ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

SHAWPAT หนุนกฏหมายติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ AED ในอาคารสูงและพื้นที่สาธารณะ

SHAWPAT หนุนกฏหมายติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ AED ในอาคารสูงและพื้นที่สาธารณะ Thumb HealthServ.net
SHAWPAT หนุนกฏหมายติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ AED ในอาคารสูงและพื้นที่สาธารณะ ThumbMobile HealthServ.net

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (SHAWPAT) จับมือภาครัฐฯ และเอกชน จัดงานเสวนา ยกระดับสังคมที่ปลอดภัย เพื่อผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน สนับสนุนการติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ในอาคารสูงและพื้นที่สาธารณะตามกฎหมายใหม่

 
 
 
กรุงเทพฯ 26 กรกฎาคม 2565 – สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (SHAWPAT) จัดงานเสวนาพิเศษหัวข้อ "สังคมที่ปลอดภัย เพื่อผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยในที่สาธารณะและสถานที่ทำงานในกรณีที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ตลอดจนให้ความรู้แก่องค์กรและบริษัทในประเทศไทยเกี่ยวกับความสำคัญของเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) และการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมให้แก่คนไทย พร้อมตัวแทนจากภาครัฐฯ อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมโยธาธิการและผังเมือง และภาคเอกชนได้แก่ บริษัท สยามสินธร จำกัด บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และบริษัท เจี่ยรักษา จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์และเครื่อง AED ชั้นนำในประเทศไทย ร่วมพูดคุยเสวนาเพื่อตอกย้ำความสำคัญของมาตรการป้องกันและส่งเสริมความปลอดภัยในพื้นที่ต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อหัวใจและเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานเมื่อเกิดเหตุภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
 
 

 

แนวทางสู่สภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยในที่สาธารณะและสถานที่ทำงาน 

 
ประเด็นเรื่องสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในที่ทำงานและในที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เป็นหัวข้อสำคัญที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในสังคมไทยมากขึ้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับชีวิตและความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ตามรายงานของวารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนธันวาคมปี 2564 ที่ผ่านมา ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (OHCA: Out-of-hospital cardiac arrest) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีอัตราการเกิดโดยเฉลี่ย 55 คน ใน 100,000 คนต่อปี ซึ่งถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ นอกจากนี้ ความปลอดภัยของสถานที่ทำงานก็เป็นหนึ่งในหัวใจหลักที่องค์กรทั่วโลกต้องคำนึงถึง องค์กรจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อรับรองสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยให้แก่พนักงาน ซึ่งในที่นี้รวมถึงแผนการสื่อสาร
 
 
 
ด้าน พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเสริมว่า "อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจของคนไทย อยู่ที่ประมาณ 60,000 คนต่อปี ซึ่งผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและทันท่วงที ประชาชนทุกคนต้องสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือ 1669 ทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) เข้าถึงและใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติหรือ AED ได้อย่างเหมาะสม ภายใน 3-5 นาทีแรกเมื่อจำเป็นต้องใช้ จะสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ถึงร้อยละ 75 จึงจำเป็นต้องมีการสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร บริษัท หรือ สถานประกอบการ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร จัดหาอุปกรณ์ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อพนักงานและทุกคนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ใช้พื้นที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องรู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยไม่สูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารและมีกิจกรรมทางกายที่พอเหมาะพอดี จิตใจแจ่มใส และ ตรวจสุขภาพประจำปีด้วย"
 
 
 
 

ทำไมเครื่อง AED จึงมีความสำคัญต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย 


งานวิจัยหลายฉบับแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยต่างๆ อย่างการช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR ไปจนถึงสถานที่ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เวลาตอบสนองในการช่วยเหลือที่ช้าหรือเร็ว เวลาเกิดเหตุ เวลาในการเดินทางไปยังโรงพยาบาล และการใช้เครื่อง AED ล้วนเป็นตัวชี้วัดอัตราการรอดชีวิต ซึ่งรัฐบาลไทยเห็นด้วยกับเรื่องนี้ สอดคล้องไปกับ กฎกระทรวงฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ "ระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอย่างอื่น"  ที่เป็นสาระสำคัญหลายประการ อาทิ 


  • อาคารสูงต้องจัดให้มีช่องทางเฉพาะส าหรับบุคคลภายนอกเข้าไปบรรเทาสาธารณภัย ที่เกิดในอาคารได้ทุกชั้น ช่องทางเฉพาะนี้จะเป็นลิฟต์ดับเพลิงหรือช่องบันไดหนีไฟก็ได้และทุกชั้น ต้องจัดให้มีห้องว่างที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 6.00 ตารางเมตร มีด้านแคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร ติดต่อกับช่องทางนี้ และเป็นบริเวณที่ปลอดจากเปลวไฟและควันเช่นเดียวกับช่องบันไดหนีไฟและ เป็นที่ตั้งของตู้หัวฉีดน้ าดับเพลิงประจำชั้นของอาคาร
  • อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับยานพาหนะ ในการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอย่างอื่น ได้แก่
  • สำหรับรถดับเพลิง อย่างน้อย 1 คัน บรถพยาบาลหรือรถปฏิบัติการฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน อย่างน้อย 1 คัน ต้องดูแลพื้นที่ให้รถเข้าถึงได้สะดวกตลอดเวลาโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
  • อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่เป็นอาคารสาธารณะต้องจัดให้มีพื้นที่หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ AED
  • เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ AED ต้องมีมาตรฐานตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินประกาศกำหนด
  • ลิฟต์โดยสารที่ใช้กับอาคารสูงให้มีขนาดมวลบรรทุกไม่น้อยกว่า 630 กิโลกรัม
  • อาคารสูงต้องจัดให้มีลิฟต์ดับเพลิงอย่างน้อยหนึ่งชุด
  • อาคารที่มีความสูง 4 ชั้นขึ้นไป ต้องจัดให้มีลิฟต์เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยหรือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างน้อยหนึ่งชุด

 
           กฏกระทรวงฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

 
SHAWPAT หนุนกฏหมายติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจ AED ในอาคารสูงและพื้นที่สาธารณะ HealthServ
 

องค์กรควรมีความพร้อม



ดร. ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ  และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสาธารณสุขรัฐสภา สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า "องค์กรต่างๆ ควรมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เกี่ยวกับการสื่อสารด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากการมีแผนการที่ดีจะช่วยดูแลป้องกันสุขภาพ สร้างความปลอดภัยและสวัสดิภาพที่ดีให้แก่พนักงานได้ โดยในการเตรียมตัวรับมือกับภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันนั้น แนวทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยขององค์กร ควรประกอบด้วยโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหรือกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้แก่พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติอย่างเป็นประจำ เพื่อให้เกิดทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) แก่ผู้ป่วย รวมไปถึงเรียนรู้วิธีการใช้การใช้เครื่องกระตุกหรือกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) อย่างปลอดภัยและถูกต้อง จะช่วยสะท้อนความมุ่งมั่นขององค์กรในการปกป้องชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ องค์กร และชุมชนของสังคมไทยได้อีกทางหนึ่ง"  
 
 
 
 

ความสำคัญของกฏหมาย


 
ดร.ธนิต ใจสอาด วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า "เครื่อง AED ที่พร้อมใช้งานและเข้าถึงได้ง่ายจะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยสาธารณะสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการติดตั้งเครื่อง AED ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารที่เป็นสาธารณะถึงสำคัญมาก โดยอาคารเหล่านี้ต้องจัดให้มีพื้นที่หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่ภายในตัวอาคารที่เข้าถึงได้ง่าย มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่มีคนเดินสัญจรผ่านบ่อยๆ หรือพื้นที่ที่ใกล้กับอุปกรณ์ฉุกเฉินที่มีอยู่ เช่น ถังดับเพลิงและชุดปฐมพยาบาล หากเป็นการติดตั้งเครื่อง AED ในที่ทำงาน พนักงานควรได้รับแจ้งเกี่ยวกับตำแหน่งของเครื่อง AED ด้วย ในขณะเดียวกัน การติดตั้งเครื่อง AED ไว้ตรงตำแหน่งตรงกลางหรือจุดเด่นในพื้นที่จะช่วยให้ทุกคนคุ้นเคยกับการเห็นเครื่องนี้และทราบทันทีว่าจะหาเครื่อง AED ได้ที่ไหนในกรณีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรายละเอียดของเครื่อง AED จำนวน ตำแหน่ง และระบบการติดตั้งเครื่อง AED ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสาธารณะได้มีกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนอกสถานพยาบาล ของคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน"
 
 
 

คุณสมบัติของเครื่อง AED ที่เหมาะสม


 
ด้าน คุณสมชาย แซ่เจี่ย บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์และเครื่อง AED ชั้นนำในประเทศไทย ได้กล่าวเสริมถึงปัจจัยและคุณสมบัติของเครื่อง AED ที่เหมาะสมที่องค์กรต่างๆ ควรพิจารณาก่อนติดตั้ง ได้แก่ "ต้องคำนึงถึงความง่ายต่อการใช้งาน เครื่อง AED ต้องสามารถแสดงผลลัพธ์การช่วยชีวิตแบบ CPR ด้วยภาพและเสียงคำแนะนำที่เข้าใจง่าย โดยเฉพาะเวลาแนะนำน้ำหนักและความถี่ในการกดหน้าอกผู้ป่วยที่เหมาะสม นอกจากนี้ เครื่อง AED ต้องสะดวกต่อการจัดเก็บและติดตั้งในตำแหน่งเหมาะสมทั่วทั้งอาคาร ทั้งยังต้องมีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก และสามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้ โดยจำนวนเครื่อง AED ที่ควรติดตั้งนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ในการใช้งาน เพื่อให้ถึงผู้หมดสติ เร็วที่สุด ภายในระยะเวลาที่กำหนด"


ทั้งนี้  ในราชกิจจาฯ  ได้กำหนดรายละเอียดของเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED) ไว้ดังนี้

1) ตัวเครื่องมีลักษณะการท างานแบบอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ และมีปุ่มส าหรับปล่อย พลังงานไฟฟ้า

(2) ตัวเครื่องสามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้เองโดยอัตโนมัติ โดยมีพลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม ส าหรับเด็ก 50 จูล และส าหรับผู้ใหญ่ไม่น้อยกว่า 120 จูล

(3) ตัวเครื่องพร้อมท าการปล่อยพลังงานไฟฟ้า ภายหลังการเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในระยะเวลาไม่เกิน 10 วินาที

(4) ตัวเครื่องสามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

(5) ตัวเครื่องสามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

(6) ตัวเครื่องมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์



ตำแหน่งและจำนวนการติดตั้งเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED) นอกสถานพยาบาล จะต้องคำนึงถึงการเข้าถึงและนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินหัวใจหยุดเต้นได้ภายในระยะเวลา 4นาที นับตั้งแต่พบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น

การติดตั้งเครื่อง จะต้อง
  • อยู่ในจุดที่สังเกตได้ง่ายมองเห็นได้ในที่มืด
  • จุดติดตั้งต้อง อยู่ในจุดที่ปลอดภัยสูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร
  • เข้าถึงและนำมาใช้งานได้สะดวก ไม่เป็นอันตราย แก่ผู้นำไปใช้งาน
  • มีที่จัดเก็บซึ่งเป็นตู้หรือแขวนผนัง
  • กำหนดให้มีสัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องหมายสากลในจุดที่ติดตั้ง
  • มีป้ายบอกทางไปยังจุดของตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่อง
  • กำหนดขั้นตอน วิธีการช่วยเหลือฉุกเฉิน
 


ทั้งนี้ให้มีการบำรุงรักษาเครื่อง การตรวจเช็คตามระยะ การซ่อมบำรุง ให้เครื่องมีความพร้อม ในการใช้งานได้ตลอดเวลา และมีคู่มือตรวจสอบได้

 
 

สยามสินธร เอกชนต้นแบบใช้ AED

 
นายเทอดศักดิ์ มีแสง บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สยามสินธร ยังได้กล่าวถึงแนวทางยกระดับสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัย รวมถึงมาตรการด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยในสภาวะฉุกเฉินทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยเป็นลม จนถึงผู้ป่วยที่หมดสติว่า "ทุกอาคารของสยามสินธรมีการติดตั้งเครื่อง AED และมีการพัฒนาบุคคลากรด้านการแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่เซฟตี้ของสยามสินธร ได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร EMR ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ซึ่งได้มีการถ่ายทอดความรู้ในกับบุคคลากรในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน แม่บ้าน รปภ. คนสวน โดยมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้และซักซ้อมแผนการช่วยเหลือ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ เนื่องจากมีผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง และพนักงานของบริษัทเช่าในอาคารสินธร ที่เป็นผู้พิการ ทั้งนี้ เรามีการกำหนดจุดเซฟโซน (SAFE ZONE) และประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และมีการซักซ้อมแผนกันเป็นประจำตามนโยบายของผู้บริหารที่เน้นย้ำและให้ความสำคัญ ทั้งยังรวมถึงการออกให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องต้องมีการทำ CPR ตามที่ได้รับการร้องขอของประชาชนในละแวกใกล้เคียง"
 
 
 
 
 
 
 
เกี่ยวกับสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์
 
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ เป็นองค์กรที่มีพันธกิจในการส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน ทั้งด้านการรณรงค์ส่งเสริม เสริมสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน รวมไปถึงการส่งเสริมความร่วมมือ ประสานงาน และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน สถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานและนอกงาน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด