ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เตรียมความพร้อม ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

เตรียมความพร้อม ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม HealthServ.net
เตรียมความพร้อม ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ThumbMobile HealthServ.net

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการรักษาโดยวิธีผ่าตัดสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม การผ่าตัดข้อเข่าเทียม ควรเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี หากการผ่าตัดทำก่อนอายุ 40 ปี อาจจะจำเป็นต้องมีการผ่าตัดอีกครั้งเมื่ออายุมากขึ้น

เตรียมความพร้อม ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม HealthServ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการผ่าตัดสำคัญเพื่อการให้ "เข่า" กลับมาใช้งานได้ดีเช่นเดิม หรืออย่างน้อยเพื่อให้เข่ากลับมาทำงานและใช้งานได้ตามปกติร่างกาย  ตามข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะทำเมื่อมีอาการปวดแล้ว หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น เข่าโก่งหรือเก แต่กระนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีอื่นในการรักษาก่อน การผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้าย
 
มีคำแนะนำว่า การผ่าตัดข้อเข่าเทียม ควรเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี หากการผ่าตัดทำก่อนอายุ 40 ปี อาจจะจำเป็นต้องมีการผ่าตัดอีกครั้งเมื่ออายุมากขึ้น [รามา ชาแนล]
 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
แบ่งเป็นการเตรียมร่างกาย และการเตรียมสถานที่

1. การเตรียมร่างกาย 
หมายถึงการเตรียมกล้ามเนื้อขารอบเข่าให้แข็งแรง มีการตรวจคัดกรองเกี่ยวกับการติดเชื้อ หากพบ จะต้องรักษาให้หายเสียก่อน ต้องมีการประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด ป้องกันการติดเชื้อที่  มีการตรวจร่างกายโดยอายุรแพทย์ ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ๊กเรย์ปอด และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนวันผ่าตัด 
 
กรณีผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือมีโรคประจำตัวใด ต้องแจ้งแพทย์เพื่อประเมินความพร้อม และความจำเป็นว่าต้องหยุดยาก่อนหรือไม่
 
 
 
2. การเตรียมสถานที่
หลังจากผู้ป่วยผ่าตัด จะสะดวกลดลงในการทำกิจวัตร จึงมีคำแนะนำดังนี้
 
การจัดเตรียมบ้าน
  • เคลื่อนย้ายเฟอวันิเจอร์ไม่ให้ขวางทางเดิน
  • ย้ายที่นอนลงมาที่ชั้นล่าง
  • จัดวางสิ่งของเครื่องใข้ให้อยู่ในระดับเอวหรือสูงกว่าเพื่อสะดวกต่อการหยิบ
  • งดการใช้พรหมเข็ดเท้า และเก็บของตามพื้นที่อาจเป็นสาเหตุทำาให้ลื่นล้ม
  • ติดหลอดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอ
  • ติดต่อญาติพี่น้องหรือเพื่อนช่วยดูแล 24 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • มีโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัว เพื่อเรียกความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน
 
 
การจัดเตรียมห้องน้ำ
  • เตรียมเสื่อกันลื่นในบริเวณเปิยก
  • ใช้โถส้วมสูงแบบนั่ง แทนล้วมที่นั่งยองๆ
  • ติดราวจับที่โถส้วมหรือบริเวณที่อาบน้ำเพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นและป้องกันการลื่นล้ม
 
 
หลังการผ่าตัด
ส่วนใหญ่หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักได้ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ในช่วง 4 สัปดาห์แรก โดยเริ่มจากอุปกรณ์ช่วยเดินแบบสี่ขา แล้วจึงเปลี่ยนเป็นไม้คำยัน และไม้เท้า อย่างไรก็ตามการลงน้ำหนักและการเดินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมแพทย์ผู้ผ่าตัด
 
การทำกายภาพหลังผ่าตัดเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ผ่าตัดต้องทำด้วยตนเอง หรืออาจมีนักกายภาพ ช่วยได้ ทั้งนี้ เมื่อมีอาการปวด หรือไม่มั่นใจ ให้ปรึกษา แพทย์ พยาบาล หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อให้คำแนะนำ และตรวจภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
 
รามาชาแนล
คณะแพทย์ ม.เชียงใหม่
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด