ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่พบผู้ป่วยในไทย

โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่พบผู้ป่วยในไทย HealthServ.net
โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่พบผู้ป่วยในไทย ThumbMobile HealthServ.net

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก อย่างใกล้ชิด ซึ่ง WHO กำหนดให้เป็นโรคติดต่ออันตราย พร้อมชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่าง “โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก” (Crimean-Congo haemorrhagic fever - CCHF) และ “โรคไข้เลือดออก” ซึ่งโรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยในประเทศไทย

 
         อธิบดีกรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับ โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ว่า มีรายงานพบผู้ติดเชื้อโรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก พื้นที่ระบาดอยู่ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียกลาง และเอเชียใต้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นโรคติดต่ออันตราย

          สำหรับในประเทศไทย   ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วย โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโกในประเทศ

         และ โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก มีความแตกต่างจากโรคไข้เลือดออกที่พบผู้ป่วยในประเทศไทย


 
โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่พบผู้ป่วยในไทย HealthServ
 
 

โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก

         โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก WHO พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2487 ที่บริเวณแหลมไครเมียน ต่อมาเกิดการระบาดในประเทศคองโก สาเหตุเกิดจากเชื้อไนโรไวรัส (Nairovirus) เชื้อดังกล่าวพบในตัวเห็บที่อาศัยอยู่บนตัวสัตว์เท้ากลีบ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เป็นต้น พบระบาดในประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิกตะวันตก ติดต่อโดย

1. ถูกเห็บที่มีเชื้อไนโรไวรัสกัด

2. สัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีเชื้อ

3. สัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วยไครเมียนคองโก


อาการ

เมื่อป่วยจะเริ่มด้วยอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระร่วง มีภาวะเลือดคั่ง ตาอักเสบบวมแดง อาจมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เกิดขึ้นบริเวณหน้าอกและท้องแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย อาจมีเลือดออกที่บริเวณเหงือก จมูก ปอด มดลูก ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอาหาร อัตราการป่วยตายจะอยู่ที่ ร้อยละ 30-40 หากพบผู้ติดเชื้อให้แยกผู้ป่วยให้อยู่ในห้องเดี่ยว และควรเป็นห้องความดันลบ ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่พบรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย หากกลับจากต่างประเทศและสงสัยโรคนี้ ให้พบแพทย์และให้ประวัติการเดินทางและปัจจัยเสี่ยง
 
 

โรคไข้เลือดออก

 
          โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ติดต่อโดยมียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน และสูงลอยประมาณ 2-7 วัน ร่วมกับปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง อาจมีจุดแดงเล็กๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และเบื่ออาหาร บางรายมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ส่วนใหญ่ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก ต่อมาไข้จะลดลง ในระยะนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดภาวะช็อก และเสียชีวิตได้

 

โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ยังไม่พบผู้ป่วยในไทย HealthServ

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก


          สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 19 ก.ค. 2566 พบรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 41,527 ราย สูงกว่าปีที่ผ่านมา ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 2.8 เท่า และมีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 41 ราย โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 5,057 ราย

           ทั้งนี้หากประชาชนสงสัยหรือมีอาการเข้าได้กับโรคไข้เลือดออก ห้ามกินยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโครฟีแนก แอสไพริน และยาชุด ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ และให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย ประเมินอาการ และการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว พร้อมทั้งป้องกันตนเองและบุคคลในครอบครัวไม่ให้ถูกยุงกัด โดยยึดหลักมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่
1. เก็บบ้าน ให้สะอาดเป็นระเบียบ ปลอดโปร่ง ไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุง
2. เก็บน้ำ โดยปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้สนิท และหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ และ
3. เก็บขยะ หรือเศษวัสดุที่มีน้ำขังทั้งภายในและบริเวณรอบบ้านเพื่อเป็นการกำจัดแหล่งวางไข่ยุงลาย

ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายได้ 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด