คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เห็นชอบให้ "ขยายกลุ่มเป้าหมาย" ในการเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ฟรี อีก 3 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แออัด-เสี่ยงระบาดและกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ตามสถานการณ์ ทำให้ปัจจุบันมีกลุ่มเสี่ยงที่สามารถเข้ารับวัคซีนฟรีทั้งสิ้น 10 กลุ่ม
ปีงบประมาณ 2564 สปสช. ได้เตรียมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับให้บริการกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น 6.2 ล้านโดส
7 กลุ่มเสี่ยงเดิม
1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2.เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
3.ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด
4. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
7. โรคอ้วน (มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
เพิ่มเติม 3 กลุ่มเสี่ยงใหม่
1. บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19
2. กลุ่มที่อยู่สถานที่ที่มีการรวมตัวของประชากรจำนวนมากเสี่ยงต่อการระบาด(ทุกช่วงอายุ) เช่น ชุมชนแออัด โรงเรียน
3.กลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ขึ้นกับ สถานการณ์(ทุกช่วงอายุ)
การวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ vs วัคซีนโควิด
มีข้อกังวลสงสัยไม่น้อย ต่อการฉีดวัคซีนป้องไข้หวัดใหญ่ว่า ในระหว่างห้วงเวลาของการฉีดวัคซีนโควิดนั้น จะทำได้หรือไม่ และปลอดภัยเพียงใด สปชส.มีข้อสรุปชัดเจน 3 ข้อดังนี้
- ฉีดได้ทั้ง 2 ชนิด และจะฉีดชนิดใดก่อนก็ได้
- ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ได้
ประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ได้แก่ รพ.รัฐทุกแห่ง, รพ.สต. ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) ในพื้นที่และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมฯ (แนะนำให้โทรสอบถามล่วงหน้าก่อนไป)
สปชส.ขยายเวลาให้บริการถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564