สิทธิประโยชน์ "การบำบัดทดแทนไต" ของระบบประกันสุขภาพ 3 กองทุน
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. (UCS)
- สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)
- สิทธิประกันสังคม (SSS)
1. ไตวายเฉียบพลัน
สปสช. (UCS)
- กรณีไตวายเฉียบพลันที่มีระยะเวลาในการรักษาไม่เกิน 60 วัน เป็นบริการกรณีค่าใช้จ่ายสูง สปสช. จ่ายชดเชยเป็นค่าล้างไตตามค่าใช้จ่ายจริง ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)
- การรักษาโรคไตทุกประเภท เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เบิกค่ารักษาได้ตามที่รพ. เรียกเก็บยกเว้นค่าอุปกรณ์เบิกได้ตามประเภทและอัตราที่กำหนด
สิทธิประกันสังคม (SSS)
- กรณีใตวายเฉียบพลันจ่ายตามประกาศกรณีฉุกเฉินภายในระยะเวลา 72 ชม. แยกตามประเภท รพ.รัฐ/รพ.เอกชน
2. การล้างไตผ่านอย่างต่อเนื่อง (CAPD)
สปสช. (UCS)
- การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD)
- สนับสนุนน้ำยาและเวชภัณฑ์โดยจัดส่งน้ำยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน คนละไม่เกิน 4 ถุงต่อวัน (*เกิน 4 ถุงต่อวัน ให้แจ้งมาที่สำนักงานเพื่อพิจารณาเพิ่มเป็นรายกรณี)
- สนับสนุนยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin)
- สนับสนุนสาย Tenckhoff catheter ให้กับผู้ปวยรายใหม่และรายที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยน โดยทั่วไปไม่เกิน 1 สาย/ราย/ปี (หากมีความจำเป็นเปลี่ยนเกินกว่ากำหนด ให้แจ้งมาสำนักงานเพื่อพิจารณา)
สิทธิประกันสังคม (SSS)
- การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD)
- ค่าน้ำยาไม่เกิน 20,000 บาท
- ค่าวางท่อพร้อมอุปกรณ์ใดไม่เกิน 20,000 บาท/ราย/2ปี หากจำเป็นสามารถยื่นเบิกได้-เพิ่มอีก 10,000 บาท
- รับบริการในรพ.หลัก/เครือข่าย ไม่มีการส่งน้ำยาไปที่บ้านผู้ป่วย
3. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD)
สปสช. (UCS)
- ค่าบริการให้หน่วยบริการ 1,500 บาท/ครั้ง หรือ 1,700 บาท (ตามสภาพผู้ป่วย)
- กรณีผู้ป่วยรายเท่าที่ทำ HD อยู่แล้วก่อน 1 ต.ค.2551 และไม่สมัครใจทำ CAPD สามารถทำ HD ต่อเนื่องได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- กรณีผู้ป่วยรายใหม่ไม่สมัครใจทำ CAPD และไม่เข้าเงื่อนไขตามความจำเป็นของการทำ HD หากประสงค์ทำ HD ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ยกเว้น ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (EPO) ใช้สิทธิได้
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)
- เบิกได้ครั้งละ 2,000บาท (เหมาจ่าย) ทั้งในรพ.รัฐ และเอกชน (รพ.เอกชน เฉพาะกรณีส่งตัวจากรพ.รัฐเท่านั้น)
สิทธิประกันสังคม (SSS)
- ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้งก่อนและหลัง จากเป็นผู้ประกันตน เบิกได้ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาท/ครั้ง และไม่เกิน 4,500 บาท/สัปดาห์
- ค่าเตรียมเส้นเลือด อัตรา20,000 บาท/ราย ในระยะเวลา 2 ปี
- ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ใช้สิทธิได้
4. ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (EPO)
สปสช. (UCS)
- ผู้ป่วย CAPD และ HD มีสิทธิได้รับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) เฉพาะชนิด Biosimilars ผ่านเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ (รพ.ราชวิถี) และสปสช. ชดเชยให้หน่วยบริการและสถานบริการ เป็นค่าบริการฉีดยาและค่าบริการอื่นๆ ครั้งละ 50 บาท หรือไม่เกินเดือนละ 200 บาท/ราย
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)
- ผู้ป่วย CAPD และ HD มีสิทธิได้รับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin)
- ชดเชยโดยเบิกจ่ายตรงหรือใช้ใบเสร็จตั้งเบิก ตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยมียากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ทั้งชนิด Prototypela และ Biosimilars
สิทธิประกันสังคม (SSS)
- ผู้ปวย CAPD และ HD มีสิทธิได้รับยากระตุ้นการผลิตเม็ดเลือด (Erythropoietin) จ่ายค่ายา Erythropoietin สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่มีภาวะซีดทั้งชนิด Prototype และ Biosimilars ตามประกาศราคากลางยา ในอัตราตั้งแต่ 750-1,125 บาท/สัปดาห์ และค่าฉีดยาเข็มละ 50 บาท/ครั้ง
5. การปลูกถ่ายไต(KT)
สปสช.(UCS)
- ให้สิทธิผู้ป่วยที่สามารถหาใสบริจาคได้โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าใช้จ่ายก่อนปลูกถ่ายไต
ผู้บริจาค
- ผู้บริจาคไตที่สมองตาย ค่าเตรียม และผ่าตัด ผู้บริจาคที่สมองตายเหมาจ่าย 40,000 บาท/ราย
- ผู้บริจาคใตมีชีวิต ค่าใช้จ่ายผู้บริจาคระหว่างเข้ารับการผ่าตัดเหมาจ่าย 32,800 บาท/ราย
ผู้รับบริจาค
- ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดเหมาจ่าย 31,300 บาท/ราย
- ค่าเตรียมผู้รับบริจาคระหว่างรอผู้บริจาคที่สมองตายทุก 3 เดือน/ครั้ง จ่ายครั้งละ 1,800 บาท
ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
- จ่ายตามความเสี่ยงตั้งแต่ Protocal-V โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่สุดคือ 143,000 บาท และสูงสุดคือ 292,000 บาท
- กรณีมีภาวะแทรกซ้อนจายตาม Protocal ทั้งสิ้น 7 Protocal โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่ 23,000-493,000 บาท
ค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
- ค่ายากดภูมิคุ้มกันและค่าติดตามผู้ปวยหลังออกจากโรงพยาบาล จ่ายอัตราเดียวกับสำนักงานประกันสังคม
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)
- ครอบคลุมค่าเตรียมผู้บริจาคไตที่มีชีวิต โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนและเบิกตามรายการค่าตรวจตามที่กำหนด
- ค่าผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคที่มีชีวิต และค่าปลูกถ่ายไต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษา ตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โดยอนุโลม ยกเว้น กรณีผ่าตัดนำไตออกจากผู้บริจาคโดยการใช้กล้อง (Laparoscopic Donor Nephrectomy) ให้เบิกเหมารวมตามจริง ไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีผู้รับบริจาคไตเกิดภาวะสลัดไต (Rejection) และจําเป็นต้องใช้ยา เช่น IVIG, Rituximab การใช้ยาให้เป็นไปตามข้อบ่งชี้ที่ประกาศกำหนด และเบิกจ่ายค่ายาได้ตามอัตราที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ
สิทธิประกันสังคม (SSS)
-ให้สิทธิผู้ป่วยที่สามารถหาไตบริจาคได้โดย สนับสนุนค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าใช้จ่ายก่อนปลูกถ่ายไต
ผู้บริจาค
- ผู้บริจาคไตที่สมองตาย ค่าเตรียม และผ่าตัด ผู้บริจาคที่สมองตายเหมาจ่าย 40,000 บาท/ราย
- ผู้บริจาคใตมีชีวิตค่าใช้จ่ายผู้บริจาคระหว่างเข้ารับการผ่าตัดเหมาจ่าย 32,800 บาท/ราย
ผู้รับบริจาค
- ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดเหมาจ่าย 31,300 บาท/ราย
- ค่าเตรียมผู้รับบริจาคระหว่างรอผู้บริจาคที่สมองตายทุก 3 เดือน/ครั้ง จ่ายครั้งละ 1,800 บาท
ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
- จ่ายตามความเสี่ยงตั้งแต่ Protocal-V โดยมีค่าใช้จ่าย เหมาจ่ายตั้งแต่สุดคือ 143,000 บาท และสูงสุดคือ 292,000 บาท
- กรณีมีภาวะแทรกซ้อนจ่ายตาม Protocal ทั้งสิ้น 7 Protocal โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่ 23,000-59,000 บาท
ค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ค่ายากดภูมิคุ้มกัน และค่าติดตามผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล ดังนี้
- เดือนที่ 1-6 จ่าย 30,000 บาท/เดือน
- เดือนที่ 7-12 จ่าย 25,000 บาท/เดือน
- ปีที่ 2 จ่าย 20,000 บาท/เดือน
- ปีที่ 3 เป็นต้นไป จ่าย 15,000 บาท/เดือน