ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรกฎาคมเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

กรกฎาคมเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ HealthServ.net
กรกฎาคมเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ThumbMobile HealthServ.net

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เชิญชวนร่วมรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ ด้วยการเสริมความรู้ และตรวจสุขภาพหาความเสี่ยงมะเร็ง

กรกฎาคมเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ HealthServ
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ จัดกิจกรรม “กรกฎาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่” ภายใต้หัวข้อ “มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม”เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคตลอดจนสามารถดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากมะเร็งรังไข่ได้ ภายในงานพบกับการเสวนา หัวข้อ “มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบในสตรีไทย” การบรรยายให้ความรู้ หัวข้อ “การเตรียมตัวก่อนตรวจภายใน การอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่ และการดูแลตนเองเมื่อเป็นมะเร็งรังไข่” พร้อมบริการให้คำปรึกษาการตรวจหาสารบ่งชี้ที่สัมพันธ์และตรวจอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่ให้แก่ผู้สนใจ ฟรี จำนวน 20 ท่าน โดย ว่าที่ร้อยตำรวจโทหญิง นภา ศิริวิวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เป็นประธาน ณ ลาน OPD ชั้น 1 อาคารดำรงนิราดูร สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566
กรกฎาคมเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ HealthServ

“กรกฎาคม” เดือนรณรงค์ป้องกันมะเร็งรังไข่


 “มะเร็งรังไข่” ภัยร้ายในเพศหญิง พบได้ในสตรีทุกช่วงวัยโดยเฉพาะผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีภาวะอ้วน มีบุตรยาก มีภาวะการกลายพันธุ์ของยีน BRCA ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง  มะเร็งรังไข่มักตรวจพบเจอเมื่อโรคเข้าสู่ระยะลุกลาม หลังการรักษามีโอกาสกลับเป็นซ้ำและมีอัตราการเสียชีวิตสูง จึงอย่านิ่งนอนใจ ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี

 
                  นายแพทย์วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในประเทศไทย มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งมดลูก สถิติจากข้อมูล Cancer In Thailand Vol.X ปี 2016–2018 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า คนไทยป่วยเป็นมะเร็งรังไข่รายใหม่ ปีละประมาณ 2,900 ราย โดยทั่วไปผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในระยะแรกมักจะไม่มีอาการผิดปกติ หรือมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง ทานอาหารได้น้อยลง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ทั้งหมดจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากและตรวจพบว่าอยู่ในระยะลุกลามแล้ว ทําให้ผลการรักษาไม่ดี มีโอกาสเป็นโรคซ้ำหลังการรักษาสูง และมีอัตราการรอดชีพต่ำ ดังนั้น มะเร็งรังไข่จึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้วยกัน


                   นายแพทย์ศุภกร พิทักษ์การกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนำไข่ (Fallopian Tube) ทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สตรีมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้สูงขึ้น ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะอ้วน มีบุตรยาก รับประทานอาหารที่มีเส้นใยต่ำ มีภาวะขาดวิตามินเอ มีการทาแป้งฝุ่นบริเวณอวัยวะเพศ และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างคือสตรีที่มีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงถึง 20-40% สตรีที่มีการกลายพันธุ์ของยีนส์ BRCA จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม ซึ่งหากตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนส์ดังกล่าว จะสามารถใช้วางแผนในการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในสตรีที่ยังไม่เป็นโรค, การเลือกใช้ยามุ่งเป้า, รวมถึงการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวางแผนป้องกันการเกิดโรคในญาติสายตรง 
 
กรกฎาคมเดือนรณรงค์ต้านภัยมะเร็งรังไข่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ HealthServ

                  ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองที่มีความเฉพาะเจาะจงและประสิทธิภาพสูงพอในการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่สำหรับสตรีปกติทั่วไป ดังนั้นในปัจจุบันยังคงแนะนำว่า สตรีทุกคนควรได้รับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอกรณีไม่มีอาการผิดปกติ แต่หากมีอาการผิดปกติใดๆเช่น ปวดท้องน้อย เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ท้องโตผิดปกติหรือคลำก้อนได้ในท้อง ให้รีบเข้ารับคำปรึกษาและตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์เฉพาะทางด้านนรีเวชจะดีที่สุด แนวทางการรักษาหลักของมะเร็งรังไข่คือ การผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งออกให้ได้มากที่สุด ตรวจหาการแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ และเพื่อกําหนดระยะของโรค หลังจากนั้นจึงพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดหากมีข้อบ่งชี้ ปัจจุบันนอกจากยาเคมีบำบัดแล้วยังมียามุ่งเป้า (Targeted therapy) ที่มีการให้เสริมหรือร่วมกับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยบางรายที่มีข้อบ่งใช้ หลังการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจหาการเป็นซ้ำของโรค 

                   อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวมาในตอนต้น เนื่องจากมะเร็งรังไข่มักวินิจฉัยได้ในระยะแพร่กระจาย ทำให้ผลการรักษาไม่ค่อยดี มีโอกาสกลับเป็นซ้ำค่อนข้างสูง และปัจจุบันก็ยังไม่มีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพดีพอ ดังนั้นจึงขอเชิญชวนสตรีทุกท่านอย่าลืมเข้ารับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติที่สงสัยให้รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว สามารถติดตามความรู้ข่าวสารด้านโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เพิ่มเติมทางเว็บไซต์ส่งเสริมความรอบรู้สู้ภัยมะเร็ง http://allaboutcancer.nci.go.th/ และเว็บไซต์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง https://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ 

คุยเรื่องมะเร็งรังไข่กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดย พญ.อุไรวรรณ คมไพบูลย์กิจ

คุยเรื่องมะเร็งรังไข่กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดย พญ.อุไรวรรณ คมไพบูลย์กิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวช
 
 
 
  

ความรู้เรื่องมะเร็งรังไข่
 

 
ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานว่า มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้มาก เป็นอันดับ 2 ของ มะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบ ได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปีในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปีก็อาจพบได้
 
 
สาเหตุ
 
ยังไม่ทราบแน่ ชัด แต่พบเหตุส่งเสริม ที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้ คือ
1.สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศ อุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็น มะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2.สตรีที่ไม่ มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3.ผู้ที่เคย เป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็ง มดลูก และมะเร็งระบบทางเดิน อาหาร โอกาสเป็น มะเร็งรังไข่มี มากกว่าคนปกติ
 
 
อาการ
 
1. อาจไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ
2. มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
3. มีก้อนในท้องน้อย
4. ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกด กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก
5. ในระยะท้ายๆอาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
 
 
การวินิจฉัย
 
1. การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนใน บริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัย หมดประจำเดือน ควรนึกถึงมะเร็งของรังไข่ไว้ด้วย (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ)
2. การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ ได้
3.การตรวจด้วย เครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อน ในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้อง หนามาก คลำด้วยมือตาม ปกติตรวจไม่พบ
4. การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และตรวจดู เป็นวิธีที่สำคัญ และแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรค อย่างแน่นอนสามารถ ขลิบหรือตัดเอาเนื้อมาตรวจหาชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะ ของโรค ด้วย
 
 
การรักษา
 
การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการ รักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจาก โรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายาม ตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้ การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด
 
 
การป้องกัน
 
เนื่องจาก มะเร็งรังไข่ในระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่ แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความ ถี่สูง โดยแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด