ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาพรวมผลการดำเนินงาน กลุ่มรพ.กรุงเทพ ไตรมาสที่ 1/2565

ภาพรวมผลการดำเนินงาน กลุ่มรพ.กรุงเทพ ไตรมาสที่ 1/2565 Thumb HealthServ.net
ภาพรวมผลการดำเนินงาน กลุ่มรพ.กรุงเทพ ไตรมาสที่ 1/2565 ThumbMobile HealthServ.net

11 พฤษภาคม 2565 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เผยแพร่รายงานผลการดำเนินกิจการไตรมาสที่ 1/2565 ระบุว่าบริษัทมีผลกำไรเติบโตขึ้นเทียบกับปี 2564 เป็นผลมาจากผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติที่ฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Fly-in Patient) และชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย

ผลการดำเนินงาน

 
บริษัท มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 23,159 ล้านบาท เติบโต 42% จากไตรมาส 1/2564 
บริษัท มีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน 18,476  ล้านบาท
บริษัท มีกำไรสุทธิ 3,443  ล้านบาท
 
 
 

สาเหตุการเพิ่มขึ้นของรายได้

มาจากผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จำแนกพิจารณา 3 ด้าน 
 
1) แบ่งตามกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติ
ผู้ป่วยชาวไทย 78% (เพิ่มขึ้น 38%) 
ผู้ป่วยชาวต่างประเทศ 22% (เพิ่มขึ้น 72%)
 
2) แบ่งตามโรงพยาบาลในกรุงเทพและนอกกรุงเทพ
กรุงเทพและปริมณฑล 45% 57%
นอกกรุงเทพและปริมณฑล 44% 43%
 
3) แบ่งตามกลุ่มผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
ผู้ป่วยนอก 30% 45%
ผู้ป่วยใน 54% 55%
 
 

การเติบโตจากจำนวนผู้ป่วย

แบ่งเป็นผู้ป่วยชาวไทย และ ชาวต่างชาติ 
 
การเติบโตของรายได้ผู้ป่วยชาวไทยเป็นผลมาจาก
1. จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เมษายน ปี 2564 
2. การกลับมารักษาพยาบาลของผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับ COVID-19
 
การเติบโตของรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติ เพิ่มขึ้นจาก
1. การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Fly-in Patient) 
2. ผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย (Expatriate) 
 

อัตราการครองเตียง

อัตราการครองเตียงโดยรวมเพิ่มขึ้น 80% (จาก 46% ในไตรมาส 1/2564)
 

รายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับ COVID-19

รายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับ COVID-19 คิดเป็น 17% ของรายได้ ค่ารักษาพยาบาลในไตรมาส 1/2565
 
 
 
 

การเดิบโตด้านรายได้ 

รายได้จากผู้ป่วยในเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ 54% จากไตรมาส 1/2564 
 
อัตราการครองเตียงเพิ่มขึ้น เป็น 80% (จาก 46% ในไตรมาส 1/2564)
(ไม่รวม Hospitel และโรงพยาบาลสนาม) โดยเป็นอัตราการครองเตียงของผู้ป่วย COVID-19 เท่ากับ 87%
และอัตราการครองเตียงของกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เกี่ยวกับ COVID-19 เท่ากับ 76%
 
รายได้ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 22,165 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 45%)
สาเหตุหลักมาจาก
 
1) การเติบโตของรายได้ผู้ป่วยชาวไทย 38% จากทั้ง
 
  • ผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของกลุ่มผู้ป่วย
  • ทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับ COVID-19 
  • สัดส่วนรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับ COVID-19 เพิ่มขึ้น 17%
 

2) ผู้ป่วยชาวต่างชาติมีการเติบโต 72% เป็นผลมาจาก
  • รัฐบาลมีมาตรการเปิดประเทศให้ผู้เดินทางที่ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้ว
  • สามารถบินเข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 
  • การเพิ่มขึ้นมาจาก Fly-in Patient โดยหลักเป็นการเพิ่มขึ้นของ
    - ผู้ป่วยจากตะวันออกกลาง 256% 
    - ผู้ป่วยจาก CLMV (ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) 58% 
    - การกลับมารักษาพยาบาลของผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ทำงานใน ประเทศไทย (Expatriate) เช่น ชาวเยอรมัน อังกฤษ และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 112%, 62% แล ะ 28% ตำมลำดับ
  
 
 
 *รายงานฉบับสมบูรณ์ ดูได้จากตลาดหลักทรัพย์
 
 
 


สรุปเหตุการณ์สำคัญในไตรมาส 1/2565

 
1) การแพร่ระบาดของ COVID-19
ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำของประเทศ บริษัทได้ มุ่งมั่นร่วม มือกับภาครัฐอย่างเต็ม ที่ในการขับเคลื่อนมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม และรักษาผู้ป่วย COVID-19 โดยบริษัทมีการให้บริการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การให้บริการดูแลผู้ป่วยแบบ Home Isolation มีหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ หรือ Hospitel และหอ ผู้ป่วยเฉพาะ (Cohort ward)
 
2) การร่วมทุนกับบริษัทย่อยของบริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) (COM7)  บริษัทจะจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่งที่บริษัทถือหุ้น 100% จะถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว 60% คิดเป็นเงิน 120 ล้านบาท ส่วนบริษัทย่อยของ COM7 จะถือหุ้น 40% คิดเป็ นเงิน 80 ล้านบาทบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่นี้จะดำเนินธุรกิจร้านขายยาขนาดใหญ่ทั้งแบบ Standalone และในห้างสรรพสินค้า โดยคาดว่าจะเปิดดำเนินการภายในไตรมาส 4/2565
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด