☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
Update: 27.01.2564
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด
กัดผ้าให้แน่นพอสมควรไว้ 1 ชั่วโมง หลังจากการถอนฟันหรือผ่าตัด แล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่อีก 1 ชั่วโมง
ถ้าเลือดไหลไม่หยุดภายหลังการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด ห้ามอมน้ำแข็ง ควรใช้นำแข็งห่อประคบนอกปากบริเวณที่ถอนฟัน หรือบริเวณแผลผ่าตัด
ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใดๆ ในวันแรก ถ้าจำเป็นให้บ้วนเบาๆ มิฉะนั้นเลือดที่กำลังจะแข็งตัวอาจหลุดไป และทำให้ปวดได้
แปรงฟันทำความสะอาดตามปกติ เพียงแต่ระวังแผลที่ถอนฟันหรือผ่าตัด
ถ้าปวดให้รับประทานยาแก้ปวด 1-2 เม็ด ถ้าไม่หายให้รับประทานใหม่ในเวลาห่างกัน 4 ชั่วโมง
ห้ามเอานิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน แคะ เขี่ยบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
ทำงานประจำวันได้ แต่อย่าออกกำลังกายเกินควร
ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมาเป็นเวลา 3 วันหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจดูใหม่
ในกรณีที่เป็นแผลผ่าตัดหรือแผลผ่าฟันคุด ควรประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ภายหลังจากผ่าตัด 1 วัน จะทำให้อาการบวมยุบเร็วขึ้น และกลับมาตัดไหมภายหลัง ประมาณ 5 – 7 วัน
ข้อแนะนำหลังการอุดฟัน
หลังการอุดฟันด้วยอมัลกัม ห้ามใช้ฟันซี่ที่อุด เคี้ยวอาหารภายใน 24 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการใช้ฟันหน้าซึ่งอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟันกัดหรือแทะอาหาร เพราะอาจทำให้วัสดุอุดฟันบิ่นหรือแตกได้
งดหรือลดการสูบบุหรี่ การดื่มชา กาแฟ เพราะอาจทำให้เกิดคราบสีบนวัสดุอุดซึ่งมีสีเหมือนฟันได้
หลังการอุดฟัน หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร ปวดฟันซี่ที่อุด หรือวัสดุที่อุดฟันแตกหรือหลุด ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์
พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพฟันที่อุดไป ว่าวัสดุอุดยังอยู่ในสภาพดี ไม่มีการผุต่อ
ข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยที่รักษาคลองรากฟัน
ในระหว่าง หรือหลังการรักษาคลองรากฟันท่านอาจประสบปัญหาเหล่านี้
ฟันแตกบิ่น ในระหว่างการรักษา หรือรักษาเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำครอบฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง เพราะอาจทำให้ฟันแตกหักได้ ฉะนั้น หลังจากรักษาคลองรากฟันแล้ว ควรบูรณะด้วยครอบฟันโดยเร็ว
เจ็บเหงือกหรือกระพุ้งแก้มบริเวณฟันที่รักษา อาการจะค่อยๆ หายไป ภายใน 1 – 2 วัน
วัสดุอุดชั่วคราวหรือครอบฟันชั่วคราวหลุด น้ำลายและเชื้อโรคอาจจะเข้าไปในคลองรากฟันที่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อไว้แล้ว
มีกลิ่นยาออกมาจากฟันที่รักษา อาจเกิดจากวัสดุอุดชั่วคราวหลุด มีรอยรั่ว หรือฟันมีการแตกร้าว
ปวดฟันหรือเหงือกบวม ให้รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
หากมีปัญหาดังกล่าว ให้รีบไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว
ข้อแนะนำหลังการอุดฟัน หรือครอบฟันน้ำนม
หลังการอุดฟัน ห้ามใช้ฟันซี่ที่อุดนั้นเคี้ยวอาหาร ประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง
หลังการอุดฟันซี่ที่ผุรูกว้างมากๆ ห้ามใช้ฟันซี่นั้นกัดหรือเคี้ยวอาหารที่แข็งมากจนเกินไป
ในกรณีที่ต้องใส่ยาชาร่วมกับการอุดฟัน หรือครอบฟัน เด็กจะมีความรู้สึกชา (หรือหนา) บริเวณลิ้นและริมฝีปาก ต้องระวังไม่ให้เด็กกัด เกา หรือหยิกริมฝีปาก ลิ้น มิฉะนั้นจะเกิดแผลขึ้น
หากมีปัญหาหลังรับการรักษา ควรกลับไปพบทันตแพทย์ทันที
พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ข้อแนะนำหลังการติดเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น
รักษาความสะอาดฟัน และเครื่องมือจัดฟัน โดยแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ และก่อนเข้านอนเป็นประจำ
รักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่หลุด หัก หรือบิดเบี้ยว โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว และระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเล่นกีฬาที่อาจเกิดการกระทบกระทั่งรุนแรง
ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะการคล้องยางดึงฟัน หรือการใส่อุปกรณ์เสริมพิเศษ
พยายามปรับตัวให้เข้ากับเครื่องมือที่ใส่ เนื่องจากเมื่อมีการดึงฟัน ย่อมเกิดความรู้สึกตึง ปวด หรือรำคาญบ้าง
พบทันตแพทย์ตามวันและเวลานัดโดยสม่ำเสมอ
วิทยาการเพื่อประชาชน สถาบันทันตกรรม
ข่าว/บทความล่าสุด
รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68
เลือกเปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 2568 ได้แล้ว ผ่าน 4 ช่องทาง
บอร์ดประกันสังคม เห็นชอบให้ผู้ประกันตนรักษามะเร็งได้ทุกที่ (SSO Cancer Care)
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเสี่ยงเกิดอันตรายจริงไหม? รู้ก่อนทำเพื่อผลลัพธ์ดวงตาที่สดใส มาพร้อมความปลอดภัย
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
นครธนมินิมาราธอน ครั้งที่ 14 วิ่งด้วยความรัก เพื่อสภากาชาดไทย
อาสาบำรุงราษฎร์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ส่งท้ายปี 2567 ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า
บำรุงราษฎร์ มอบอุปกรณ์การแพทย์ ให้รพ.เพชรบูรณ์ และศูนย์สุขภาพชุมชนเก้าดาว
โครงการรีไซเคิลถุงน้ำยาล้างไต Baxter Kidney Care คว้ารางวัล AMCHAM Awards ปี 2024
ฟูจิฟิล์ม หนุนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในพื้นที่ห่างไกล
Wi-Fi 6 GHz โครงการนำร่องสุดล้ำที่ รามา อนาคตการรักษาพยาบาล
งานประชุม Vaccine World Asia Congress 2024
ดันนโยบาย 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ไทยตั้งเป้า ลดเจ็บ-ตายจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ตามปฏิญญาสตอกโฮล์ม
4 มาตรการคุมแอลกอฮอล์ ปีใหม่ 2568 เน้นย้ำ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ”
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน
ยิ้มสวยอย่างมั่นใจ จัดฟันแบบใส ทางเลือกของวัยรุ่นยุคใหม่มั่นใจกว่าที่เคย
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำปี 2566
บริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ผลลัพธ์แห่งการให้...จากน้ำใจสู่การให้ชีวิต
Recovery Festival@ปราจีนบุรี รีเฟรชพลัง บำบัดจิตใจ สายเฮ้ลตี้ต้องห้ามพลาด
บำรุงราษฎร์ ยกระดับสถาบันโรคหัวใจ ดูแลรักษาโรคหัวใจทุกมิติในระดับเวิลด์คลาส
การให้บริการและตารางออกตรวจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รพ.หนองคาย จัดตั้ง ศูนย์หัวใจชายแดนระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพสู่อินโดจีน
Health for Wealth คนไทยสุขภาพดี เศรษฐกิจ มั่งคั่ง นโยบายสธ.2566
คลินิกชะลอวัยและฟื้นฟู โรงพยาบาลสวนเบญจกิติ เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
ขอเชิญ สตรีอายุ 30-70 ปี ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ปฏิทินกิจกรรม เทศกาลท่องเที่ยว จ.บุรีรัมย์
อบรมกู้ชีพ-ปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีที่ไหนบ้าง 2566
กู๊ด ด็อกเตอร์ เปิดตัวโมเดลซอฟต์แวร์ดูแลสุขภาพ
[ทั้งหมด]
🔝