ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เรื่องที่ผู้หญิงควรรู้ มะเร็งรังไข่ หากคุณเป็นหนึ่งที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อาทิ มีกรรมพันธุ์, อายุมาก, โสดหรือไม่เคยมีบุตร

เรื่องที่ผู้หญิงควรรู้ “มะเร็งรังไข่” หากคุณเป็นหนึ่งที่เป็นกลุ่มเสี่ยง อาทิ มีกรรมพันธุ์, อายุมาก, โสดหรือไม่เคยมีบุตร

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับห้าของมะเร็งที่พบในสุภาพสตรีและอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสี่ เนื้องอกของรังไข่ เนื้องอกของรังไข่แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิด คือ
  • เนื้องอกที่ธรรมดา หรือที่เรียกว่า Benign Tumor เนื้องอกชนิดนี้ จะไม่แพร่กระจาย การรักษาทำได้ง่าย ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกก็หาย
  • เนื้อมะเร็ง Malignant เนื้องอกชนิดนี้อาจจะเรียกเนื้อร้ายหรือมะเร็ง หากวินิจฉัยได้ช้าเนื้อร้ายจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

ชนิดของมะเร็ง

มะเร็งรังไข่จะเกิดเซลที่เป็นส่วนประกอบของรังไข่
  • Epithelial Tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลผิวของรังไข่เนื้องอกส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเซลชนิดนี้
  • Germ Cell Tumor เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลที่ผลิตไข่
  • Stroma Tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดเซลเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งสร้างฮอร์โมนเพศ Estrogen และ Progesteron

สาเหตุของมะเร็งรังไข่

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ แต่พบว่ามีความถี่ของการเกิดมะเร็งในคนที่โสดมากกว่าคนที่เคยมีบุตร และมักพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป จะเกิดตอนวัยทองคนที่มีปัจจัยเสี่ยงมา มิได้หมายความ เขาจะเป็นมะเร็ง แต่เขามีโอกาสเกิดมะเร็งมากกว่าคนอื่น ปัจจัยเกี่ยวข้อง คือ
 
  1. พันธุกรรม ท่านที่มีญาติเป็นมะเร็ง ก็กังวลว่าท่านจะมีพันธุกรรมของ
    • มะเร็งหรือไม่ ให้ท่านไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อชักประวัติ
    • เกี่ยวกับโรคมะเร็งในครอบครัว หากพบว่าท่านมีความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำ
    • ท่านตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งระยะเริ่มแรก ความเสี่ยงทางพันธุกรรมได้แก่ ญาติสายตรงของท่าน (แม่หรือพี่สาว หรือน้องสาว) เป็นมะเร็งรังไข่ 2 คน
    • ญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ อีกคนเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งเกิดก่อน
    • อายุ 50 ปี
    • ญาติสายตรงเป็นมะเร็งรังไข่ และประวัติคนในครอบครัว 2 คน เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 60 ปี
    • คนในครอบครัว 3 คน เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (หนึ่งคนเป็นก่อนอายุ 50 ปี)  และมีคนในครอบครัวคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่
  2. อายุ อายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดมาก โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปี
  3. ผู้หญิงที่มีประจำเดือนอายุน้อยกว่า 12 ปี และไม่ได้ตั้งครรภ์ และเกิดหมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  4. การตั้งครรภ์ พบว่าผู้ที่ไม่เคยมีบุตรจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่เคยมีบุตร
  5. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่
  6. ยากระตุ้นให้ไข่ตก ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่ต้องกินต่อเนื่องนานเกิน 12 เดือน
  7. หลายการศึกษาพบว่า การใช้แป้งบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่แป้งสมัยก่อนอาจจะมีสารปนเปื้อน
 
หากท่านมีประวัติเหมือนตัวอย่างข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อคัดกรองโรค
 
หลายท่านที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดมะเร็งรังไข่อยากจะตัดรังไข่ทิ้ง ท่านต้องปรึกษาแพทย์พิจารณาถึงผลดีและผลเสียของการผ่าตัด
 

การค้นหามะเร็งแรกเริ่ม

   โรคมะเร็งทุกชนิด จะเหมือนกันยิ่งพบเร็วการรักษาก็จะได้ผลดี มะเร็งรังไข่ก็เช่นกัน แต่มะเร็งรังไข่มักจะวินิจฉัยได้ช้าเนื่องจากอยู่ภายในช่องท้อง และมักจะไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยร้อนละ 25 จะวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ได้ก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย การค้นพบแรกเริ่มจะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด วิธีการค้นหามะเร็งแรกเริ่มได้แก่
  • การตรวจภายในประจำปี การตรวจภายในจะค้นหามะเร็งปากมดลูก แต่ไม่สามารถตรวจมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกได้ มักจะพบมะเร็งรังไข่ในระยะท้ายของโรค แต่การตรวจภายในก็เป็นสิ่งจำเป็นต้องตรวจเป็นประจำ มีคำแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุมากว่า 18 ปี
  • พบแพทย์เมื่อมีอาการ อาการที่ควรจะพบแพทย์โดยเร็วได้แก่ ท้องบวมแน่นท้อง เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ แน่นท้องน้อย ปวดหลัง ปวดขาปวดท้อง แน่นท้องโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
  • การเจาะเลือดหรือการตรวจพิเศษ การตรวจ Ultrasound ผ่านทางช่องคลอดจะช่วยพบก้อนในช่องเชิงกรานได้เร็วขึ้น การเจาะเลือดหา CA-125 ก็ยังไม่สามารถบอกมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ จึงไม่แนะนำการตรวจพิเศษทั้งสองแก่คนทั่วไป
  • เจาะเลือดตรวจหา  CA-125  ซึ่งหากเป็นมะเร็งค่านี้จะสูง แต่ก็พบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งค่านี้นี้สูงไม่มาก
  • การทำ Ultrasound ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะใช้เครื่อง Ultrasound สอดเข้าไปในช่องคลอดซึ่งจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับวัตถุ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับเครื่องจะแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณภาพระหว่างการตรวจไม่มีความเจ็บปวด

อาการของมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไขในระยะแรกเริ่มมักจะไม่มีอาการ แต่จะมีอาการในระยะท้ายของโรคอาการที่พบได้
  • แน่นท้อง อึดอัดท้อง (บางรายสงสัยว่ามีก๊าซในท้อง)
  • คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย
  • เบื่ออาหาร
  • รู้สึกแน่นท้องหลังจากรับประทานอาหาร
  • น้ำหนักขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ
  • เลือดออกช่องคลอด

การรักษา

โรคมะเร็งรังไข่มีหลายวิธีขึ้นกับระยะของโรค สภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบไปด้วยแพทย์หลายแผนก เช่น สูติ-นรีแพทย์ แพทย์ทางรังสีรักษา แพทย์ทางเคมีบำบัด

การรักษาโดยการผ่าตัดและเหตุผลของการผ่าตัด

การผ่าตัดผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่มีเหตุผล คือ
  1. ผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะผ่าเข้าไปดูเนื้องอกและตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
  2. ผ่าตัดเพื่อบอกระยะของโรคโดยแพทย์จะผ่าดูเนื้องอกลุกลามแค่ไหนและตัดต่อมน้ำเหลือง
  3. ผ่าเพื่อการรักษา
     แพทย์จะผ่าตัดเอา มดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ออก เรียกการผ่าตัดว่าHysterectomy  With  Bilateral  Salpingo-Oophorectomy  และตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ ระหว่างผ่าแพทย์จะส่งชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองและน้ำในช่องท้องไปตรวจเพื่อจะได้ทราบระยะของโรค หากพบว่ามะเร็งเริ่มแพร่กระจายในท้อง แพทย์จะผ่าเอาส่วนที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งออกให้มากที่สุด เพื่อที่จะให้การรักษาด้วยรังสีหรือเคมีได้ผลดีขึ้น
 
    ผลเสียของการรักษา โดยการผ่าตัดระยะแรก ก็อาจจะปวดแผลบ้างแต่ก็บรรเทาโดยยาแก้ปวด ในระยะต่อมาเมื่อรังไข่ถูกตัดก็ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone) ก็ทำให้ช่องคลอดแห้ง ร้อนตามตัวเกิดอาการของคนวัยทอง
 

เคมีบำบัด

คือการให้ยาเพื่อทำลายเซลมะเร็ง ซึ่งยานี้ก็มีผลต่อเซลปกติของร่างกายมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
  1. การให้เคมีหลังการผ่าตัดเราเรียกว่า Adjuvant Chemotherapyจะให้ยา 4-6 ครั้งใช้เวลา 3-6 เดือน แพทย์จะพิจารณาให้ในกรณีที่แพทย์คิดว่าผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไม่หมด หรือการผ่าตัดนั้นยาก
  2. ให้เคมีก่อนการผ่าตัด Neo-Adjuvant Chemotherapy แพทย์คิดว่าเนื้อร้ายก้อนใหญ่ผ่าตัดยากหรือผ่าออกไม่หมด แพทย์จะให้เคมีเพื่อก้อนเนื้อจะได้มีขนาดเล็กลง
 
ยาเคมีมีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชนิดฉีด แต่ก็มีการให้ยาเคมีเข้าช่องท้องซึ่งอยู่ในช่วงการทดลอง หลังจากเคมีบำบัดแพทย์อาจจะผ่าเข้าช่องท้อง เพื่อดูว่ามะเร็งถูกทำลายมากน้อยแค่ไหนหากมีมะเร็งหลงเหลือแพทย์จะผ่าตัดเอามะเร็งส่วนที่เหลือออก
 
ผลเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยา และปริมาณยา ผลข้างเคียงที่พบได้คือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วง

การฉายแสง

แพทย์จะใช้รังสีฉายไปยังส่วนที่เป็นมะเร็งเพื่อทำลายมะเร็ง ผลเสียคือ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะลำบาก การให้รังสีรักษามีสองวิธีคือ
  1. การให้รังสีจากเครื่องที่อยู่ภายนอกร่างกาย External Besm Radiation Therapy โดยจะให้รังสีสัปดาห์ละ5วัน
  2. Brachytherapy คือการฝังสารที่ให้รังสีใกล้กับมะเร็งเพื่อให้รังสีทำลายเซลมะเร็ง แต่ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้รังสีในการรักษามะเร็งรังไข่
ด้วยความปรารถนาดี จากศูนย์สูตินรีเวช รพ.วิภาวดี
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด