นอกจากนี้ระยะเวลาของอาการนอนไม่หลับ ก็มีความสำคัญต่อการประเมินหาสาเหตุและการรักษา เช่น
1. อาการนอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) มักพบในช่วงเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน หรือสิ่งแวดล้อม หรือ Jet lag เป็นต้น
2. อาการนอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term insomnia) มักเป็นแค่ 2-3 วัน จนถึง 3 สัปดาห์ อาจพบได้ในภาวะเครียด เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด เป็นต้น
3. อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นเดือน หรือเป็นปี (longterm or chronic insomnia)
อาจเป็นผลจากการใช้ยา ,การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจ หรือเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบได้หลายสาเหตุ เช่น
- จากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ในห้องนอน แสงสว่าง, เสียงที่อาจไม่เหมาะสม
- การนอนกลางวัน
- อาหารมื้อหนักก่อนนอน
- การดื่มกาแฟ
- ยาหรือสารที่กระตุ้นระบบประสาท
- อารมย์และความเครียดทางจิตใจ
การรักษา
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะ
- การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทเหล่านี้ จะทำให้อาการนอนไม่หลับของคุณดีขึ้น
- สำหรับการใช้ยานอนหลับ ควรให้อยู่ดุลยพินิจและคำแนะนำของแพทย์
ข้อมูลโดย thaiclinic.com