ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อย

เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เชื่อว่าอาจเป็นผลจากพันธุกรรมร่วมกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มีหลายปัจจัยในการเกิดและกระตุ้นให้เกิดโรค เช่น แกะเกา เสียดสี การติดเชื้อ หรือ ยา

เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เชื่อว่าอาจเป็นผลจากพันธุกรรมร่วมกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มีหลายปัจจัยในการเกิดและกระตุ้นให้เกิดโรค เช่น แกะเกา เสียดสี การติดเชื้อ หรือ ยา เป็นต้น

พบโรคนี้ประมาณ2% ของประชากรทั่วโลก

พบมีอาการมาก1 ใน3 พบมีความผิดปกติของเล็บและมีอาการปวดข้อร่วมด้วยได้

ส่วนมากจะอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี และ 50-60 ปี

เป็นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชายโดยเพศหญิงจะเกิดเร็วกว่า
 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรค

ได้แก่ การแกะเกา การเสียดสี กดทับ การติดเชื้อ ยาบางชนิด การตั้งครรภ์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แสงแดดจัด (Sunburn)
 

ลักษณะทางคลินิก

 
เป็นผื่นแดง ขอบเขตชัดเจน และมีสะเก็ดหนาสีขาวเงิน(Silvery Scale) ซึ่งติดค่อนข้างแน่น ถ้าแกะสะเก็ดออก อาจพบมีจุดเลือดออกเล็กๆ (Au spitz sign) ถ้าถูที่ผิวหนังอาจเกิดผื่นใหม่บริเวณนั้นได้ (Koebners phenomenon) บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ หนังศีรษะ ข้อศอก เข่า ก้นกบ หน้าแข้ง ถ้าเป็นมากอาจกระจายทั่วตัวได้
 
ผื่นสะเก็ดเงิน มีหลายรูปแบบ ที่พบบ่อย เป็นชนิดผื่นหนาขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดขาวติดแน่นปกคลุม ผื่นมักกระจากทั่วตัวรวมทั้งอาจมีผื่นที่หนังศีรษะและไรผมได้ ขนาดของผื่นไม่แน่นอน
 
ผื่นลักษณะอื่นๆ ที่อาจพบได้ คือ ผื่นขนาดเล็ก(guttate) กระจายทั้งตัวตุ่มหนอง ผื่นตามรอยพับของร่างกาย
 
ความผิดปกติของเล็บ อาจมีเล็บหนาขึ้น (Subungual hyperk ratosis) เป็นหลุม (pitting) เล็บร่อนหรือแยกตัว (distal onycholysis) เล็บเปลี่ยนเป็นสีเหลือง (Oil spot)
 
บางประเภทของสะเก็ดเงินอาจมีผื่นในปากได้                                                                                            
อาการปวดข้อ พบได้ 5-30% ของโรคที่เรื้อรัง มักเป็นที่ข้อปลาย นิ้วมือ หรืออาจคล้ายข้ออักเสบของโรครูมาตอยด์
 
 

 สาเหตุของโรค

 
ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเป็นจากพันธุกรรม ร่วมกับสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทำให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติ ทำให้มีการพอกตัวหนา และหลุดลอกออกไปเร็วกว่าปกติ จึงเห็นเป็นผื่นหนาและมีสะเก็ดร่อนหลุดจำนวนมาก อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากมีความผิดปกติของเซลเม็ดเลือดขาว ชนิด T-lymphocyte ทำให้ผิวหนังหลั่งสารต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
 

การรักษา

 
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่เรื้อรังที่หายขาด ดังนั้นสิ่งสำคัญในการรักษา คือ การปฏิบัติตนของผู้ป่วยเอง เพื่อป้องกัน หรือเพื่อให้ผื่นกำเริบน้อยสุด
 
1.ปัจจัยที่ทำให้โรคเป็นมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียของทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะเครียดยาบางชนิด เช่น chloroquine , ยาลดความดันกลุ่ม Beta-blocker, aleohol และ lithium การแกะเกา เสียดสี หรือมีแผลที่ผิวหนัง
 
2.ยารับประทานกลุ่มกรดวิตามินเอ ได้แก่ Acitretinอาจใช่ร่วมกับการฉายแสง ในกรณีที่ใช้ชนิดเดียว จะใช้ในรายที่เป็นมาก หรือเป็นสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง ผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย ระดับไขมันในเลือด และการทำงานเอ็นไซม์ตับสูงได้ ยานี้ห้ามใช้หญิงมีครรภ์และห้ามตั้งครรภ์หลังหยุดยาอย่างน้อย 2 ปี
 
3.Methotrexate เป็นยาที่ให้ผลการรักษาดี และราคาไม่แพงมีผลข้างเคียงสูง ได้แก่ ตับอักเสบ ระดับเอ็นไซม์ตับสูงและเกิดตับแข็งได้ จะเลือกใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยาอื่นหรือวิธีการรักษาอื่นที่ปลอดภัยกว่า ดังนั้น ก่อนระหว่างและหลังการรักษาต้องมีการตรวจเลือดเป็นระยะๆ
 
4.Cyclosporin ใช้ในรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากผลข้างคียงของยา เช่น ความดันโลหิตสูง ไตและตับอักเสบ
 
5.ยาอื่นๆ ในปัจจุบันยังมียากลุ่มใหม่ๆ ที่ให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังมีราคาแพงๆ และมีผลข้างเคียงที่ยังต้องศึกษาและเฝ้าติดตามต่อไป
 
เนื่องจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรัง บางครั้งการใช้ยาอาจมีผลข้างเคียง จึงควรใช้ยาสลับกันเป็นระยะๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงระยะยาวจากการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งเป็นประจำ บางครั้งอาจต้องใช้ยาหลายกลุ่มร่วมกัน ทั้งยาทาและยารับประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และลดผลข้างเคียงของยา

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด