Table of Contents
บทที่ 2 นโยบายไทยแลนด์ 4.0 กับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
ไทยแลนด์ 4.0 เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมขั้นสูง นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ของรัฐบาลไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ต้องการ ให้มีการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งประกอบ ด้วย
- ผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
- เปลี่ยนจากการขับเครื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ และ
- เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้จำ แนก อุตสาหกรรมของประเทศออกเป็น 3 กลุ่ม ตาม มูลค่าทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการเติบโตใน อนาคต ได้แก่
- กลุ่มที่ 1 กลุ่มอุตสาหกรรมต่อยอด First S-Curve เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่ง ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในการผลิต และเป็น อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง แต่จำ เป็น ต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีสมัย ใหม่ เพื่อช่วยให้เติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
- กลุ่มที่ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต New S-Curve เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตที่มีการ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้น และ มีศักยภาพในการเติบโตต่อไปในอนาคตสูง แต่ ัจจุบันยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มากนัก ผู้ ประกอบการมีจำ นวนไม่มากและยังขาดความ เข้มแข็ง จำ เป็นต้องมีการพัฒนาเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการกลุ่มนี้
- กลุ่มที่ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ควรปฏิรูป 2nd Wave S-Curve เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้ เทคโนโลยีแบบเดิมในการผลิต ความสามารถใน การเติบโตจำกัด และบางอุตสาหกรรมสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก จำ เป็นต้องมีการปฏิรูป อุตสาหกรรมใหม่ เพิ่มการใช้เทคโนโลยี ความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรม เพื่อให้อุตสาหกรรมใน กลุ่มนี้พัฒนาต่อไปได้
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) จัดอยู่ในกลุ่ม New S-Curve ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ประกอบด้วยการบริการทางการแพทย์ การแพทย์ทางไกลผ่าน ICT เพื่อการติดตาม ปรึกษา วินิจฉัยและรักษา การผลิตเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ การผลิตยา ยาประเภท ชีววัตถุต้นแบบ (Biologic) ชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar) และการผลิตยาสมุนไพร
ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ให้อยู่ภายใต้กลุ่มเทคโนโลยีและ นวัตกรรม (Core Technology) ด้านสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med) ซึ่งต้องผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) และเทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) ในการผลิตสินค้าและบริการสุขภาพ อาทิ ยา สมุนไพร อาหารเสริม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการบริการทางการ แพทย์และสาธารณสุข โดยแนวโน้มเทคโนโลยีใน กลุ่มนี้ ได้แก่ การสร้างอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ ระดับนาโน เทคโนโลยีการตรวจวัดสุขภาพผ่าน อุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Devices) การพิมพ์ แบบ 3 มิติ ซึ่งสามารถช่วยในการรักษาและฟืนฟู ้ อวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบ วงจรได้รับการส่งเสริมการ ลงทุนด้วยสิทธิประโยชน์สูงสุด
ภายใต้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจร (Medical Hub) ในฐานะอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้กำหนดสิทธิประโยชน์สำ หรับ กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว ดังนี้
- อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วน ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นเวลา 3 หรือ 8 ปี ตามระดับเทคโนโลยีของเครื่องมือแพทย์ และระดับความเสี่ยงของ เครื่องมือแพทย์
- การผลิตอาหารทางการแพทย์หรืออาหารเสริม ได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี
- กลุ่มกิจการผลิตยา ที่จากเดิมไม่ได้รับการยกเว้นภาษีให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี และหากโครงการใดที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี พ.ศ. 2560 จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี
- กลุ่มกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ จากเดิมที่กิจการในกลุ่มนี้ได้รับการส่งเสริมโดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปีอยู่แล้ว ได้เพิ่มเติมให้มีการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยที่ต้องการลงทุนผลิตเครื่องมือแพทย์ ในมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทย ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นอีก 2 ปี จากเกณฑ์ปกติ 5 ปี ซึ่งจะทำให้ได้รับการยกเว้นรวม 7 ปี
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ยังจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีสิทธิได้ รับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (EEC) โดยมีสิทธิที่น่าสนใจพอสรุปได้ดังนี้
- ได้รับการเพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ นิติบุคคลร้อยละ 50 อีก 5 ปี จากสิทธิพื้นฐานที่ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละประเภท กิจกรรมอยู่แล้ว
- ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายบูรณาการ เครื่องมือสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง การยกเว้นหรือลดข้อจำกัดด้านกฎระเบียบที่เป็น อุปสรรค เพื่อให้โครงการลงทุนภายใต้อุตสาหกรรม นี้เกิดขึ้นได้จริง
- ได้รับการช่วยอำนวยความสะดวกในพื้นที่ (One Stop Service)
นอกจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกโดยตรงแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้ดำเนินงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับจังหวัดฟุกุชิมา ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทยและญี่ปุ่น มุ่งเน้นการยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการ แพทย์ พร้อมกับได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ 3 ฝ่าย ประกอบด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องมือ แพทย์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือ แพทย์แห่งฟุกุชิมา (FMDIPA) เพื่อร่วมมือกันต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นให้มีมาตรฐาน เพื่อการขยายตลาดทั้งในประเทศไทย อาเซียน และญี่ปุ่น
การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรจะส่งผลให้พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นฐานการผลิตสำคัญ ของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะกลุ่มยาและเวชภัณฑ์ที่มีฐานมาจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นฐานการลงทุนของอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพอยู่แล้ว นอกจากนั้น พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกยังมีแผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับพื้นที่สามจังหวัดในภาคตะวันออกสู่การท่องเที่ยวระดับโลก รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และกลุ่มเชิงสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลงทุน สร้างโรงพยาบาลและสถานบริการด้านสุขภาพ ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดความต้องการกลุ่มสินค้าและบริการทางการแพทย์อันจะเป็นโอกาสสำคัญใน การจัดกิจกรรมไมซ์ ทั้งการประชุมวิชาการด้านการแพทย์และการแสดงสินค้าทางการแพทย์ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ "Medical Hub" ให้เป็น 1 ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยกำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนที่สำคัญของภาคเหนือ และเป็น "Super Cluster" เป้าหมายสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อผลักดันให้กลายเป็น “Medical Hub of Asia” หรือศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ มีฐานการผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ โดยมีสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจรเป็นอันดับ 10 ของประเทศ จังหวัดเชียงใหม่มีสถานบริการทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานมากกว่า 50 แห่ง โดยในแผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2558-2561 ได้มีการสำรวจพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้นำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่า 400 โรงงาน ประกอบกับการเป็นเมืองท่องเที่ยว จึงสามารถสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ได้ ปีละไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท โดยเฉพาะการให้บริการด้านทันตกรรม ศัลยกรรม และบริการทางด้านสุขภาพอื่นๆ ยกตัวอย่าง กรณี บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตฟันปลอม มีความต้องการฟันปลอม และเครื่องมือจัดฟันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่แหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย บริษัทจึงตัดสินใจเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นฐานการผลิตฟันปลอมและอุปกรณ์ทันตกรรม เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพทาง เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่มีชื่อเสียงด้านความถนัดและความประณีตด้านงานฝีมือ นักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมเข้ารับการรักษาและสถานพยาบาลได้รับรองมาตรฐาน การจัดการ ISO 9001 : 2008 และสิ่งแวดล้อม 14000 : 2004 เป็นพื้นฐานสำคัญของความยั่งยืนด้านการบริการทางการแพทย์