ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมวิทย์ฯ มอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น 17 ผลงาน ประจำปี 2566

กรมวิทย์ฯ มอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น 17 ผลงาน ประจำปี 2566 HealthServ.net
กรมวิทย์ฯ มอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น 17 ผลงาน ประจำปี 2566 ThumbMobile HealthServ.net

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บรรยายพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์การแพทย์บนการพัฒนาระบบสุขภาพประเทศ พร้อมมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น จำนวน 17 ผลงาน จาก 213 ผลงาน และปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31

 
23 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บรรยายพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์การแพทย์บนการพัฒนาระบบสุขภาพประเทศ พร้อมมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น จำนวน 17 ผลงาน จาก 213 ผลงาน และปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31
 
 นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 31 ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 21- 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 ในหัวข้อเรื่อง “Smart Medical Sciences : Health for Wealth วิทยาศาสตร์การแพทย์ชาญฉลาด เพื่อสุขภาพที่ดีและเศรษฐกิจมั่งคั่ง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ นำเสนอนวัตกรรม ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัย และมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมทั้งในสถานที่และรับชมผ่านการถ่ายทอดสดด้วยระบบออนไลน์ จำนวนกว่า 2,000 คน โดยตลอด 3 วันที่ผ่านมา ผู้ร่วมงานได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่จากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ทั้งจากการบรรยาย  การอภิปราย การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ตลอดจนการแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนางานในความรับผิดชอบ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันและประสานความร่วมมือซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีคุณค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ
 
 ด้าน ดร.ประไพ วงศ์สินคงมั่น นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ให้ข้อมูลว่า ในการจัดงานครั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดให้มีการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการทั่งแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์  และมอบรางวัลให้แก่ผู้วิจัยที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ โดยมีการนำเสนอผลงานวิชาการโดยการบรรยาย 38 เรื่องและโปสเตอร์ 175 เรื่องรวม 213 เรื่อง ผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัล มีดังนี้ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สาขา 1 : Current Research and Innovation on Diseases
 
 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
 
รางวัลชนะเลิศ  การตรวจ NAT2 diplotyping ด้วยวิธี real-time PCR เสนอโดย ทิพย์รัตน์ โพธิพิทักษ์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
 
 การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
 
รางวัลชนะเลิศ การศึกษาประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงไทยตั้งครรภ์ด้วยวิธี NIPT เปรียบเทียบกับวิธี QT และประสิทธิภาพของวิธี NIPT ต่อการลดปริมาณหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องถูกวินิจฉัยโครโมโซมคู่ที่ 21 ด้วยวิธี Karyotyping เสนอโดย พรนภา คำพันธ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
 
รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนาการตรวจหาแอนติบอดีที่ลบล้างฤทธิ์ไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี pseudovirus neutralization test เสนอโดย รุจิราพร พิทักษ์สาลี สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
 
สาขาที่ 2 : Current Research and Innovation on Consumer Protection
 
 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
 
รางวัลชนะเลิศ การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารหนูอนินทรีย์ในสัตว์น้ำและสาหร่ายด้วยเทคนิค HPLC-ICP-MS เสนอโดย กรรภิรมย์ เลิศบำรุงชัย สํานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
 
รางวัลรองชนะเลิศ การตรวจสอบเอกลักษณ์ของวัคซีนโควิด 19 โปรตีนซับยูนิตโดยวิธี Western blot เพื่อการขึ้นทะเบียนวัคซีน เสนอโดย พุธิตา โชคเหรียญสุขชัย สถาบันชีววัตถุ 
 
 การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
 
รางวัลชนะเลิศ การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์และหาปริมาณกาแล็กโตซามีนและกลูโคซามีนในวัตถุดิบรังนก โดย GC-MS เสนอโดย สุวัฒน์ แก้วบุตรดี สํานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
 
รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนาขั้วไฟฟ้าสำหรับตรวจวัดสารพิษมัสคารีน
 
ในตัวอย่างเห็ดด้วยเทคนิคโวลแทมเมทรี เสนอโดย ชิดกมล ทูลคำรักษ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
 
รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ปริมาณสาร THC, 11-OH-THC, THC-COOH และ CBD ในพลาสมา ด้วยวิธีการสกัดแบบ SPE วิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี เสนอโดย อรณิชา สมบัติศรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก
 
 
 
 
 
 
 
 
สาขาที่ 3 : Risk Assessment and Health Threat Warning
 
 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
 
รางวัลชนะเลิศ การศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลในการจำแนกชนิดพืชกัญชา เสนอโดย ศิริยาภรณ์ ธรรมชาติ สถาบันวิจัยสมุนไพร
 
รางวัลรองชนะเลิศ คุณภาพฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันแคปซูลที่ผลิตโดยโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 12 ประจำปี พ.ศ. 2565 เสนอโดย ทัศนีย์ ปานผดุง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา
 
 การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
 
รางวัลชนะเลิศ  ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DMT 1 ในประชากรเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมียม เสนอโดย สิทธิพร ปานเม่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข    
 
รางวัลรองชนะเลิศ การตรวจวิเคราะห์กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกของผลิตภัณฑ์กะหรี่ปั๊บในจังหวัดสระบุรี ปี 2563 – 2565 เสนอโดย ธนภรณ์ ศิริแสง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต
 
รางวัลรองชนะเลิศ การศึกษาสารอาหารและแร่ธาตุในรังนกนางแอ่นของประเทศไทย ปี 2564 – 2565 เสนอโดย คอรีเยาะ เวาะเละ สํานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
 
สาขาที่ 4 : Medical Sciences for Strengthening Quality and Safety
 
 การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
 
รางวัลชนะเลิศ การสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรและยกระดับผลิตภัณฑ์สุขภาพ SME/OTOP ภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2565 เสนอโดย กันยารัตน์ ชลสิทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
 
รางวัลรองชนะเลิศ คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันในเขตสุขภาพที่ 7 เสนอโดย นฤมล สีพั่ว ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น
 
 การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
 
รางวัลชนะเลิศ ผลของการใช้โปรแกรม Nongmamong Blood Glucose Meter IQC Online ในการบริหารจัดการระบบควบคุมคุณภาพเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท เสนอโดย สุพัตรา สุวรรณศิริโรงพยาบาลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท
 
รางวัลรองชนะเลิศ การพัฒนารูปแบบการควบคุมคุณภาพการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียของคลินิกมาลาเรียในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย เสนอโดย จันทร์พร จินา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด