ภัยร้ายจากโคเลสเตอรรอล
- หลอดเลือดแดงปกติ
- เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน
- ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง
- โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
- โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque)
- สมอง เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
- หัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- ไต หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย
- ขา เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล
- เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก
- ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์
- ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้)
- หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา
- ชีส ครีม เนย
- เค้ก คุกกี้ โดนัท
- อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด
อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรรอล(มิลลิกรัม)
- ไก่, อก(ไม่ติดมัน 63
- เป็ด, เนื้อ 82
- วัว, เนื้อ 65
- ปลากะพงขาว 69
- ปลาทูน่า 51
- กุ้งกุลาดำ 175
- ปลาหมึกกล้วย, ตัว 251
- ไข่ไก่, ทั้งฟอง 508
- ซึ่โครงหมู 105
- เนื้อปู 145
*ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย
คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรรอลสูง
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ลดเครื่องดื่มแอลกอฮล์
- งดสูบบุหรี่
- หากมีความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พยายามควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นแอโรบิค วิ่ง (ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง)
- ตรวจระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาควบคุมระดับโคเลสเตอรรอลตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ