ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักกับพาราเบนส์ (Parabens)

คนไทยเราอาจยังไม่คุ้นเคยกับสารที่มีชื่อว่า “พาราเบนส์” (Parabens) แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเกาหลีและอเมริกา กำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณพ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้ เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

 คนไทยเราอาจยังไม่คุ้นเคยกับสารที่มีชื่อว่า “พาราเบนส์” (Parabens) แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเกาหลีและอเมริกา กำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณพ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้ เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

เนื่องจากพาราเบนส์ถือเป็นสารรบกวนฮอร์โมน แม้จะเป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าหากใช้ไปนานในระยะเวลาต่อเนื่อง จะส่งผลเสียต่อร่างกายคนเราหรือไม่
 
“ฉลาดซื้อ” ได้สำรวจดูส่วนผสมของเครื่องสำอางที่มีขายในบ้านเรา พบว่าส่วมใหญ่มีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งผลสำรวจในต่างประเทศพบว่า “บลัชออน” คือผลิตภัณพ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สารพาราเบนส์มากที่สุด โดยเกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด จากการสำรวจประเทศในแถบเอเซียจำนวน 13 ประเทศ โดยประเทศไทยเราอยู่อันดับ 3 
 
 
ข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย
1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้
2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้
3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก
4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล
 
ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น
 
แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงผลเสียของพาราเบนส์ แต่ผู้บริโภคก็ควรตื่นตัวกับข่าวสารที่เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เพราะข้อมูลข่าวสารต่างๆ ถือเป็นอาวุธสำคัญสำหรับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
 

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด