ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปีนี้พบคนไทยป่วยไวรัสซิก้า 479 ราย ใน 26 จังหวัด

ปีนี้พบคนไทยป่วยไวรัสซิก้า 479 ราย ใน 26 จังหวัด Thumb HealthServ.net
ปีนี้พบคนไทยป่วยไวรัสซิก้า 479 ราย ใน 26 จังหวัด ThumbMobile HealthServ.net

กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศไทย ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 479 ราย ใน 26 จังหวัด โดยในช่วง 4 สัปดาห์ล่าสุด พบผู้ป่วยมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 24 ราย และจันทบุรี 22 ราย

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศไทย ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 479 ราย ใน 26 จังหวัด โดยในช่วง 4 สัปดาห์ล่าสุด พบผู้ป่วยมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 24 ราย และจันทบุรี  22 ราย


          โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ  มีความรุนแรงหากเกิดในหญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อไวรัสซิกา จะส่งผ่านไปทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะสมองไม่เจริญเติบโต เมื่อคลอดออกมาจะเป็นทารกที่มีศีรษะเล็ก นับว่าเป็นอันตรายสูงต่อหญิงตั้งครรภ์


         นายแพทย์ธงชัย ระบุเพิ่มเติมว่า การจัดการกับยุงลาย เป็นวิธีการที่ป้องกันโรคไวรัศซิก้าได้  ยุงลายจะวางไข่ในแหล่งน้ำใสนิ่ง มักจะเป็นภาชนะขังน้ำหรือใส่น้ำในบ้านหรือรอบๆ บ้าน หากกำจัดหรือปิดกั้นที่วางไข่ของยุงลาย ยุงจะพยายามไปหาที่วางไข่ในจุดอื่นไม่ว่าจะเป็นน้ำในเศษภาชนะที่แอบซ่อนเช่น ขยะ เศษภาชนะ กาบใบไม้ที่มีน้ำฝนตกค้างเพียงน้อยนิด เป็นต้น

        การกำจัดยุงลาย ยังสามารถช่วยป้องกันการเกิด โรคไข้เลือดออกเด็งกี่ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ได้อีกด้วย

       อีกวิธีหนึ่งในการกำจัดยุงลายคือการสร้างกับดักให้ยุงลายมาวางไข่แล้วหมั่นคอยดูเพื่อกำจัดลูกน้ำทิ้งเป็นประจำ เมื่อรอบของการวางไข่ยุงลายหมดไป ตัวแม่ยุงก็จะตายตามวงจรชีวิต ทำให้ไม่มียุงลายรุ่นใหม่เกิดขึ้น จึงเป็นอีกวิธีที่จะลดความหนาแน่นของยุงลายได้เช่นกัน


 
       กรมควบคุมโรคขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันลดจำนวนประชากรยุงลาย โดยปฏิบัติตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ เก็บบ้าน ให้สะอาด ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้าน ให้มีความเป็นระเบียบ แสงแดดส่องเข้าถึง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง เก็บขยะ บริเวณรอบบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และ เก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด จัดการภาชนะไม่ให้มีน้ำขัง เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันยุงลายมาวางไข่ ส่วนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมในช่วงนี้ ขอให้ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด โดยการทายากันยุง นอนในมุ้ง มีมุ้งลวด ใช้ยาจุดกันยุง และใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาว ภายหลังน้ำลดทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด