ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อนามัยโลกประกาศยุติภาวะฉุกเฉินโควิด

อนามัยโลกประกาศยุติภาวะฉุกเฉินโควิด Thumb HealthServ.net
อนามัยโลกประกาศยุติภาวะฉุกเฉินโควิด ThumbMobile HealthServ.net

ผอ.องค์การอนามัยโลก ออกประกาศเมื่อวันศุกร์ ณ ที่ทำการใหญ่องค์การอนามัยโลก กรุงเจนีวา ว่า "การแพร่กระจายของโควิด-19 ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลกอีกต่อไป"

 
 
"เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้วที่การแพร่ระบาดมีแนวโน้มลดลง โดยภูมิคุ้มกันของประชากรเพิ่มขึ้นจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตลดลง และแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขผ่อนคลายลง" ส่วนหนึ่งในการแถลงข่าวที่เจนีวา โดยนายเทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก
 
"แนวโน้มนี้ทำให้ประเทศส่วนใหญ่กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ ก่อนโควิด-19"  เทดรอสกล่าว "จึงขอประกาศให้โควิด-19 พ้นจากภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลก"
 
องค์การอนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2020 
 
 
การตัดสินใจของ WHO มีขึ้นในขณะที่สหรัฐฯ กำลังจะยุติภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขแห่งชาติในวันที่ 11 พฤษภาคม 2023 นี้
 
ผอ.เทดรอส กล่าวว่ายังคงมีความเสี่ยงที่สายพันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้นและทำให้เกิดกรณีเพิ่มขึ้นอีก เขาเตือนรัฐบาลนานาชาติ ว่าไม่ควรยุติระบบที่พวกเขาสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส เพราะว่า "ไวรัสนี้ยังคงอยู่ ยังทำให้คนเสียชีวิต และการกลายพันธุ์ยังคงมีต่อไป"
 
แต่หัวหน้าองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า  ปัจุบันนี้เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ จะต้องปรับเปลี่ยนสถานะโควิด จากสถานะฉุกเฉินไปสู่ภาวะที่มีการจัดการ เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อประจำถิ่นอื่นๆ
 
 
 

กว่า 3 ปีโควิดถล่มโลก

 
โควิดพบครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อเดือนธันวาคม 2562 เมื่อผู้ป่วยหลายรายเริ่มมีอาการปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ
 
โควิดแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในต้นปี 2563 นำไปสู่การปิดการเดินทางระหว่างประเทศและการปิดพรมแดนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากประเทศต่างๆ พยายามป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส
 
โควิดทำลายล้างผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มเปราะบางอื่นๆ โรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขพังพินาศ ภาวะที่ไม่มีเตียงหรือเสบียงเพียงพอในการจัดการกับความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันในแต่ละประเทศ
 
รัฐบาลหลายชาติ สั่งหยุดกิจกรรมสาธารณะ เพื่อหยุดการแพ่เชื้อและการเสียชีวิต   นำไปสู่การหยุดชะงักทางสังคม เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะตามมาในระยะยาวจะยังคงมีต่อเนื่องไปอีกหลายปีข้างหน้า
 
"โควิด-19 เป็นมากกว่าวิกฤตด้านสุขภาพ" เทดรอสกล่าว "มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง GDP หายไปนับล้านล้าน การเดินทางและการค้าล่มสลาย ธุรกิจถูกทำลาย และหลายล้านคนทั่วโลกจมดิ่งสู่ความยากจน" 
 
"มันทำให้เกิดกลียุคทางสังคมอย่างรุนแรงด้วยการปิดพรมแดน จำกัดการเคลื่อนย้ายเดินทาง โรงเรียนปิด และผู้คนหลายล้านคนต้องประสบกับความเหงา ความโดดเดี่ยว ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า" เทดรอสกล่าว
 
 
จีนเผชิญเสียงวิจารณ์อย่างรุนแรงว่าไม่แจ้งเตือนโลกเร็วเพียงพอ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ปักกิ่งปฏิเสธ นักวิจารณ์ยังกล่าวหาว่า WHO พึ่งพาข้อมูลจากปักกิ่งมากเกินไปในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่
 
กว่าสามปีต่อมา ต้นกำเนิดของไวรัสยังคงเป็นปริศนาที่ถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนทั่วไปยังคงโต้เถียงกันว่าโควิดแพร่กระจายสู่มนุษย์จากสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือรั่วไหลจากห้องทดลองในประเทศจีน
 
ชุมชนหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นส่วนๆ ในการประเมินต้นกำเนิดของโควิด
 
รัฐบาลสหรัฐฯ ประเทศพันธมิตร และ WHO วิจารณ์รัฐบาลจีนว่าไม่ให้การเข้าถึงข้อมูลอย่างโปร่งใสซึ่งจะช่วยระบุได้ว่าการระบาดเริ่มต้นอย่างไร


 
 
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่องค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิดเป็นสถานการณ์วิกฤตระดับนานาชาติเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2020 ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการขององค์กรสหประชาชาติ มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิดเกือบ 7 ล้านคนทั่วโลก  แต่ยอดผู้เสียชีวิตที่แท้จริงน่าจะไม่ตำกว่า 20 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดสอยู่ที่ราว 5,000 ล้านคน
 
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก โดยอยู่ที่ระดับมากกว่า 1 ล้านราย
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด