ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

บอกลาโรคปริทันต์ อย่าให้ทำลายอวัยวะรอบตัวฟันอีกต่อไป

บอกลาโรคปริทันต์ อย่าให้ทำลายอวัยวะรอบตัวฟันอีกต่อไป

บอกลาโรคปริทันต์กันเถอะ

 
 โรคปริทันต์(รำมะนาด)
โรคปริทันต์ เป็นโรคที่มีการทำลายอวัยวะรอบตัวฟันได้แก่ เหงือก กระดูกรองรับรากฟัน เคลือบรากฟัน และเอ็นยึดรากฟันกับกระดูกเบ้าฟัน การทำลายอวัยวะรอบตัวฟันดังกล่าว หากมีการสูญเสียไปแล้วจะเป็นการสูญเสียที่ถาวรไม่สามารถกลับคืนมาได้ ฟันนั้นก็จะไม่สามารถอยู่ในช่องปากได้อย่างแข็งแรงหรือต้องถอนฟันออกทั้งๆ ที่ยังไม่เคยมีอาการปวดเลย
 
อาการของเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
 
  • เหงือกมีสีแดง บวม เหงือกไม่รัดแน่นคอฟันและเลือดออกง่าย อาจเห็นตัวฟันยาวมากกว่าเดิม เพราะมีเหงือกร่น มีฟันโยก มีกลิ่นปาก มีอาการไม่สบายปาก ระคายเคืองเหงือก หรือมีอาการปวดรำคาญ หากเป็นมากมีร่องเหงือกลึก อาจมีหนองที่เหงือกเป็นๆ หายๆ ได้
  • เหงือกที่แข็งแรง คือเหงือกที่ยึดแน่นกับฟันและไม่มีเลือดออก
  • เหงือกอักเสบขั้นรุนแรงกระดูกและเนื้อเยื่อถุกทำลาย ฟันจะโยกหลวมและต้องถูกถอน
 
ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก
 
  • การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (Root planning) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้งบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือ การทำให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดติดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำหลายครั้ง และควรทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางโรคเหงือก
  • หลังรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดุอาการอีกครั้งว่าหายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) รวมด้วย
 
การดูแลรักษาช่องปากของผู้ป่วย
 
ท่านจะต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอด้วยตนเอง อย่างน้อยจะต้องใช้แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมด ไปพบทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจดูว่ามีคราบจุลินทรีย์และหินปูนหลงเหลือจาการทำความสะอาดเองหรือไม่เพื่อที่จะได้รับการรักษาในระยะแรก                        
 
ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดเหงือก
  1. หลังการผ่าตัดจะมีเลือดซึมออกมีแผลเล็กน้อย ห้ามบ้วนน้ำลายหรือบ้วนน้ำ เพราะจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด
  2. ในกรณีที่เลือดไม่หยุดไหล ควรใช้น้ำแข้งห่อประคบข้างแก้มบริเวณที่ทำการผ่าตัด
  3. หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณที่ทำการผ่าตัด ส่วนบริเวณอื่นสามารถแปรงฟันได้ตามปกติ และใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อทำความสะอาดแผล
  4. ห้ามแคะหรือเขี่ยบริเวณที่ทำการผ่าตัดไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินควร
  5. ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมา หรือรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
  6. ถ้ามีอาการบวมหรือรู้สึกผิดปกติ ควรกลับไปพบทันตแพทย์ทันที

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด