หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยให้ความเสมอภาคและอำนวยความสะดวกในการให้บริการ
ตลอดจนเคารพสิทธิส่วนบุคคล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเชื่อทางศาสนา
 
(2) ให้ข้อมูลการบริการสุขภาพปฐมภูมิและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับบริการแก่
ผู้รับบริการ อย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้รับบริการตัดสินใจในการเลือกรับบริการหรือเข้าสู่ระบบการส่งต่อ
 
(3) ให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ ญาติ หรือผู้ซึ่งใกล้ชิดกับผู้รับบริการเกี่ยวกับแพทย์ บุคลากร
ด้านสาธารณสุข หรือผู้รับผิดชอบในการดูแลต่อเนื่องทางด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต และด้าน
สังคม ที่จะรับดูแลผู้รับบริการก่อนจำหน่ายผู้รับบริการออกจากหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่าย
หน่วยบริการปฐมภูมิ
 
(4) รักษาความลับของผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม (1) และ (2) อย่างเคร่งครัด เว้น
แต่เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
(5) จัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพ
มาตรฐาน และบริการ รวมทั้งการขอรับค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
(6) ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตาม
มาตรา 24 การให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตาม (1) การให้ข้อมูลตาม (2) และ (3) การจัดทำระบบ
ข้อมูล การให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตาม (5) และการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมคุณภาพและ
มาตรฐานตาม (6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้รับบริการเพื่อให้ไปรับการรักษาพยาบาล ที่หน่วยบริการ
ปฐมภูมิอื่น เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยบริการอื่นให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ
คณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิซึ่งดูแลผู้รับบริการดำเนินการให้มีการส่งต่อผู้รับบริการดังกล่าว ให้
หน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ ตามวรรคหนึ่ง
ดำเนินการตามความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการส่งต่อผู้รับบริการ ให้สำนักงานร่วมกับ
หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิจัดให้มีระบบข้อมูลด้านสุขภาพของ
ผู้รับบริการและการเชื่อมโยงเพื่อใช้ข้อมูล ดังกล่าว โดยต้องปฏิบัติตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (4) การ
ส่งต่อผู้รับบริการตามวรรคหนึ่ง การดำเนินการตามวรรคสอง และการจัดระบบและ การเชื่อมโยงเพื่อ
ใช้ข้อมูลด้านสุขภาพตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการ
ประกาศกำหนด
 
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562 มีกลไกหลัก 6 ด้าน ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เกิดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพเท่าเทียม ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง คือ (thairath.co.th/lifestyle)
 
1. การลงทะเบียน จะเป็นการลงทะเบียนที่มีชื่อแพทย์คู่กับประชาชน ต่อไปประชาชนคน ไทยทั่วประเทศจะมีหมอประจำตัวหรือหมอประจำครอบครัวที่ดูแลให้คำปรึกษาตั้งแต่ก่อนป่วย ป่วย มาก จนถึงการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่ก่อนแรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นการจับคู่กัน ต่อไปประชาชนจะมีผู้รับผิดชอบสุขภาพ 

2. ข้อมูลสารสนเทศ ต่อไปประชาชนที่ไปหาหมอที่โรงพยาบาลกลับมาแล้วดูแลต่อเนื่องใน ชุมชนจะมีข้อมูลการวินิจฉัย การรักษา มีแนวทางการวางแผนอย่างไร จะมีข้อมูลจากโรงพยาบาลใหญ่ ส่งกลับมาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น รพ.สต. 

3. การผลิตและพัฒนาบุคลากรสหวิชาชีพ เช่น หมอเวชศาสตร์ครอบครัว ทีมผู้ให้บริการ เช่น พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข นักกายภาพ จะมีการวางแผนและผลิตบุคลากรเหล่านี้ใน สัดส่วนที่เหมาะสม

4. มีกลไกด้านการเงินที่สนับสนุนการบริการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

5. มีกลไกส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการสุขภาพของตนเองมากขึ้นทั้งใน ระดับพื้นที่ในระดับอำเภอ เป็นกลไกที่ทำให้ประชาชนได้รับการดูแลตรงกับความต้องการมากขึ้น

6. มีกลไกการดูแล กำกับ ติดตาม เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมและ เป็นธรรม

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการมีระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

โดยตามกลไกภายใน 10 ปีหลังการบังคับใช้กฎหมายนี้จะต้องจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ มีคุณภาพให้กับประชาชน ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีเพิ่มขึ้นและช่วยลดรายจ่ายของประเทศได้ใน ระยะยาว โดยจากการมีบริการปฐมภูมิ ตาม พรบ. ใน 10 ปี จะทำให้ประชาชนสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วย โรคที่ป้องกันได้ ลดนอนโรงพยาบาล ลดป่วย ลดพิการ ประหยัดเวลารอคอย จาก 3 ชั่วโมง เหลือ 44 นาที ประหยัดเงินค่าเดินทางไป รพ. เฉลี่ย 1,655 บาท/คน และลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 227,570 ล้านบาท ขณะนี้มีหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 1,180 แห่ง ครอบคลุม ประชากร 13 ล้านคน ซึ่งในปี 2563 จะมีเพิ่มขึ้นเป็น 26 ล้านคน (ร้อยละ 40 ของประชากร) และ มีหน่วยบริการเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 แห่ง (hfocus)
 

ทั้งนี้ หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ 1 หน่วย ให้การดูแลประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบ 8,000 - 12,000 คน โดยมีทีมหมอครอบครัวประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัว 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน และนักวิชาการสาธารณสุข 2 คน และทีมสหสาขาวิชาชีพ อื่นๆ ได้แก่ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ แพทย์แผนไทย เจ้าพนักงาน สาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.)

 
กล่าวได้ว่า “พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562” นับเป็นหนึ่งตัวอย่างของ ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทย ที่สามารถตอบสนองการ ปฏิรูประเทศโดยตรง ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำใน การเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ อันเป็นการสร้างความเป็นธรรมและความมั่นคงด้านสุขภาพให้ เกิดขึ้นในสังคมและประเทศ การมี “พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ” จึงนับเป็นก้าวแรกในการ ปฏิรูปเพื่อการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขของประเทศให้เดินหน้ามุ่งสู่ความยั่งยืน
 
 
อย่างไรก็ตามสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้วิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายว่าด้วยระบบสุขภาพปฐมภูมิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๗ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพิจารณาและวิเคราะห์จากสาระสำคัญของบทบัญญัติในแต่ละ มาตราของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวประเด็นและความคิดเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของ ผู้เกี่ยวข้องในชั้นของการยกร่างพระราชบัญญัตินี้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานพยาบาล ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข และประชาชน ตลอดจนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 
นอกจากนั้น ได้พิจารณาและวิเคราะห์ความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ข้อได้แก่ 1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย 2. ผลกระทบ เชิงบวก และ 3. ผลกระทบเชิงลบ ดังนี้ (lawamendment.go.th/)


 
1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย
เมื่อกฎหมายว่าด้วยระบบสุขภาพปฐมภูมิ ประกาศใช้เป็นกฎหมายย่อมส่งผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการในเขตพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิ
(2) หน่วยงานของ รัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยกรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(3) สถานพยาบาลทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
(4) สถาบันการศึกษา
(5) แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข


2. ผลกระทบเชิงบวก
การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบตามกฎหมายว่าด้วยระบบสุขภาพปฐมภูมิ มีผลกระทบเชิงบวก ดังนี้
 
(1) ด้านการปฏิรูปประเทศ
การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นการ ปฏิรูปประเทศตามมาตรา 258 ช. (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย โดยการมีแพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 55 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและ การป้องกันโรค โดยบริการสาธารณสุขดังกล่าวต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ และรัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มี คุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิดังกล่าวยังสอดคล้องเชื่อมโยงกับร่างยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และร่างแผน ปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ซึ่งจะส่งผลให้แนวทางการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เป็นรูปธรรม ชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
(2) ด้านสังคม
โดยเมื่อพิจารณาผลกระทบด้านสังคมแล้ว การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบ ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ย่อมมีผลเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นธรรม มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริกา รสุขภาพปฐมภูมิดูแล และมีการบันทึกข้อมูล ด้านสุขภาพที่ครบถ้วน รวมทั้งครอบคลุมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกัน และควบคุม ปัจจัยเสี่ยงที่คุกคำมสุขภำพ และมีกำ รส่งเส ริมให้ชุมชนเป็นฐำนในกำ รส ร้ำงสุขภำพ ทุกพื้นที่ ตลอดจนให้หน่วยงานในระดับภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการ จัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ รวมถึงกำหนดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามร่าง พระราชบัญญัตินี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ อันเป็นการสร้างความ เป็นธรรมและความมั่นคงด้านสุขภาพให้เกิดขึ้นในสังคมและประเทศ
 
(3) ด้านเศรษฐกิจ
สำหรับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นั้น โดยที่การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบ ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการภายใต้นโยบายและแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบสุขภาพ ปฐมภูมิที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติ โดยครอบคลุมการพัฒนา บริการสุขภาพปฐมภูมิซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพของประเทศ การพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบสุขภาพปฐมภูมิและการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวซึ่งจะทำให้ประเทศมี ฐานความรู้ ที่สมบูรณ์ในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบ รวมตลอดทั้งการสนับสนุนให้มีการ ผลิตและพัฒนาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีศักยภาพเพียงพอ กับการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยยกระดับขึ้นเป็น ศูนย์กลางและเป็นฐานการบริการด้านสุขภาพในภูมิภาค
 
(4) ด้านงบประมาณแผ่นดิน
เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดีและมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการ ป้องกันโรค ประกอบกับการที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีสาระสำคัญในการจัดระบบการเงินการคลังด้าน สุขภาพที่มีการบูรณาการให้เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้รัฐบาลสามารถลดและ ประหยัดงบประมาณรายจ่ายด้านสุขภาพลงได้ และสามารถนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้เพื่อดำเนินการ ด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป
 
(5) ด้านกฎหมาย
เมื่อกฎหมายว่าด้วยระบบสุขภาพปฐมภูมิ ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ย่อมทำให้ ประเทศไทยมีกลไก หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบ ชัดเจน และมีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีบทกฎหมายสำหรับควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการ ปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อันเป็นการส่งผลดีแก่ประชาชนผู้รับบริการที่มีกฎเกณฑ์ คุ้มครองการรับบริการสุขภาพปฐมภูมิและทำให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน และเป็นผลดี แก่หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิในการมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับการ ดำเนินการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ

3. ผลกระทบเชิงลบ
ในระยะสั้น การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นระบบตามกฎหมายว่าด้วยระบบ สุขภาพปฐมภูมิ อาจมีผลกระทบด้านงบประมาณ ในการที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนหน่วย บริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ และการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับเชื่อมโยง ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพ ตามที่กำหนดใน ร่างพระราชบัญญัตินี้ 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด