ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ถ่านไม้ไผ่ เครื่องมือขับล้างสารพิษตกค้างชั้นยอดจากธรรมชาติ

ถ่านไม้มีสรรพคุณมากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่ดูดกลิ่นอับชื้น ยังสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่านไม้ไผ่ที่เผาด้วยความร้อนสูง ได้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขจัดสารตกค้างในร่างกาย นอกเหนือจากการใช้เป็นเชื้อเพลิง ประกอบอาหารตั้งแต่โบราณแล้ว เคล็ดลับแม่บ้านในห้องครัวอาจจะคุ้นเคย กับการวางก้อนถ่านไม้ดำๆ สักก้อนไว้ช่วยดูดกลิ่นในตู้เย็น แต่คงไม่คุ้นกับการใช้'ถ่าน'ในประโยชน์อื่นๆ อย่างเครื่องสำอาง สารขจัดพิษ หรือวัสดุเพื่อการผ่อนคลาย โดยเฉพาะถ่านไม้ที่ผลิตจากไม้ไผ่

 
 
                      ถ่านไม้ไผ่คืออะไร ถ่านไม้ไผ่ หรือ Bamboo Charcoal คือ ถ่านที่ได้จากการเผาไม้ไผ่ในอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส มีรูปทรงของไม้ไผ่ชัดเจน ผิวของถ่านจะมีความเงาเล็กน้อย หากเคาะกับพื้นแข็งจะมีเสียงดังกังวานเหมือนโลหะ เนื่องจากมีความบริสุทธิ์ของธาตุคาร์บอนสูง      ความรู้วิวัฒนาการการใช้ถ่านไม้ไผ่ตามเอกสารเผยแพร่โดย ศูนย์ประสานงานโครงการเกษตรผสมผสานและสถาบันเพื่อพัฒนาการเกษตรและชนบท จำเนียร สาระนาค หรือสจส.นั้น    (ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับถ่านสุขภาพ แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดย ปัญญา ปุลิเวคินทร์)
 
                       ระบุว่า มีต้นทางจากประเทศจีน เมื่อพบหลักฐานถ่านไม้จำนวน 5 ตันอยู่ในสุสานมัมมี่ผู้หญิงวัย 53 ปีอายุกว่า 2,100 ปีในประเทศจีน จึงสันนิษฐานว่า ถ่านถูกใช้ดูดความชื้นของอากาศ เพื่อรักษาความสดของมัมมี่ ต่อมาญี่ปุ่นนำเอาความรู้นี้ไปใช้อย่างแพร่หลายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 สืบทอดถึงปัจจุบัน ซึ่งในจีนมีโรงงานผลิตถ่านไม้ไผ่ขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองกุ้ยหลินด้วย ถ่านชนิดนี้จึงรู้จักแพร่หลายในภาษาญี่ปุ่นว่า ทาเกะซูมิ หรือ ชิกุตัน คุณลักษณะพิเศษของถ่านไม้ไผ่ที่แตกต่างจากถ่านไม้อื่นๆ คือ ถ่านน้ำหนักเพียง 1 กรัม นั้นมีพื้นผิวภายในถึง 300-700 ตารางเมตร    ขณะที่ถ่านไม้ทั่วไปน้ำหนักเท่ากันมีพื้นผิวเพียง 50 ตารางเมตรเท่านั้น และถ่านไม้ไผ่มีโพรงภายในเนื้อถ่านมากกว่าชนิดอื่นถึง 4 เท่า    จึงสามารถดูดซับกลิ่นและมีจุลินทรีย์ที่จะย่อยสลายสารประกอบที่ถ่านดูดซับมาให้ระเหยไปได้ง่าย สำหรับถ่านที่ผ่านการเผาในความร้อนสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส    จะปล่อยรังสีอินฟราเรดคลื่นยาวที่ให้ความอบอุ่นและประจุลบ หรือ negative ion ที่สามารถเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้เป็นออกซิเจน    ซึ่งคุณสมบัตินี้ถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขับพิษสารตกค้างในร่างกายได้      ถ่านไม้ไผ่ยังมีดูดซับคลื่นอิเลคทรอแม็กเนติก    และอุดมไปด้วยแร่ธาตุ อาทิ แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียมและธาตุเหล็ก เป็นต้น
 
                      ถ่านไม้ไผ่จึงถูกนำไปใช้ทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม สิ่งทอ ฯลฯ ประโยชน์มากกว่าที่คิด สำหรับในชีวิตประจำวันถ่านไม้ไผ่สามารถใช้ตั้งแต่การรักษาสภาพแวดล้อมไปจนถึงการประกอบอาหาร การประทินผิว และช่วยขจัดสารตกค้างในร่างกาย คุณสมบัติการดูดซับกลิ่นและความชื้น และปล่อยประจุลบ (มีผลในการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์สดชื่นขึ้น)ของถ่านไม้ไผ่   เหมาะสำหรับวางก้อนถ่านไว้ในตู้เสื้อผ้า ห้องครัวห้องน้ำ  ตู้เก็บของหรือกล่องรองเท้า วางในรถยนต์ก็ได้   รวมทั้งวางดูดก๊าซพิษที่ระเหยมาจากสีทาบ้านหรือโพลี่บอร์ดในอาคารหรือห้องที่เพิ่งตกแต่งใหม่ได้ด้วย การปล่อยประจุลบของถ่านไม้ไผ่ยังช่วยแก้มลภาวะในน้ำเสีย ท่อระบายน้ำที่ปล่อยน้ำซักผ้าและกลิ่นเน่า ถ่านไม้ไผ่จะดูดซับคลอรีนและสารมีพิษภายในน้ำดื่มและให้แร่ธาตุตามธรรมชาติที่กล่าวถึงข้างต้นมากขึ้นด้วย ในการหุงข้าว ถ่านไม้ไผ่ช่วยดูดกลิ่นคลอรีนออกจากน้ำ ดูดซับจุลินทรีย์และสารพิษในข้าว เพิ่มแร่ธาตุให้ข้าวหุงสุก ทำให้รสชาติดี คุณสมบัติในการดูดซับสารพิษ เพิ่มประจุลบซึ่งกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายคนได้ ถ่านไม้ไผ่ จึงมีผลในการขับสารเคมีตามผิวหนัง ผิวหนังจึงนุ่มชุ่มชื้นสะอาดและอบอุ่น
 
                        ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ถ่านไม้ไผ่กับร่างกายจึงมีทั้ง  สบู่  ครีมบำรุงผิว  แชมพู  ครีมนวดผม  และน้ำแร่  ปรับสภาพผิว ซึ่งทั้งหมดนี้อาศัยการปล่อยประจุลบและแร่ธาตุในถ่าน   เพื่อขับล้างสารพิษตกค้างและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังและเส้นผมนั่นเอง ประจุลบที่ถ่านไม้ไผ่ปล่อยออกมาทำปฏิกิริยาเปลี่ยนอนุมูลอิสระเป็นออกซิเจนนั้น   ยังมีผลต่อความดันโลหิต ระบบการหายใจและระบบประสาททำงานอัตโนมัติมีประสิทธิภาพขึ้น  มีผลต่อการนอนหลับและผ่อนคลาย  รังสีอินฟราเรดคลื่นยาวจากถ่านจะช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกาย     ประกอบกับการดูดซับความชื้น     ฟอกอากาศและขับไล่แมลงได้ จึงมีผู้นำถ่านไม้ไผ่ไปใช้ทำฟูกที่นอนและหมอน หรือเพียงแค่วางไว้ใต้เตียง ก็ช่วยขจัดความชื้นในห้องนอน
 
                        นอกจากนี้ถ่านไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งรั่วซึมจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เตาอบและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ด้วย ข้อควรระวังบางอย่าง อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์ของถ่านไม้ไผ่เหล่านี้      จะได้จากถ่านไม้ไผ่ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการเผาด้วยความร้อนสูงอย่างถูกวิธีเท่านั้น
 
                        หากใช้ถ่านที่ไม่ได้คุณภาพ ข้อมูลจาก เครือข่ายสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ระบุว่า ถ่านไม้ไผ่อาจมีอันตรายต่อผิวหนังและการหายใจของผู้ใช้มากเช่นกัน หากถ่านไม้ไผ่ที่ผ่านการเผาด้วยอุณหภูมิไม่ถึง 1000 องศาเซลเซียส ถ่านที่ได้จะเป็นถ่านที่ไม่บริสุทธิ์ มี 'ทาร์' (Tar) ตกค้างอยู่   ซึ่งเป็นสารที่ทางการแพทย์ยืนยันว่า เป็นสารก่อมะเร็ง การใช้ถ่านไม้ไผ่กับผิวหนัง หากผงถ่านไม่ละเอียดพอ จะทำให้ผิวหนังระคายเคือง แทนที่จะช่วยดูดซับเซลล์ผิวที่ตายและอุดอยู่ตามรูขุมขนออกไปได้   ถ่านไม้ไผ่ที่ได้คุณภาพจะต้องมีค่าคาร์บอนเสถียร หรือ Fixcarbon มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์ได้โดยสถาบันที่มีความรู้ความชำนาญ ส่วนถ่านไม้ไผ่ที่ใช้ทำไส้หมอนหรือที่นอนจะถูกบดเป็นผงละเอียด จึงต้องตรวจสอบวัสดุที่ใช้และการออกแบบว่า สามารถป้องกันฝุ่นผงถ่านหลุดรั่วออกมาก่อความระคายเคืองต่อระบบหายใจได้ ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ OTOP
 
                        ถ่านไม้ไผ่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะการใช้เพื่อสุขภาพ ทั้งในด้านความรู้และผลิตภัณฑ์ แต่มีผู้ประกอบกิจการโดยตรงที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ หลังจากได้รับคำแนะนำจากชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทาบทามหาผู้ผลิตถ่านไม้ไผ่สุขภาพเพื่อส่งขายญี่ปุ่นเมื่อห้าปีที่ผ่านมา ก่อนจะผันมากระจายผลิตภัณฑ์ในประเทศ สอดรับกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในนามของกลุ่มผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี ต.สำพันตา อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ผ่านการดำเนินงานการผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทชาร์โคล โฮม จำกัด โดย กิตติ เลิศล้ำและชวนพิศ อินทรสูรย์ ได้ประกาศนียบัตรผลิตภัณฑ์โอท็อปสี่ดาวเมื่อเดือนธันวาคมปี 2547 รับประกันคุณภาพ
 
                        “จริงๆ ถ่านมีสามอย่างคือ ถ่านเชื้อเพลิง  ถ่านอุตสาหกรรม  และถ่านสุขภาพ ซึ่งถ่านไม้ไผ่จะจัดอยู่ในกลุ่มหลัง ถ่านไม้ไผ่ที่ผ่านเตาความร้อน 1,000 องศา (เซลเซียส) จะได้ถ่านที่สารพัดประโยชน์มาก” ชวนพิศกล่าว เธอเล่าว่า กระบวนการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ไผ่ไทย ต้องเลือกไม้ไผ่ตง ซึ่งเป็นไผ่พันธุ์เนื้อดีที่สุดในไทยมาใช้ในเผาเตาความร้อนตามที่ระบุกรรมวิธีการเผาจะใช้เวลานานถึง 20 วัน จึงจะได้ถ่านไม้ไผ่เป็นก้อน และเพื่อให้แน่ใจในการทำการตลาด “เพื่อสุขภาพ” จึงได้ติดต่อกรมวิทยาศาสตร์และว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง ที่มีห้องทดลองตรวจสอบค่าคาร์บอนเสถียร(fixed carbon) ปริมาณแร่ธาตุต่างๆ และค่า PH ของถ่านด้วย “เราจะใช้ค่าตรวจสอบและใบรับรองแทนเหมือน อย.ไงคะ เพราะสินค้าพวกนี้ มันไม่มีอย. และค่ามาตรฐานเหล่านี้เรายึดตามประเทศญี่ปุ่น ที่เขามีระบบที่ชัดเจนแน่นอน ทำมานานแล้ว” ชวนพิศกล่าว นอกจากจะมีถ่านแท่งและถ่านทุบหยาบ เพื่อใช้ใส่ถุงดูดกลิ่นหรือยัดไส้หมอนแล้ว ส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นสบู่ก้อน สบู่เหลว ผงฟอกตัว แชมพูและครีมนวดผม มีการผสมสารที่จำเป็นตามประเภทสินค้า ทำให้อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์สั้นลง
 
                        “ผงถ่านล้วนๆ จะไม่มีหมดอายุ แต่วัตถุดิบอื่นที่เราใส่ไป ทำให้ใช้ได้สัก 2 ปี ก็หมดอายุแล้ว” ชวนพิศ แนะนำ อย่างไรก็ตาม การผสมสารเคมีกับผงถ่านบดละเอียดจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทั้งหลายที่กล่าวมาแต่อย่างใด “ถ่านนี้ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ต้องผลิตให้ถูกกระบวนการจริงๆ เท่านั้น” ชวนพิศยืนยันและแนะนำผู้ต้องการใช้แท่งถ่านเพื่อดูดซับคลื่นอิเล็กทรอแม็กเนติกจากเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าว่า ควรใช้แท่งถ่านเปลือยไม่มีวัสดุห่อหุ่มจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ขณะที่ธนเทพ เฟื่องฟู ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของชาร์โคล โฮมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ถ่านไม้ไผ่ที่ดีควรคงรูปไม้ไผ่ไว้ชัดเจน ดูผิวเผินจะคล้ายไม้ไผ่ทาสีดำ เพราะถ้าเผาไม่ได้ความร้อนสูงจริง ถ่านจะเป็นคาร์บอนที่ไม่บริสุทธิ์ คุณประโยชน์จะกลายเป็นโทษได้ต้องดูด้วยว่า

                         ถ่านมีค่าคาร์บอนเสถียรไม่ต่ำกว่า 85% ซึ่งอาจเป็นเพียงฉลากลวงได้ แต่สามารถทดสอบถ่านไม้ไผ่ที่เป็นแท่งมาตรฐานจับเคาะกับพื้นแข็ง “ถ้าเสียงดังกิ๋งกิ๋งเหมือนเซรามิคละก็ใช่ แต่ถ้าเสียงดังแป๊กๆ จะเป็นถ่านหุงต้มธรรมดา” สวย สุขภาพดีด้วยถ่าน กรรมวิธีผลิตถ่านไม้ที่ต้องผ่านการคัดเลือกไม้ไผ่ ตากแห้ง ส่งเข้าเตาเผาที่ต้องใช้ความร้อนสูงถึงพันองศาเซลเซียส ให้ถ่านเผาไหม้สมบูรณ์ พักไว้ให้ถ่านเย็นตัวลง นำออกมาตัดแบ่งเป็นแท่งหรือก้อน จึงนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้นั้น อาจจะต้องปล่อยหน้าที่การผลิตให้กับผู้ประกอบการ แต่ในแง่การใช้งาน
 
                         หากท่านไม่ต้องการผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วิธีการง่ายๆ ต่อไปนี้ ลองทำได้เองที่บ้าน
 
         1.ถ่านไม้ไผ่ในแจกัน ถ่านไม้ไผ่จะช่วยให้ดอกไม้สดในแจกันอยู่คงทนยาวนานขึ้น เพราะถ่านไม้ไผ่รักษาระดับความชื้นและฟอกอากาศให้น้ำเน่าเสียช้าลง (ด้วยคุณสมบัติของการปล่อยประจุลบ) รวมทั้งแร่ธาตุในถ่านจะช่วยยืดอายุของต้นไม้ด้วย ในกรณีกระถางดินปลูกต้นไม้การโรยผงถ่านรอบๆโคนต้นจะช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน ต้นไม้จะโตเร็ว
 
         2.อาบสวยด้วยถ่าน นำถ่านบดหรือก้อนเล็กๆ ปริมาณ 300 กรัมหรือมากกว่าเล็กน้อยใส่ถุงผ้าตาข่าย เอาไปวางในอ่างอาบน้ำ ก่อนเปิดน้ำร้อนสำหรับแช่อาบ เมื่ออาบเสร็จนำถุงถ่านไปตากแห้งและเก็บไว้ใช้ได้อีกนานสองเดือนสำหรับถ่านหนึ่งถุง วิธีการนี้ถ่านไม้ไผ่จะช่วยให้ความอบอุ่นร่างกาย ทำความสะอาดและรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง และยังช่วยขจัดกลิ่นอับหรือกลิ่นคลอรีนได้ด้วย
 
         3.ทำน้ำแร่ คุณสามารถทำน้ำแร่ไว้ดื่มเองได้ จากการใช้ถ่านไม้ไผ่ก้อนขนาดพอเหมาะล้างให้สะอาด โดยไม่ใช้สารเคมีหรือผงซักฟอกใดๆ นำถ่านไปต้มกับน้ำดื่มสะอาดด้วยไฟอ่อนๆ 10 นาที ตักถ่านออกตากแห้ง แล้วนำถ่านนั้นชั่งน้ำหนักให้ได้ 100 กรัมเติมลงในน้ำดื่มสะอาด 1 ลิตร ตั้งทิ้งไว้สักสองสามชั่วโมง ก็จะได้น้ำแร่สะอาดไว้ดื่ม ถ่านต้ม(และตากแห้ง)หนึ่งก้อนสามารถใช้ได้หนึ่งเดือน แต่ควรต้มซ้ำสัปดาห์ละครั้งเพื่อผลสูงสุด
 
         4.ล้างผัก ล้างผักให้สะอาดแล้วนำผงถ่านบด 1 ช้อนชาผสมน้ำ 5 ลิตร แช่ผักหรือผลไม้ไว้ 15-20 นาที จากนั้นล้างผักผลไม้ด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง ถ่านจะช่วยดูดซับสารเคมีตกค้างในพืชผัก
 
         5.เยียวยาร่างกาย มีวิธีการใช้ถ่านไม้ไผ่เพื่อเยียวยาร่างกายดังนี้ -ปากเหม็น ให้ผสมถ่านกับน้ำดื่ม -คลื่นไส้อาเจียน มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ให้ผสมผงถ่านสะอาดลงในน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว คนให้เข้ากันแล้วดื่ม แต่คนท้องผูกไม่ควรดื่มเพราะจะทำให้อาการหนักขึ้น -ผื่นแพ้ คันผิวหนัง ใช้ถ่านแช่น้ำอาบ -เจ็บคอ ผสมถ่านกับน้ำพอเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ อมไว้ 5 นาทีแล้วกลืนช้าๆ -กินยาเกินขนาด ใช้ถ่านแก้พิษ รับประทานถ่านผสมน้ำปั้นเป็นก้อน 10-20 เม็ด ดื่มน้ำตามมากๆ การใช้ถ่านเยียวยาร่างกายนี้ต้องใช้ทันทีเมื่อเกิดอาการหรือหลังเกิดอาการโดยเร็วที่สุด เพื่อประสิทธิผลเต็มที่
 
หมายเหตุ : ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพมิชชั่น (รพ.มิชชั่น)
ดำดี..มีประโยชน์ โดย : ทศพร กลิ่นหอม นสพ.กรุงเทพธุรกิจ



 
  ในอดีต ถ่านถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญในการหุงต้ม  แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ถ่านเริ่มจางหายไปจากชีวิตประจำวัน แต่ในปัจจุบันมีผู้แปรรูปถ่านเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากมายหลากหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาแนะนำให้รู้จักกัน
 
1.หมอนสุขภาพถ่านไม้ไผ่
นอกจากหมอนจะช่วยทำให้นอนหลับสบายและป้องกันศีรษะจากการกระแทกแล้ว ปัจจุบันมีหมอนที่นำถ่านไม้ไผ่มาเป็นไส้ ทำให้มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น ความชื้น ช่วยให้ผ่อนคลาย สดชื่นขึ้น
 
2.ถ่านไม้ไผ่ใช้ดูดกลิ่น
- หากนำไปใส่ในหม้อหุงข้าว จะทำให้ข้าวนุ่ม อร่อย เนื่องจากถ่านมีคุณสมบัติสามารถลดความกระด้างของน้ำ ดูดซับกลิ่นอับของข้าว สารเคมี และคลอรีนในน้ำ
- หากนำไปใส่ในรองเท้า จะช่วยดูดซับกลิ่น ความชื้น และช่วยรักษารูปทรงของรองเท้า
- หากนำไปใส่ในตู้เย็น นอกจากจะช่วยดูดซับกลิ่นแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ผักและผลไม้คงความสดได้นานยิ่งขึ้น
- หากนำไปวางตามจุดต่างๆ ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จะช่วยฟอกอากาศ ดูดกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศสะอาดสดชื่น
 
3.ผงถ่านไม้ไผ่ใช้ล้างผักผลไม้
ผงถ่านเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ที่เผาด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศา จนกลายเป็นคาร์บอนบริสุทธิ์ ช่วยดูดซับสารพิษ สารเคมี ที่ตกค้างมากับผักและผลไม้ เพียงนำผงถ่าน 1 ช้อนชา ผสมในน้ำ 5 ลิตร ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด แล้วแช่ในน้ำผสมผงถ่านนาน 15-20 นาที หลังจากนั้นจึงล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง
 
4.ถ่านไม้ไผ่เพื่อความงาม
- แชมพูและครีมนวดถ่านไม้ไผ่ ช่วยดูดซับสิ่งสกปรก ความมันส่วนเกินของเส้นผมและหนังศีรษะ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะทำให้เส้นผมและหนังศีรษะทำให้เส้นผมและหนังศีรษะสุขภาพดี
- สบู่และสบู่เหลวธรรมชาติถ่านไม้ไผ่ ชำระล้างสิ่งสกปรก ดูดสารพิษ สารเคมีในรูขุมขน ขจัดเซลล์ที่ตาย ลดความมัน เชื้อแบคทีเรีย ลดการเกิดสิว บำรุงผิวให้สดใน นุ่มเนียน
- โคลนถ่านไม้ไผ่ดูดสารพิษ ช่วยดูดสารเคมีในรูขุมขน ขจัดเซลล์ที่ตาย กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนผิวหนังเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว
- น้ำแร่ถ่านไม้ไผ่ สารสกัดที่อุดมด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม มีคุณค่าบำรุงผิวและสร้างสมดุลของเซลล์ให้แข็งแรง กระชับ มีสุขภาพผิวที่ดี
เมื่อทราบแล้วว่าถ่านไม้ไผ่จากธรรมชาติสามารถนำมาสร้างประโยชน์เพื่อสุขภาพได้หลากหลาย ลองหันมาทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้ไผ่ดูนะคะ 
 
 
 
ที่มา :   นิตยสารรายปักษ์ "ชีวจิต"
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด