ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นักวิชาการ ม.เกษตรฯ ย้ำ! ฝีหนองที่พบในเนื้อหมูไม่ใช่ภาวะโรคและไม่ติดต่อสู่คน

นักวิชาการ ม.เกษตรฯ ย้ำ! ฝีหนองที่พบในเนื้อหมูไม่ใช่ภาวะโรคและไม่ติดต่อสู่คน Thumb HealthServ.net
นักวิชาการ ม.เกษตรฯ ย้ำ! ฝีหนองที่พบในเนื้อหมูไม่ใช่ภาวะโรคและไม่ติดต่อสู่คน ThumbMobile HealthServ.net

นักวิชาการ ม.เกษตรฯ ย้ำ! ฝีหนองที่พบในเนื้อหมูไม่ใช่ภาวะโรคและไม่ติดต่อสู่คน แนะเลือกซื้อจากผู้ผลิตและแหล่งจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน สังเกตตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” เพื่อความปลอดภัย

 
 
 
 
อาจารย์พิชัย จิรวัฒนาพงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ กำแพงแสน อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า “ฝีหนอง” ในเนื้อหมูสดที่ผู้บริโภคมักพบในร้านชาบู หมูกระทะ รวมถึงเนื้อหมูที่ซื้อมาประกอบอาหาร ไม่ได้เกิดจากการที่หมูป่วยเป็นโรค แต่อาจเกิดจากขั้นตอนในการใช้เข็มฉีดวัคซีนหรือยารักษาโรค หากไม่สะอาดขณะเตรียมการฉีด จะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตรงบริเวณตำแหน่งที่ฉีดแล้วเกิดเป็นฝีหนองได้
 
 
นักวิชาการ ม.เกษตรฯ ย้ำ! ฝีหนองที่พบในเนื้อหมูไม่ใช่ภาวะโรคและไม่ติดต่อสู่คน HealthServ
 นอกจากนี้ ฝีหนองในเนื้อหมูไม่ใช่โรคจึงไม่ติดต่อสู่คน ขอให้ผู้บริโภคไม่ต้องวิตกกังวล หากพบเนื้อหมูที่มีลักษณะดังกล่าว ให้ตัดชิ้นเนื้อนั้นทิ้งห้ามรับประทาน สำหรับเนื้อหมูส่วนที่เหลือยังสามารถรับประทานได้ เพราะฝีหนองส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของแคปซูลจึงไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น หากผู้บริโภคไม่สบายใจสามารถทิ้งไปทั้งชิ้นได้
 
“ปัจจุบันผู้เลี้ยงหมูในหลายฟาร์ม พัฒนามาใช้กระบอกฉีดยาหรือวัคซีนที่ไม่มีเข็ม (Needle free vaccination) เพื่อลดการเกิดปัญหาดังกล่าว ขณะที่โรงชำแหละที่มีกระบวนการผลิตเนื้อหมูที่ได้มาตรฐาน โอกาสที่จะมีฝีหนองหลุดออกมาจำหน่ายน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย เพราะมีการตรวจสอบเนื้อสัตว์ทั้งกระบวนการผลิต ตั้งแต่การตัดแต่ง และก่อนการจำหน่าย ผู้บริโภคจึงสามารถวางใจได้ในความปลอดภัย สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูที่ยังใช้เข็มอยู่ ต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาด โดยใช้สำลีชุบแอลกอฮอลล์ให้ชุ่มเช็ดทำความสะอาดตรงบริเวณตำแหน่งที่จะฉีดก่อนเสมอ หรือล้างตัวหมูเพื่อลดความสกปรก” อาจารย์พิชัย กล่าว
 
สำหรับผู้บริโภค ก่อนรับประทานเนื้อหมูต้องปรุงสุกที่อุณหภูมิ 74 องศาเซลเซียสขึ้นไป ด้านผู้ประกอบการร้านอาหาร ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ แนะเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ตรวจสอบสภาพเนื้อหมู สด สะอาด ปลอดภัย และได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ โดยสังเกตสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” เครื่องหมายการันตี มาตรฐานการผลิต ตั้งแต่การเลี้ยง การเชือด-ชำแหละ การแปรรูป ตลอดจนสถานที่จำหน่าย และที่สำคัญราคาต้องไม่ถูกจนเกินไป เพราะต้องสงสัยได้ว่าเป็นเนื้อหมูที่มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ อาจปนเปื้อนสารและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้” อาจารย์พิชัย กล่าวทิ้งท้าย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด