ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาบัตรทอง เป็นยาดีไหม เชื่อถือได้หรือไม่ - รองเลขาฯ สปสช. ตอบ

ยาบัตรทอง เป็นยาดีไหม เชื่อถือได้หรือไม่ - รองเลขาฯ สปสช. ตอบ Thumb HealthServ.net
ยาบัตรทอง เป็นยาดีไหม เชื่อถือได้หรือไม่ - รองเลขาฯ สปสช. ตอบ ThumbMobile HealthServ.net

มักจะเป็นคำถามมาเสมอในความคิดของประชาชนทั่วไปที่มีสิทธิบัตรทองเป็นพื้นฐานการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิของคนไทยทุกคน นอกเหนือจากสิทธิอื่นๆ ที่ได้รับจากการประกอบอาชีพคือสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ หรือสิทธิของเฉพาะองค์กรต่างๆกันไป คำถามที่ว่ามาตรฐานและคุณภาพรวมถึงคุณภาพของยาจะได้รับจากการรักษาบนสิทธิบัตรทอง สปสช. จะมีคุณภาพน่าเชื่อถือและทำให้ประชาชนมีความมั่นใจได้มากเพียงเทียบ เมื่อเทียบกับสิทธิอื่นๆ เรื่องนี้ เลขาฯ สปสช. มีคำตอบ

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ หรือ หมอเอก รองเลขาธิการสปสช. ได้อรรถาธิบายต่อข้อกังวล ของประชาชนในประเด็นด้านคุณภาพของการรักษาและคุณภาพของยาที่ได้รับ จากการรักษาผ่านสิทธิบัตรทอง ไว้ดังนี้

เวลาป่วยไข้ไปโรงพยาบาล นอกจากได้พบแพทย์แล้ว ผู้ป่วยคงอยากได้ยาดีมีคุณภาพไว้ใช้รักษาอาการป่วยให้ทุเลา
 
ผู้มีสิทธิบัตรทอง เมื่อป่วยสามารถไปรักษาโดยไม่ต้องเสียเงิน หลายคนเกิดความกังขาว่า ยาที่ได้รับจะเป็นยาดี เชื่อถือได้หรือไม่

ต้องบอกว่า งบประมาณที่ สปสช.จัดสรรให้กับ รพ.ได้รวมค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ไว้แล้ว รพ.ก็นำงบประมาณดังกล่าวไปจัดหายา

อย่างไรก็ตาม อาจมียาบางตัวที่มีการใช้น้อย ไม่ค่อยมีใครผลิตมาขาย เช่น ยาต้านพิษ หรือยาบางตัวมีราคาแพงมากๆ เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ฯลฯ การใช้กลไกการจัดซื้อในแต่ละ รพ.เป็นเรื่องยากที่จะได้ยากลุ่มนี้มาใช้
 

 
นอกจากนั้น ยังมียาใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เพื่อให้มาตรฐานยาเป็นระบบเดียวกันและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย สปสช.จึงกำหนดให้ยาที่อยู่ในสิทธิประโยชน์ ต้องเป็นยาที่อยู่ในรายการ “บัญชียาหลักแห่งชาติ” เท่านั้น เนื่องจากได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบโดย คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติที่มีคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ทำหน้าที่พิจารณารายการยาที่บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างรอบครอบในทุกๆ ด้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


 
ดังนั้น เมื่อมีการบรรจุยารายการใดเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ก็จะอยู่ในสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทองโดยอัตโนมัติ


 
ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ครั้งที่ 7/2566 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบยาในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติเพิ่มเติม 3 รายการ บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์บัตรทองเพิ่มเติม ได้แก่ 
 
1. ยาโปรทรอมบินคอมเพล็กซ์เข้มข้น (aPCC) สำหรับรักษาภาวะเลือดออกในผู้ป่วยฮีโมฟีเลียที่มีสารต้านแฟคเตอร์สูง 
 
2. ยาคาร์กลูมิคแอสิด (carglumic acid) สำหรับรักษาภาวะแอมโมเนียในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคหายาก 3 โรค ได้แก่ ภาวะพร่องเอนไซม์ N-acetylglutamate synthase หรือ NAGS deficiency โรคกรดเมทิลมาโลนิกคั่งในเลือด (methylmethylmalonic acidemia) และ โรคกรดโพรพิโอนิกคั่งในเลือด (propionic acidemia) 
 
3. ยาโซมาโทรปิน (somatropin) สำหรับผู้ป่วยขาดโกรทฮอร์โมน (growth hormone deficiency) อายุ 0-2 ปี ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และวัคซีน 1 รายการ คือ วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ (acellular pertussis vaccine) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ โดยเป็นวัคซีนที่วิจัยและพัฒนาในประเทศและอยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย 
 
 
 
นอกจากนี้ยังมีการบรรจุวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ (acellular pertussis vaccine) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ ที่เป็นวัคซีนที่วิจัยและพัฒนาในประเทศและอยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย เป็นสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้วย  
 
ชื่อยารวมทั้งชื่ออาการอาจจะอ่านยากสักหน่อย แต่ขอให้มั่นใจว่ายาและวัคซีนที่ สปสช. ได้เพิ่มเติมเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทองฯ ครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีขึ้นจากยาใหม่ที่ได้มีการพัฒนา และในอนาคตผมเชื่อว่าจะมียาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าสู่ระบบเพิ่มเติมอีก
 
เป็นอีกหนึ่งข่าวดีของผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท ที่ผมขอนำมาฝากในสัปดาห์นี้นะครับ


อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ-หมอเอก
16 มิถุนายน 2566
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด