รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เพจของท่านเมื่อวันที่
20 มีนาคม 2566 กล่าวถึงยาปรัสเซียนบลู ที่ใช้กินเพื่อเป็นยาแก้พิษจากโลหะหนักบางชนิดได้ รวมถึงซีเซียม-137 ด้วย
โดยเนื้อหาระบุดังนี้
" เตรียมไว้เลย ผ่อนหนักให้เป็นเบา ยาปรัสเซียนบลู
ในทางการแพทย์ ยาปรัสเซียนบลูที่ใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษ สำหรับ พิษจากโลหะหนักบางชนิดเช่น โดยแทลเลียม(I)และไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีของซีเซียม-137
ซีเซียมสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์
ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น"
ถ้าจะกินกัน Cesium-137 ควรเป็น Prussian Blue ไม่ใช่ไอโอดีนนะครับ ประเด็นคือ Prussian Blue สามารถจับกับ Cesium และ Thallium ได้ดีและสามารถช่วยลด Biological Half Life หรือระยะเวลาที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการลดจำนวนสารพิษให้เหลือลงครึ่งหนึ่งจากเดิม 110 วัน เหลือเพียงแค่ 30 วันเท่านั้น ในทางการแพทย์ Prussian Blue จัดว่าปลอดภัยสามารถใช้กับเด็กและสตรีมีครรภ์ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์
Siwatt Pongpiachan
21 มีนาคม 2566
อธิบายเรื่องซีเซียม-137 ข้อมูลจากองค์กรระดับโลก
(เรียบเรียงโดย ณัฐนันท์ รัตนชื่อสกุล)
ธาตุซีเซียมนั้นเป็นโลหะหมู่ 1 จึงมีความไวในการเกิดปฏิกิริยาสูงมาก อีกทั้งมีจุดหลอมเหลวค่อนข้างต่ำ ณ อุณหภูมิห้องของประเทศไทยธาตุซีเซียมจะมีสถานะเป็นของเหลว โดยซีเซียม-137 นั้นเป็นหนึ่งในไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีค่าครึ่งชีวิตราวๆ 30 ปี (ทุกๆ30ปีจะสลายตัวจนเหลือราวครึ่งหนึ่ง)
ซีเซียม-137 ใช้ด้านการแพทย์และในอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ เช่น เครื่องมือวัดความหนาของแผ่นโลหะและวัสดุต่างๆ หรือ วัดอัตราการไหล เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผลผลิตจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชัน รวมไปถึงการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นั่นหมายความว่า ยังคงมีซีเซียม-137เล็กน้อยที่ปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติจากเหตุการณ์ในอดีต เช่น ภัยพิบัติเชอร์โนบิล
ปกติแล้วธาตุซีเซียมจะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับคลอรีน ทำให้อยู่ในรูปของเกลือคลอไรด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกสีขาวคล้ายๆกับเกลือแกง แต่ปัญหาคือ เกลือของซีเซียมดังกล่าวละลายน้ำได้ดีมากทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก ดังนั้น ซีเซียม-137 จึงสามารถกระจายไปในอากาศ น้ำ ดิน ได้ง่าย รวมไปถึงพืชผลทางการเกษตรที่ใช้ดินที่ปนเปื้อนก็จะสะสมซีเซียม-137 ไว้ในตัวพืชอีกด้วย
ซีเซียม-137 นั้นจะสลายตัวโดยให้รังสีบีตา และธาตุแบเรียมซึ่งส่วนมากแบเรียมที่ได้จะมีพลังงานสูงมาก จึงปลดปล่อยรังสีแกมมา แล้วกลายเป็นธาตุแบเรียมที่เสถียร จึงต้องมีการจัดเก็บในภาชนะที่ทำจากตะกั่ว
การได้รับกัมมันตรังสีปริมาณมากโดยตรงในระยะเวลาที่นานพอจะทำให้ผิวไหม้พุพอง นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสียผมร่วงและ หากได้รับในปริมาณมากจริงๆอาจถึงแก่ชีวิตได้
การรับประทานหรือสูดดมซีเซียม-137 เข้าไปนั้นมันจะแพร่กระจายในร่างกายเราอย่างรวดเร็ว และไปสะสมที่เนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ และกระดูกซึ่งส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ซึ่งวิธีการรับมือนั้น ผู้ที่ได้รับซีเซียม-137 ต้องรับประทานยาปรัสเซียนบลูเพื่อแก้พิษ ซึ่งตัวยาจะไปจับกับซีเซียม-137 และขับออกจากร่างกายไป โดยยาปรัสเซียนบลูสามารถลดค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพของซีเซียม-137 จาก 110 วัน เหลือเพียงประมาณ 30 วันในร่างกาย อย่างไรก็ตาม การจะซื้อยาชนิดนี้จะต้องมีใบสั่งยาของแพทย์เท่านั้นเพราะต้องคำนวณปริมาณอย่างเหมาะสม
อ้างอิง
https://semspub.epa.gov/work/HQ/176308.pdf
อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
20 มีนาคม 2566