ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

งบประมาณปี 2566 ฉบับประชาชน กับมิติด้านสุขภาพ สวัสดิภาพและสาธารณสุข

งบประมาณปี 2566 ฉบับประชาชน กับมิติด้านสุขภาพ สวัสดิภาพและสาธารณสุข Thumb HealthServ.net
งบประมาณปี 2566 ฉบับประชาชน กับมิติด้านสุขภาพ สวัสดิภาพและสาธารณสุข ThumbMobile HealthServ.net

งบประมาณฉบับประชาชน เป็นการนำเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีในรูปแบบที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ เพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การเป็นรัฐบาลที่โปร่งใส และมีความน่าเชื่อถือ และทิ้งท้ายด้วย "ประชาชนได้อะไรจากงบประมาณปี 2566" โดยในบทความนี้จะมุ่งพิจารณาในมิติที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ สุขภาวะ สวัสดิภาพและคุณภาพชีวิต ของประชาชนเป็นจุดหลัก

มองลงไปในงบประมาณประเทศไทยประจำปี 2566 ทั้งหมด และเลือกโฟกัสเฉพาะในมิติที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพ สุขภาวะ สวัสดิภาพและคุณภาพชีวิต อย่างครอบคลุมแล้ว จะพบว่ามีความเกี่ยวพันธ์ในทุกยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ที่ 1 - 6 ในประเด็นย่อยที่แตกต่างกันไป  ได้แก่
 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง เกี่ยวข้องกันในด้านยาเสพติด แรงงานการค้ามนุษย์ และการจัดการภัยพิบัติ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เกี่ยวข้องในด้านการท่องเที่ยว วิสาหกิจ และอุตสาหกรรม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่นี้เกี่ยวข้องโดยตรงในทุกด้าน ตั้งแต่ ระบบสุขภาพ บุคลากร บริการ เทคโนโลยี นวัตกรรม การส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาทักษะ และวิทยาการความรู้ 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันทางสังคมที่จำเป็น ได้แก่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม ความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม สวัสดิการด้านสังคม การดูแลผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกประเด็นเกี่ยวข้องกับสุขภาวะประชาชนโดยตรง
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ เป็นด้านที่ส่งผลต่อประชาชนในด้านความสะดวกจากระบบบริการภาครัฐ รัฐบาลดิจิทัล การต่อต้านทุจริตประพฤติมิชอบ และระบบกฏหมายกระบวนการยุติธรรม 
 
ไปไล่เรียงสำรวจกันทีละยุทธศาสตร์ ในแต่ละประเด็น

งบประมาณ ฉบับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 [PDF]

เอกสารงบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ฉบับนี้ได้นำเสนอ ข้อมูลงบประมาณตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีการนำเสนอข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ ประมาณการรายรับ แหล่งที่มาของรายรับ นโยบาย วงเงินและโครงสร้างงบประมาณ การจำแนกงบประมาณตามมิติต่าง ๆ รวมทั้งมีการนำเสนอ ข้อมูลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในหัวข้อ “ประชาชนได้อะไรจากงบประมาณปี 2566” -  สำนักงบประมาณ พฤษภาคม 2565

ดาวน์โหลด PDF


นโยบายการจัดทำงบประมาณ ปี 2566
“เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 มุ่งเน้น ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกันและความคุ้มครองทางเศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลและช่วยเหลือ จากสวัสดิการภาครัฐอย่างทั่วถึง เป็นธรรม เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง กระจายประโยชน์สู่ประชาชนทุกกลุ่ม กลุ่มฐานรากมีความเข้มแข็ง หลุดพ้น จากปัญหาความยากจนและพึ่งพาตนเองได้” โดยกำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้ 
1. น้อมนำแนวทางพระราชดำริ และ “หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง”
2. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนในระดับต่างๆ
3. ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหา ความยากจนแบบพุ่งเป้า
4. ส่งเสริม การกระจายอำนาจให้ อปท.
5. จัดทำงบประมาณ ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
6. ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง

ภาพรวมงบประมาณรายจ่าย และรายกระทรวง

มองย้อนกลับไปสักเล็กน้อยเพื่อให้เห็นตัวเลขงบประมาณภาพรวม ตั้งแต่ปี 2563 -2566 และรายกระทรวง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ

งบประมาณรายจ่าย
ปี 2566 จำนวน 3,185,000 ล้านบาท
ปี 2565 จำนวน 3,100,000 ล้านบาท
ปี 2564 จำนวน 3,285,962.48 ล้านบาท
ปี 2563 จำนวน 3,200,000 ล้านบาท

งบประมาณ กระทรวงสาธารณสุข 
ปี 2566 จำนวน 156,408.7 ล้านบาท (152,263.89)
ปี 2565 จำนวน 153,838.66 ล้านบาท
ปี 2564 จำนวน 145,802.31 ล้านบาท
ปี 2563 จำนวน 137,389.41 ล้านบาท
 
งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ
ปี 2566 จำนวน 325,900.2 ล้านบาท (327,374.72)
ปี 2565 จำนวน 330,426.59 ล้านบาท
ปี 2564 จำนวน 356,449.68 ล้านบาท
ปี 2563 จำนวน 367,744.72 ล้านบาท
 
งบประมาณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
ปี 2566 จำนวน 124,748.2 ล้านบาท (124,555.85)
ปี 2565 จำนวน 123,446.60 ล้านบาท
ปี 2564 จำนวน 128,127.02 ล้านบาท
ปี 2563 จำนวน 126,392.10 ล้านบาท

อ้างอิงจาก Thai PBO Dashboard 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง เกี่ยวข้องกับในด้านยาเสพติด แรงงานการค้ามนุษย์ และการจัดการภัยพิบัติ
 
ด้านยาเสพติด 
เป็นประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณ 4,187.5 ล้านบาท เพื่อมาดูแลทุกมิติ ตั้งแต่
 
1. การป้องกันและแก้ไขปัญหา  งบประมาณ 1,405.36 ล้านบาท จำแนกเป็น 
1.1 แก้ปัญหาในประชากรเป้าหมายที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด 80,000 คน  ใช้งบประมาณ 596.55 ล้านบาท
- จัดตั้งหมู่บ้านเข้มแข็ง 1,240 หมู่บ้าน ใช้งบประมาณ 145.7 ล้านบาท 
- รณรงค์ป้องกันยาเสพติดในเรือนจำ 142 แห่ง ใช้งบประมาณ 43.32 ล้านบาท
1.2 การเฝ้าระวัง สร้างภูมิคุ้มกันใกับวัยเสี่ยง 3-29 ปี 493,500 คน  ใช้งบประมาณ 254.85 ล้านบาท  และกลุ่มวัยรุ่นเยาวชน 120,000 คน  ใช้งบประมาณ 95 ล้านบาท
 
2. การปราบปราม  ใช้งบประมาณ 1,631.79 ล้านบาท ไปในกระบวนการ 
- ยุติบทบาทการค้ายาฯ จับกุม ยึด อายัดทรัพย์ เป้าหมายร้อยละ 50 ของเครือข่ายยาเสพติด  ใช้งบประมาณ 1,518.63 ล้านบาท
- ศึกษา ค้นคว้า ตัวอย่างการตรวจวิเคราะห์ทางห้องแลป จำนวน 80,000 ตัวอย่าง  ใช้งบประมาณ 83.96 ล้านบาท
- ตรวจสอบตัวยา เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นที่เป็นวัตถุเสพติดในสถานประกอบการ จำนวน 27,020 ราย  ใช้งบประมาณ 29.2 ล้านบาท
 
3. การบำบัด รักษา ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด
งบประมาณ 1,150.39 ล้านบาท 
3.1 การนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดและติดตาม ร้อยละ 60  ใช้งบประมาณ 422.09 ล้านบาท
 
 
สิ่งที่ประชาชนจะได้รับ 
- พื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติดจะได้รับการเสริมสร้างเป็นพื้นที่ปลอดภัย
- เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน ประชาชน มีความรู้ มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด
- ผู้ติดยาเสพติดเข้าถึงบริการการแพทย์และการบำบัดรักษา
- ผู้ผ่านการบำบัดได้รับการติดตาม ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ได้รับโอกาสในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 
 
ภาพรวมคือการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การส่งเสริมระบบอุตสาหกรรมและบริการที่เป็นระดับประเทศ ตั้งแต่โครงสร้างระบบถนน ระบบราง ระบบโลจิสติกส์ ทางน้ำ ทางอากาศ  เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต และการส่งเสริมวิสาหกิจ 
 
สำหรับระดับประชาชน ด้านที่ยุทธศาสตร์ตอบโจทย์ได้โดยตรงคือการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และด้านการเกษตร
 
ด้านการท่องเที่ยว  งบประมาณ 5,125.1 ล้านบาท
มุ่งไปที่ประเด็นการพัฒนาที่ตอบคำถามว่า "ประชาชนได้อะไร" ดังนี้
 
ได้รับความสะดวก ปลอดภัยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู
• เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 10 แห่ง
• เสริมชายหาดป้องกันการกัดเซาะ 3 แห่ง
• ติดตั้งทุ่นแพลอยน้ าฝั่งอ่าวไทย 2 จังหวัด / อันดามัน 2 จังหวัด / ทุ่นผูกเรือเพื่ออนุรักษ์แนวปะการัง 5 จังหวัด
• มีระบบปฏิบัติการฉุกเฉินที่ครบวงจรทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ 1 ระบบ
 
 
การท่องเที่ยววิถีชุมชนได้รับการพัฒนา
• จำนวนชุมชนที่ได้รับการผลักดันให้เข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 20 ชุมชน
• พัฒนาเส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 50 ชุมชน
• ชุมชนท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาศักยภาพ 50 ชุมชน
• พัฒนาและยกระดับชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย
50 ชุมชน มีผู้ประกอบการเข้าสู่มาตรฐาน 160 คน
• มีสินค้าและบริการที่สร้างสรรค์ใหม่ พร้อมเสนอขาย
25 รายการ
• สร้างชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองที่มีศักยภาพ
1 ชุมชน / 2 นวัตกรรม / ผู้ประกอบการเข้าเป็นสมาชิก
เพิ่มขึ้น 15 ราย
 
 
มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายกระจายตัวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง
• ก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อการท่องเที่ยว 231.771 กม.
• เตรียมความพร้อมเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ 2 เมือง ได้แก่ น่าน และสุพรรณบุรี
• เมืองในพื้นที่พิเศษได้รับการพัฒนาตามแนวทาง UNESCO 5 เมือง ได้แก่ สุโขทัย เลย ชลบุรี เชียงราย และเพชรบุรี
• แหล่งธรณีวิทยาได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว 9 แห่ง มีเป้าหมายผู้เยี่ยมชมไม่น้อยกว่า 70,000 ราย
• เพิ่มศักยภาพสวนพฤกษศาสตร์ระยอง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
 
 
นักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
• การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไมซ์ภายใต้รูปแบบกิจกรรม
7 Themes และยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ Product MICE Premium 2 เมือง
• ส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศโดยสร้างการรับรู้ประเทศไทย มีจ านวนการรับรู้แคมเปญ 1,080 ล้านคน/ครั้ง
• ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียน งานสัมมนาระดับนานาชาติ 4 งาน / งานที่กลุ่ม GMS เข้ามาจัดงานในไทย 8 งาน
 
ประชาชนและผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น
• ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีรายได้เพิ่มขึ้น 500 ราย
• พัฒนาเมืองท่องเที่ยว 10 เมือง รองรับการจัดงานท่องเที่ยวเชิงธุรกิจได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต พัทยา ชุมพร กระบี่ สุราษฎร์ธานี สงขลา และเมืองรองที่มีศักยภาพ
 
 
ประเทศได้อะไร
1. รายได้จากการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านล้านบาท
2. ขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยอยู่ในอันดับไม่ต่ ากว่า 1 ใน 30 ของโลก

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 2 ประเด็นหลัก
1. เสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี
2. พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้
 
 
1. เสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี
งบประมาณ 51,831.8 ล้านบาท
ประกอบด้วย 
 
1.1 การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ และเครือข่ายระบบสุขภาพ
ได้แก่
1.1.1 คลินิกหมอครอบครัว งบประมาณ 161 ล้านบาท - เพื่อเพิ่มจำนวนคลินิกหมอครอบครัว จากเดิม 3,000 ทีม เป็น 3,500 ทีม
1.1.2 สนับสนุนค่าป่วยการและพัฒนาศักยภาพ อสม. หมอประจำบ้าน รวม 1.05 ล้านคน งบประมาณ 12,613.74 ล้านบาท
1.1.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)  งบประมาณ 2,109.29 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาด้านสุขภาพเชิงรุก พัฒนา รพ.สต.ติดดาว 
 
 
1.2 พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์
1.2.1 ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข ใน 2 กระทรวงหลัก ได้แก่กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุดมศึกษา
 
กระทรวงสาธารณสุข  งบประมาณ 479.6 ล้านบาท สำหรับการ พัฒนาพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ เป้าหมายไม่น้อยกว่า 25,900 คน 
 
กระทรวงอุดมศึกษา  งบประมาณ 2,379.19 ล้านบาท สำหรับการ พัฒนาแพทย์และพยาบาล เป้าหมายไม่น้อยกว่า 4,900 คน
 
1.2.2 การกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท ให้เพียงพอในพื้นที่ห่างไกล 
ไม่น้อยกว่า 7,490 คน ด้วยงบประมาณ 1,889.64 ล้านบาท
 
 
 1.3 เสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพและบริการทางการแพทย์ครบวงจร 
 
1.3.1 พัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ในการวินิจฉัยและป้องกันโรค  งบประมาณ 329.47 ล้านบาท ในการ
- พัฒนาและยกระดับ การบริหารจัดการข้อมูลอ้างอิงทางห้องปฏิบัติการ
- บูรณาการฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ
 
1.3.2 พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ครบวงจรและระบบการส่งต่อ
- พัฒนาระบบบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ ระบบบริการ
- พัฒนาคุณภาพบริการการส่งต่อผู้ป่วยประสานกันเป็นเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
 
 
1.4 พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข
1.4.1 สมุนไพร กัญชา กัญชง 
ส่งเสริมการผลิตน้ำมันกัญชา สำหรับใช้ในโรงพยาบาลสังกัด กระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และขับเคลื่อนกัญชา กัญชง กระท่อม ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
 
1.4.2 เพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยและรักษา
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิตัลด้านสุขภาพทางการแพทย์เฉพาะทาง
- พัฒนาระบบรักษาพยาบาลทางไกล Telemedicine Telepharmacy Telenursing
 
 
 
 
2. พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้
งบประมาณ 51,153.5 ล้านบาท 
พัฒนาใน ด้าน 
2.1 ส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย 
2.2 พัฒนาการเรียนรู้และวิทยาการ
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด