ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน

แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน HealthServ.net
แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน ThumbMobile HealthServ.net

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยงโรคลมแดด ได้แก่ ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด อาทิ กรรมกรก่อสร้าง เกษตรกร นักกีฬา ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนะหากมีสัญญาณเตือน เพลียหน้ามืด หรือเริ่มเป็นตะคริว ควรหยุดงานพาหลบแดดเข้าที่ร่มทันที

แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน HealthServ
 
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อน และมีอากาศร้อนจัด บางพื้นที่อุณหภูมิสูงสุดอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประชาชนอาจเป็นโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ คนทำงานกลางแจ้งที่เสี่ยงต่อโรคลมแดด เช่น กรรมกรก่อสร้าง  เกษตรกร ทหาร นักกีฬา เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี  ผู้สูงอายุ  ผู้ที่มีโรคประจำตัว  เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ  คนอ้วน  ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์




นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อน อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ หน้ามืด  ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย   ซึม สับสน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการอาจส่งผลกระทบ ที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว


โรคจากความร้อนมีอาการหลายอย่างตามลำดับขั้นของอุณหภูมิที่สูงขึ้น  เช่น การมีผื่นขึ้นตามตัว ตัวบวม อาการอ่อนเพลีย หรือที่เรียกว่าเพลียแดด เป็นตะคริว คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส  ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว ชัก มึนงง หน้ามืด  หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ 
แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน HealthServ
 
นายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการป้องกันโรคลมแดด ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัด  ดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้าน และพยายามดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดรูป สวมแว่นกันแดด กางร่ม ทาโลชั่นกันแดด เลือกออกกำลังกายการช่วงเช้าหรือเย็น หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากพบเห็นผู้เป็นลมแดดให้รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นน้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ในเรื่องลมแดดนี้ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้เน้นย้ำการให้ความรู้แก่คนงานที่มาทำการตรวจสุขภาพทางอาชีวอนามัยที่โรงพยาบาล รวมทั้งทีมอาชีวอนามัยที่ออกไปเชิงรุกสถานประกอบการได้เตือนคนงานและแนะวิธีการทำงานที่ถูกต้องเพื่อป้องกันโรคจากความร้อน นอกจากนี้ยังมีโครงการงานวิจัยเรื่องสัญญาณเตือนทางโรคต่างๆ ที่บ่งถึงว่าเริ่มมีประชาชนป่วยจากโลกร้อนเพิ่มขึ้น 
แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน HealthServ
 

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดดได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงประชาชนทั่วไป สำหรับการป้องกันสามารถ  ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ หากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรมในช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน ผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคลมแดดได้ หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม อุปกรณ์ ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด นอกจากนี้การอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
แพทย์เตือนคนทำงานกลางแจ้งเสี่ยง “โรคลมแดด” อาจถึงตาย แนะวิธีป้องกัน HealthServ

โรคลมแดด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 
 
 
 

HEAT STROKE ... เด็กก็เป็นได้ ผู้ใหญ่ก็ควรระวัง

 HEAT STROKE ... เด็กก็เป็นได้ ผู้ใหญ่ก็ควรระวัง
หากต้องมีการออกแดด
✔️ควรสวมหมวก หรือกางร่ม
✔️พกน้ำดื่ม
✔️สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา
คำแนะนำ
????หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดดจัด
????อยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทหรือมีเครื่องปรับอากาศ
????ดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่ต้องรอกระหาย
????ไม่เปิดพัดลมจ่อตรงตัว
????ไม่อยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพัง
????ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

หากพบผู้ป่วยเป็นโรคลมร้อน โทร 1669 และพาผู้ป่วยเข้าที่ร่ม หรือห้องที่มีความเย็น จัดให้นอนราบ ยกเท้าและสะโพกสูง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด