ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

"ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ" แผนลดอุบัติเหตุ ปีใหม่-สงกรานต์ 2566

"ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ" แผนลดอุบัติเหตุ ปีใหม่-สงกรานต์ 2566 Thumb HealthServ.net
"ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ" แผนลดอุบัติเหตุ ปีใหม่-สงกรานต์ 2566 ThumbMobile HealthServ.net

ครม.มีมติรับทราบ แผนรณรงค์ "ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ" ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลและช่วงวันหยุด พ.ศ. 2566 เริ่มดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

 
ทั้ง 2 แผนมีรายละเอียดดังนี้

 

1. แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พ.ศ. 2566

ชื่อในการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ”
 
เป้าหมายการดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนเดินทางอย่างสุขใจกับชีวิตวิถีใหม่ ที่ห่างไกลอุบัติเหตุใน ช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พ.ศ. 2566
 
แนวทางการดำเนินการ
 
เทศกาลปีใหม่
ช่วงรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ 1 - 21 ธันวาคม 2565
ช่วงดำเนินการ 22 ธันวาคม 2565 - 11 มกราคม 2566
 
เทศกาลสงกรานต์
ช่วงรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ 1 มีนาคม - 3 เมษายน 2566
ช่วงดำเนินการ 4 - 24 เมษายน 2566
 


มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุ

แผนนี้ กำหนด 5 มาตการ ดังนี้
 
1) ด้านการบริหารจัดการ เช่น
  • จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ระดับส่วนกลาง จังหวัด กรุงเทพมหานคร อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 
  • การลดปัจจัยเสี่ยงโดยดำเนินการมาตรการเชิงรุก ได้แก่ การประชาคมชุมชน/หมู่บ้าน มาตรการเคาะประตูบ้าน ด่านครอบครัว ด่านชุมชน และการจัดกิจกรรมทางศาสนา “1 อำเภอ 1 กิจกรรม”
 

2) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม เช่น
  • สำรวจ ตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจุดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ และปรับปรุงแก้ไขให้มีความปลอดภัย
  • จัดทำแผนอำนวยความสะดวกการจราจร
 

3) ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ เช่น
  • กำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถโดยสาร และพนักงานประจำรถให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัด และการตรวจสอบสภาพรถตามที่กฎหมายกำหนด
  • เข้มงวด กวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน และรถบรรทุกขนาดเล็กที่บรรทุกผู้โดยสารในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย
  • เข้มงวดกับรถตู้ส่วนบุคคลหรือรถเช่าของผู้ประกอบการธุรกิจให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย
 

4) ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เช่น
  • บังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง
  • ดำเนินการตามมาตรการ “ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์” อย่างเข้มข้นภายใต้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว ทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต และ
  • รณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่แนวทางความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในชุมชน/หมู่บ้าน และสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลในพื้นที่ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ หอกระจายข่าว เสียงตามสาย และวิทยุชุมชน
 

5) ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ เช่น
  • จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน
  • การแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน  
 
 
 

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน


กำหนดไว้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับภาพรวม ระดับหน่วยงาน และระดับพื้นที่ วัดที่จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต 
 

1. ระดับภาพรวม
เช่น จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง และจำนวนผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง
 
2. ระดับหน่วยงาน
เช่น จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เกิดบนถนนในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงเทศกาลปีใหม่ ย้อนหลัง 3 ปี และจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉลี่ยน 3 ปีย้อนหลัง
 
3. ระดับพื้นที่
เช่น จำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ที่เป็นเด็กและเยาวชน (เฉพาะผู้ขับขี่) ที่มีพฤติกรรมดื่มแล้วขับลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่ เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง และจำนวนผู้เสียชีวิตในอำเภอเสี่ยงที่เป็นสีแดง ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงเทศกาลสงกรานต์ ย้อนหลัง 3 ปี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด