ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต จากสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต  จากสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง HealthServ.net
รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต  จากสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ThumbMobile HealthServ.net

รถไฟฟ้ารางเบาชนิด Tram แบบพื้นต่ำ ระยะทางรวมประมาณ 42 กิโลเมตร สถานีทั้งหมด 21 สถานี อาคารซ่อมบำรุง ตึกจอดแล้วจร

รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต  จากสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง HealthServ
 ความเป็นมาของโครงการ
         คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 และวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนงาน/โครงการ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งสนับสนุนและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทย (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และฝั่งอันดามัน (จังหวัดภูเก็ต)
 
         สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี–พังงา–ภูเก็ต โดยมีการศึกษาออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA กับระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต–ห้าแยกฉลอง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ตให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตอันเป็นผลกระทบจากการขยายตัวดังกล่าว
 
         ต่อมาในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559 ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการต่อหลังจากที่ สนข. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ พร้อมทั้งส่งมอบรายงานและแบบให้ รฟม. เพื่อดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) รวมทั้งดำเนินการทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป
รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต  จากสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง HealthServ
 
 
ลักษณะโครงการ
 
         แนวเส้นทาง
 
         แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงผ่านอำเภอถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร(อนุสาวรีย์วีรสตรี) สถานีขนส่ง เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ผ่านถนนภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ (สะพานข้ามคลองเกาะผี) เพื่อเข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก (ทางหลวงหมายเลข 4021) และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางรวมประมาณ 42 กิโลเมตร
 
         โครงสร้างทางวิ่ง
 
         ทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) บางช่วงเป็นทางวิ่งลอดใต้ดิน (Underground) และทางวิ่งยกระดับ (Elevated) บริเวณสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
 
         ระบบรถไฟฟ้า
 
         เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาชนิด Tram แบบพื้นต่ำ (Low Floor Tram) มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ (Overhead Contact Line) และมีระบบแบตเตอรี่สำรองสามารถวิ่งได้ในระยะสั้น
 
         สถานี 
 
         ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี ประกอบด้วย สถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี
 
         ศูนย์ซ่อมบำรุง
 
         ตำแหน่งที่ตั้งของโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการฯ จะอยู่บริเวณริมทางหลวงหมายเลข 402 ฝั่งขาเข้าเมืองภูเก็ตบริเวณ กม. 31+400 – 31+600 ใกล้กับห้างโลตัสถลาง โดยตั้งอยู่ระหว่างสถานีโรงเรียนเมืองถลางและสถานีถลางมีขนาดพื้นที่ประมาณ 38 ไร่ ซึ่งจะให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงขบวนรถเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การสนับสนุนการทำงานประจำวัน การบำรุงรักษาประจำเพื่อตรวจสอบป้องกันและแก้ไขสิ่งผิดปกติ (Preventive and Corrective Maintenance) การยกเครื่อง (Overhaul) และ การซ่อมใหญ่ในช่วงกลางของอายุการใช้งาน (Mid-life Refurbishment) ศูนย์ซ่อมบำรุงจะเป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมกลาง (Operation Control Centre, OCC) มีระบบการจัดการโครงข่ายของระบบ (รวมถึงเรื่องความปลอดภัย ระบบการให้ข้อมูลผู้โดยสาร เป็นต้น)
 
         จุดจอดแล้วจร
 
         อาคารจอดแล้วจรจะตั้งอยู่ที่สถานีฉลองซึ่งเป็นสถานีปลายทาง โดยสามารถรองรับการจอดรถจักรยานยนต์และรถยนต์ได้ประมาณ 200 – 300 คัน
รถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต  จากสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด