ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 วันพระรัตนตรัย

เข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 วันพระรัตนตรัย Thumb HealthServ.net
เข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ เวียนเทียน วันอาสาฬหบูชา 2566 วันพระรัตนตรัย ThumbMobile HealthServ.net

วันอาสาฬหบูชา หนึ่งในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ สำหรับปี 2566 วันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย เวียนมาตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" เดือนที่ 4 ตามปฏิทินอินเดีย

 
 
 
หลักธรรมสำคัญวันอาสาฬหบูชา บุญเดือนแปด มีว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แก่ ปัญจวัคคีย์ 5 รูป เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  อันแปลว่า พระสูตรที่ว่าด้วยการหมุนวงล้อแห่งธรรม ที่ขับเคลื่อนพระศาสนาให้หมุนวนต่อเนื่องไปไร้สิ้นสุด  เนื้อหาแห่งธรรม แสดงถึงสิ่งพึงละ และสิ่งพึงปฏิบัติ 
 
สิ่งพึงละ คือ ความลุ่มหลงหมกมุ่นในรูป รส กลิ่น เสียง อันยั่วเย้าทางโลก และการทรมานตนเอง
 
สิ่งพึงปฏิบัติ นั้น ได้แก่ ทางปฏิบัติสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ - ความจริงของทุกข์ สิ่งที่ทนได้ยาก  สมุทัย - เหตุแห่งทุกข์  นิโรธ - เข้าใจความมีอยู่ของทุกข์  มรรค - หนทาง 8 แห่งการดับทุกข์ หรือที่คุ้นกัน เรียก มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ 2) สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ 3) สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ 4) สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ 5) สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ 6) สัมมาวายามะ คือ ความ พยายามชอบ 7) สัมมาสติ คือ การระลึกชอบ 8) สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ
 
อาสาฬหบูชา เป็นวันที่ก่อเกิดกำเนิด พระโสดาบันองค์แรก คือ ท่านโกญฑัญญะ หลังบรรลุแห่งธรรมแต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเดียวกันนี้เอง 
 
จาก พระโสดาบันแล้ว พระอัญญาโกญฑัญญะ ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบท ถือเป็นแรกสถาปนาภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา แต่บัดนั้น
 
อาสาฬหบูชา จึงเป็นวันสำคัญของสงฆ์ นั่นเอง 
 
และเมื่อกำเนิดพระสงฆ์บนบรรพิภพแล้ว จึงเป็นกำเนิดครบแห่งองค์พระรัตนตรัย อันประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นครั้งแรกเช่นกัน 
 
ดังนั้น วันอาสาฬหบูชา จึงเป็นฤกษ์งามแห่งการอุปสมบท การครองจีวรเข้าสู่ร่มแห่งธรรมของภิกษุ สามเณร และเป็นฤกษ์ชัยย่างสู่ฤดูกาลเข้าพรรษาต่อเนื่องไป 
 
 
 
ในฐานะพุทธมามกะ ศาสนิกแห่งพุทธรรม เป็นโอกาสจะได้พึงระลึกถึงคุณอันอนันต์แห่งองค์พระรัตนตรัย เสาหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้ตั้งมั่น มั่นคง มุ่งมาดสู่ความดี ความงาม ความเจริญ อันสงบงาม สร้างบุญละบาปแลการเบียดเบียนทั้งปวง 
 
 
 
 
 
 
เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา 
เรียกว่า "เวียนประทักษิณาวรรต" หมายถึง การเวียนขวา 3 รอบ อันแสดงถึงการน้อมรำลึกถึงองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรรม พระสงฆ์ 
 
ขณะเดินเวียนเทียน ผู้ปฎิบัติต้องสำรวมทั้งกาย วาจา ใจ ให้สงบ และควรรักษาระยะการเดินให้ห่างจากคนข้างหน้า เพื่อไม่ให้ธูปเทียนโดนผู้อื่นด้วย
 
 
เดิน 3 รอบ รำลึก 3 องค์ 3 บทสวด 
พระพุทธ - อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปูริสะทัมมสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
 
พระธรรม - สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
 
พระสงฆ์ - สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
 
 
ไทย PBS
 
 
บทสวดมนต์วันอาสาฬหบูชา
(หันทะ มะยัง อาสาฬหะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)
 
อาสาฬหะปุณณะมายัง โย สัทธัมโม โหติ เทสิโต เตนุป
 
ปันโน ปะฐะโม สังโฆ โกณฑัญโญ พุทธะสาสะเน
 
ธัมมะจักโกติ นาเมนะ วิสสุโต จะ ปะวัตติโต ตัสสัตโถ
 
อัฏฐะโก มัคโค จัตตาริ เจวะ สัจจานิ
 
เอเตสัง เทสะเนเนวะ อุปปันนัง ระตะนัตตะยัง พุทโธ ธัมโม ภิกขุสังโฆ สัมปันนา พุทธะสาสะเน
 
เปเสสิ ภะคะวา สังเฆ กาตุง โลกานะ สังคะหัง ละภิงสุ พะหุกา สัตตา โอกาสัง ปัตตุ นิพพุติง
 
ปัณณะระสี อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา ทีปะปุปผาทิหัตถา จะ หุตวา อิธะ สะมาคะตา
 
ปะทักขิณัง กะริสสามะ ติกขัตตุง คะรุเจติยัง ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง สักการัง อิมัง
 
ระตะนัตตะยานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะเตชะสา สัพเพ สัตตา ปุญญะภาคา นิททุกขา นิรุปัททะวา
 
อะระหันตา ปะพุชฌันตุ สะทา โคตะมะสาวะกา การุญญัญจะ อุปาทายะ ภะคะวา ปะฏิคัณหาตุ
 
สักกาเร อิเม มัยหัง หิตายะ จะ สุขายะ จะ จิรัง ติฏฐะตุ สัทธัมโม ตะถาคะตัปปะเวทิโต
 
สัมมาธารัง ปะเวสสันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง ฯ  
 
 
 
 
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน วันอาสาฬหบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา
 
โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ
 
อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน
 
ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ
 
สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต
 
สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ
 
นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา
 
สวากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม
 
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
 
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
 
สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
 
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
 
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
 
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ฯ อิทัง โข ปะนะ ปฏิมาฆะรัง ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะตัง ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ
 
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา
 
อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิสักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา
 
อิมัง ปะฏิมาฆะรัง ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา
 
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน
 
อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
 
ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด