ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การเปลี่ยนหัวใจ ไม่ง่ายเหมือนเปลี่ยนแรม - หมอเวร

การเปลี่ยนหัวใจ ไม่ง่ายเหมือนเปลี่ยนแรม - หมอเวร HealthServ.net
การเปลี่ยนหัวใจ ไม่ง่ายเหมือนเปลี่ยนแรม - หมอเวร ThumbMobile HealthServ.net

เพจหมอเวร อุทิศพื้นที่ 1 โพสต์เพื่อสยบเรื่องข่าวลือที่ไม่สมเหตุสมผลในมุมมองทางการแพทย์
และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวการเปลี่ยนอวัยวะ ได้อธิบายว่าการเปลี่ยนอวัยวะนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหรือทำได้รวดเร็วไวทันใจเหมือนการเปลี่ยนชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์แบบนั้น แต่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีปัจจัยหลายประการที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อ่านที่หมอเวรอธิบายแล้วจะเห็นภาพและเข้าใจได้ทันที

จากข่าวอาการพระประชวรของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา ที่แพร่สะพัดตั้งแต่เมื่อคืนก่อน จนมีข่าวลือต่างๆ มากมาย หมอเวรอ่านดูแล้วก็เห็นว่าบางเรื่องที่ลือกันอาจไม่สมเหตุสมผลในมุมมองทางการแพทย์เท่าไหร่ โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนอวัยวะและพาดพิงไปยังผู้บริจาครายหนึ่ง จริงๆ จะเขียนตั้งกะเมื่อวานแล้ว แต่ติดงานเลยขอรวบยอดมาเป็นวันนี้แทนแล้วกัน

คืองี้ บางคนอาจมีภาพจำจากการดูหนังดูละคร แล้วคิดว่าการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ และรวดเร็วทันใจ ประหนึ่งการเปลี่ยนแรมนั้น ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น แค่ต่อเส้นประสาทและเส้นเลือดต่างๆ ก็ว่าเหนื่อยแล้ว ไหนจะต้องดูความเข้ากันของเนื้อเยื่อของผู้รับและผู้ให้ว่ามันเข้ากันได้ไหม ฉะนั้นการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเนี่ย ต่ำๆ ทำกันทีนึงต้องมีโดนเป็นครึ่งวันอ่ะ อาจสัก 5-7 ชั่วโมงได้เลย
 
ถ้านั่นคิดว่าการผ่าตัดยากแล้ว การจะได้หัวใจมาซักดวงนึงเพื่อรอเปลี่ยนมันยากยิ่งกว่า เพราะการหาคนที่เข้ากันได้จริง ๆ มันไม่ใช่เรื่องง่ายนะ บางคนคิดว่าแค่ตรวจว่ากรุ๊ปเลือดตรงกันแล้วจะเปลี่ยนได้เลยเนี่ย มันไม่พอหรอก ต้องมีการตรวจความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อและอะไรเยอะะแยะ กว่าจะได้เป๊ะจริงๆ มันเป็นอะไรที่ยากมาก เผลอๆ บางคนขนาดเป็นพี่น้องกัน เลือดกรุ๊ปเดียวกัน ยังบริจาคให้กันไม่ได้เลยก็มี
 
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ต้องการรับบริจาคส่วนใหญ่จึงต้องไปตรวจเนื้อเยื่อทิ้งเอาไว้ แล้วจากนั้นก็รอผู้บริจาคที่เนื้อเยื่อเข้ากับร่างกายจริงๆ (บางคนรอหลายปีก็ยังไม่เจอด้วยซ้ำ) ฟากผู้บริจาคนั้น ปกติเค้าไม่ได้ตรวจเนื้อเยื่อกันล่วงหน้าหรอกนะ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่สมองตาย ถ้ามีการแสดงความจำนงค์ว่าต้องการบริจาคถึงค่อยตรวจว่าเอามาให้ใครได้บ้าง ซึ่งตรงนี้ก็ใช้เวลาพอสมควร ระหว่างนั้นแพทย์ก็จะใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อประคองอาการจนกว่าจะตรวจและหาผู้รับบริจาคจนครบ โดยอวัยวะแต่ละส่วนก็มีระยะเวลาในการเก็บรักษาแตกต่างกันไป อย่างหัวใจก็มีเวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น อะไรประมาณนี้
 
สุดท้ายหมอเวรขอให้พระองค์ หายประชวรโดยเร็ว ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

หมอเวร
16 ธันวาคม 2565 



ในโพสต์ดังกล่าว มีประชาชนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ต่อออกไปเป็นจำนวนมาก (กว่า 1000 แชร์)  ส่วนใหญ่ขอบคุณที่ได้ทราบข้อเท็จจริงนี้ และเป็นความรู้ที่ถูกต้อง อ่านเพิ่มเติมและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ตามลิงค์ 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด