ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

งานบริการผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน บริการทางการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ

งานบริการผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน บริการทางการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ HealthServ.net
งานบริการผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน บริการทางการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ThumbMobile HealthServ.net

บริการทางการแพทย์ ศูนย์และคลินิก งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ฝึกทักษะคนพิการบ้านวิถีชีวิตอิสระ งานดนตรีบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก คลินิกกิจกรรมบำบัด คลินิกกายอุปกรณ์ คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น คลินิกเดย์แคร์ คลินิกฝังเข็ม คลินิกแก้ไขการพูด อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูง

งานบริการผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน บริการทางการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ HealthServ
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (SNMRI - Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute) มีหน้าที่ให้บริการและพัฒนาระบบด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีของประเทศ โดยรองรับความต้องการของคนพิการและประชาชน และรวมถึงการเป็นสถาบันการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์


สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
กรมการแพทย์
88/26 หมู่4 ซอยติวานนท์ 14 ถนนติวานนท์
ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0-2965-9186, 0-2965-9187, 0-2965-9189
http://www.snmri.go.th/
https://www.facebook.com/snmri.official/


 

งานบริการผู้ป่วยนอก


งานบริการผู้ป่วยนอกเป็นหน่วยบริการทางคลินิกที่ให้บริการตรวจรักษา วินิจฉัย และประเมินความพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวเพื่อรับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยประเภทต่างๆ
 
เวลาทำการ
• สำหรับคลินิกในเวลา วันจันทร์–วันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.30 น.–12.00 น.
• ส่วนคลินิกนอกเวลา วันจันทร์–วันศุกร์ ระหว่าง เวลา 16.30–20.00 น. วันเสาร์–อาทิตย์ระหว่าง เวลา 08.00–12.00 น.
 
กลุ่มผู้รับบริการ
1. ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาการปวด ข้อยึดติด
2. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท เช่น อัมพาติจากเส้นเลือดสมองตีบ แตก ตัน
3. ผู้ป่วยที่มีภาวะไขสันหลังบาดเจ็บ เช่น อาการอ่อนแรงของแขนและขา หรือ ขาทั้งสองข้าง
4. ผู้ป่วยเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
5. ผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะ แขนขาขาด ตั้งแต่กำเนิดและภายหลัง


ในเวลาราชการ
วันจันทร์–วันศุกร์
เวลา 07.30 น.–12.00 น.
 
นอกเวลาราชการ
วันจันทร์–วันศุกร์
เวลา 16.30–20.00 น.
วันเสาร์–อาทิตย์
เวลา 08.00–12.00 น.
 
0-2965-9186
0-2965-9187
0-2965-9189
ต่อ 6705 , 8916
วันจันทร์ – ศุกร์
เวลา 13.00-15.00 น.
 
สำรองคิวตรวจ
064-979-3198


งานบริการผู้ป่วยใน

 
ให้บริการที่พักเพื่อผู้ป่วย / ผู้พิการที่ยังมีศักยภาพให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเข้มข้น จากสหวิชาชีพ และให้ญาติมีโอกาสได้เรียนรู้การดูแล ช่วยเหลือผู้ป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ถูกขั้นตอนเหมาะสมกับผู้ป่วย / ผู้พิการแต่ละราย จากบุคลากรของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟู ฯ (มิใช่การพักฟื้น หรือการพยาบาลดูแลระยะยาว)
 
กลุ่มผู้รับบริการ
ผู้ป่วยและผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เป็นสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมอง (CVA, Hemiplegia) ไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal injury)
เด็กสมองพิการ (Cerebral palsy) ผู้พิการแขนขาขาด (Amputation) และผู้ป่วยที่มีอาการปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ (Musculoskeletal pain)
 
ขั้นตอนการรับบริการภายใน
1. พบแพทย์ในเวลาราชการที่บริการผู้ป่วยนอกเพื่อตรวจประเมินศักยภาพของผู้ป่วย/ผู้พิการ ว่าเหมาะสม หากยังไม่เหมาะสม อาจให้โปรแกรมการฝึกที่บ้าน
2. หากมีที่พักว่างสามารถเข้าพักได้ในวันนั้น
3. หากไม่มีจะนัดหมาย หรือติดต่อกลับในภายหลัง
 
ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับบริการ
1. ต้องเตรียมญาติหรือผู้ดูแลอยู่ด้วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้เฝ้าไม่ควรเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือผู้สูงอายุ
2. เตรียมยาประจำของผู้ป่วยมาอย่างน้อย 42 วัน (ขณะนอนโรงพยาบาลจะไม่อนุญาตให้ไปตรวจตามนัดเดิม)
3. เตรียมเอกสารสิทธิการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วย
หมายเหตุ :
– กรณีที่ผู้ป่วย/ผู้พิการ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จำเป็นต้องมีญาติหรือผู้ดูแลอยู่ด้วยตลอด 24 ชั่วโมง
– ญาติหรือผู้ดูแลของหอผู้ป่วยหญิง (เตียงสามัญ) ต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้น
 
 
เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน
กำหนดการเยี่ยมคนไข้
ในเวลาราชการ :
8.00 – 16.00 น.
นอกเวลาราชการ :
16.00 – 20.00 น.
 
0-2965-9186
0-2965-9187
0-2965-9189
หอผู้ป่วยชาย ต่อ 6850
หอผู้ป่วยหญิง ต่อ 6851
หอผู้ป่วยพิเศษ ต่อ 6918 , 6919
งานบริการผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน บริการทางการแพทย์ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ HealthServ


นัดหมายล่วงหน้า แน่นอน ปลอดภัยไม่แออัด ประหยัดเวลา  ยังไม่ต้องเดินทาง


สถาบันฯ แนะนำ ให้ผู้ป่วย/ผู้ที่จะใช้บริการ ทำการนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในหลายด้าน ทั้งกับตัวผุ้รับบริการ/ผู้ป่วยเอง เพื่อลดระยะเวลาการอยู่ในสถานพยาบาลและลดความแออัด
 
และกับทีมงานเจ้าหน้าที่ เพื่อการวางแผนการให้บริการ 


งานบริการผู้ป่วยนอกจึงขอปรับระบบการให้บริการคลินิกนอกเวลาและคลินิกในเวลา

 
ข้อ 1
ผู้ป่วยที่ต้องการพบแพทย์ ให้ทำการนัดพบแพทย์ล่วงหน้าโดยยกเลิกการหยิบบัตรคิวพบแพทย์ ที่งานเวชระเบียนหรือมาพบแพทย์โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า
 
ข้อ 2
สามารถนัดพบแพทย์ล่วงหน้า โดยผ่านดังนี้
- ทางไลน์ (Line ID) : 025915455
- ทางโทรศัพท์ : 064-979-3198
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 13.00 น. - 15.00 น.
(ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
- ทางอีเมล (E-mail) : snmri.opd@gmail.com
 
ข้อ 3
ยื่นใบนัดพบแพทย์ ก่อนเวลานัด 15 นาทีเท่านั้น
ผู้ป่วยที่มาก่อนเวลานัดมากกว่า 15 นาทีให้รอบริเวณที่จัดให้
 
ข้อ 4
ให้มีผู้ติดตาม ผู้ป่วยเข้ามาในบริเวณที่รอซักประวัติหรือพบแพทย์ได้เพียง 1 ท่าน เท่านั้น 


 

บริการทางการแพทย์

  • ศูนย์และคลินิก
  • งานบริการผู้ป่วยนอก
  • งานบริการผู้ป่วยใน
  • ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ
  • ฝึกทักษะคนพิการบ้านวิถีชีวิตอิสระ
  • งานดนตรีบำบัด
  • คลินิกกายภาพบำบัด
  • คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
  • คลินิกกิจกรรมบำบัด
  • คลินิกกายอุปกรณ์
  • คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น
  • คลินิกเดย์แคร์
  • คลินิกฝังเข็ม
  • คลินิกแก้ไขการพูด
  • อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูง
ข้อมูลบริการของสถาบัน

สิทธิสวัสดิการการรักษา และค่าใช้จ่าย 


สถาบันฯ กำหนดการให้บริการกับสิทธิต่างๆ และการคิดค่าใช้จ่ายดังนี้

1. สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมด
 
2. สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีหนังสือส่งตัว
ชำระค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนเกิน
 
3. สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้พิการ (ท74) และ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทหารผ่านศึก (ท75)
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
(ยกเว้นค่าบริการที่อยู่นอกสิทธิและคลีนิคนอกเวลาราชการ) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
4. สิทธิประกันสังคม
ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมด
กรณีรับบริการกายอุปกรณ์ และอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ นำใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์ ไปยื่นเรื่องเบิกเงินคืนตามสิทธิ จากประกันสังคมเขตพื้นที่ที่มีสิทธิ
 
5. สิทธิประกันสังคม มีหนังสือส่งตัว
ชำระค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนเกิน

6. สิทธิประกันสังคม กรณีทุพพลภาพ
ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมด
สามารถยื่นเรื่องเบิกเงินคืนได้ตามสิทธิ จากหน่วยงานต้นสังกัด กรณีหน่วยงานเบิกกับกรมบัญชีกลาง ขอรับบริการอุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้องเบิกผ่านระบบจ่ายตรงเท่านั้น
 
7. สิทธิเบิกต้นสังกัด กรมบัญชีกลาง/องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวใช้บัตรประชาชน ยื่นใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาประเภทผู้ป่วยนอก ณ สถานพยาบาลที่เข้าร่วม
สำหรับผู้มีสิทธิที่ยังไม่มีหรือไม่สามารถมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ตามกฏหมาย ก็สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงได้ โดย
1. กรณีมีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนของเด็กที่ปรากฏอยู่ในสูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน(ของเด็ก) ยื่นร่วมกับบัตรประชาชนของผู้ดูแลที่พาเด็กไปโรงพยาบาล
2. กรณีคู่สมรส หรือบิดามารดาของผู้มีสิทธิไม่มีสัญชาติไทย แต่มีเลขประจำตัวคนต่างด้าว 13 หลัก ให้ใช้บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือทะเบียนบ้านได้ แต่ถ้าไม่มีเลขประจำตัวคนต่างด้าว 13 หลัก ให้ใช้รายงานทะเบียนประวัติ ที่มีเลข 12 หลัก ขึ้นต้นด้วยตัว B โดยขอรับเอกสารได้จากนายทะเบียนต้นสังกัดของผู้มีสิทธิ
3. กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยติดเตียงและไม่สามารถมาแสดงตนได้ ให้ผู้ดูแลนำบัตรของผู้มีสิทธิพร้อมแสดงบัตรประชาชนของผู้ดูแลเพื่อใช้สิทธิ
4. กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่เป็นผู้สูงอายุหรือมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ที่เข้ารับการรักษาเสร็จแล้ว แต่ไม่สะดวกในการทำธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถให้ผู้ดูแลนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิพร้อมแสดงบัตรประชาชนของผู้ดูแลเพื่อใช้สิทธิ
ทั้งนี้ หากบุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิไม่สะดวกพกเอกสารดังกล่าว ผู้มีสิทธิสามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กับนายทะเบียนที่หน่วยงานของตนได้

หมายเหตุ**
: กรณีมีบัตรประจำตัวคนพิการ ต้องใช้สิทธิการรักษาที่ติดตัว
: ค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนเกิน หมายถึง ค่ารักษาที่เบิกไม่ได้ตามสิทธิ เช่น ยานอกบัญชี เป็นต้น


 

แนวทางการขอรับอุปกรณ์และเครื่องช่วยคนพิการของผู้มีบัตรคนพิการตามสิทธิการรักษา

1. สิทธิบัตรทองผู้พิการ (ท.74)
สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขและอุปกรณ์เครื่องช่วยตามความพิการ ของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ ผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) และมีบัตรประจำตัวผู้พิการแล้ว จะต้องเปลี่ยนเป็นสิทธิบัตรทองผู้พิการ จึงจะสามารถใช้สิทธิได้ โดยสามารถยื่นบัตรประจำตัวผู้พิการ เพื่อเปลี่ยนสิทธิ ได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐ ทั้งนี้ปฏิบัติตามระเบียบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
2. สิทธิประกันสังคม
ผู้ที่ใช้สิทธิประกันสังคม ที่ขอรับกายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยความพิการ ต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง ตามประกาศ พรบ.ประกันสังคม แล้วนำใบเสร็จพร้อมใบรับรองแพทย์ ยื่นสำนักงานประกันสังคมเพื่อเบิกเงินคืน
 
3. สิทธิเบิกหน่วยงานต้นสังกัด
ผู้ที่ใช้สิทธิเบิกหน่วยงานต้นสังกัด ที่ขอรับกายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยความพิการ ต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง ในส่วนที่เบิกได้ตามสิทธิการรักษา และเบิกเงินคืนตามระบบของหน่วยงาน
ผู้ที่ใช้สิทธิเบิกกรมบัญชีกลาง และข้าราชการพนักงาน
ส่วนท้องถิ่น ในการขอรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะต้องเบิกผ่านระบบโครงการจ่ายตรงเท่านั้น
 
*หมายเหตุ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินของทุกสิทธิการรักษาต้องชำระเงินเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด