ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นานาเสียงสะท้อน จากมุมมองแพทย์ ต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

นานาเสียงสะท้อน จากมุมมองแพทย์ ต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ Thumb HealthServ.net
นานาเสียงสะท้อน จากมุมมองแพทย์ ต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ThumbMobile HealthServ.net

นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เป็นหนึ่งในธงนำที่รัฐบาลผสมนำโดยพรรคเพื่อไทยชูขึ้นมาด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้สำเร็จและก้าวหน้ากว่าภาคแรกคือ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ริเริ่มไปเมื่อ 30 ปีก่อน เห็นได้จากการลงมานำทัพโดยนายกรัฐมนตรี และทุกขุมพลังของกระทรวงสาธารณสุขมาร่วมขับเคลื่อนผลักดัน มาบัดนี้ พ.ศ.นี้ 30 บาท ภาคสอง ยกระดับเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ได้เริ่มคิกออฟไปเมื่อต้นเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาใน 4 จังหวัดนำร่องไปแล้ว (แพร่ เพชรบุรี นราธิวาส ร้อยเอ็ด) และระยะ 2-3-4 เพื่อให้ครบตามเป้าหมายทุกจังหวัดใน 1 ปี กำลังทยอยตามมาแบบรายไตรมาส งานนี้ประชาชนได้ประโยชน์เต็มๆ และหลายฝ่ายมีปฏิกริยาตอบรับไปในทางบวก ไปฟังความเห็นจากหลายฝ่ายต่อประเด็นนี้



      “หวังว่านโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว จะช่วยให้คนไทยทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพได้ทุกที่ ให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง มีพลังในการดำเนินชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป ซึ่งต้องขอขอบคุณทั้งภาครัฐ เอกชน สภาวิชาชีพต่างๆ ประชาชน และ อสม. ทั้งในจังหวัดร้อยเอ็ดและอีก 3 จังหวัดนำร่อง ที่ช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพของประชาชนไทย”. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดตัวนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่”  เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 ณ ลานสาเกตนคร หน้าหอโหวด 101 จ.ร้อยเอ็ด 


        พิธีเปิดตัวนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่” นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ร่วมด้วย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารในพื้นที่ บุคลากรสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น อสม. ชมรมผู้สูงอายุ และประชาชน จำนวน 10,101 คน เข้าร่วมพิธีเปิด พร้อมกับอีก 3 จังหวัดนำร่อง คือ แพร่ เพชรบุรี และนราธิวาส
นานาเสียงสะท้อน จากมุมมองแพทย์ ต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ HealthServ
นานาเสียงสะท้อน จากมุมมองแพทย์ ต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ HealthServ

หน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่

หน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ ตามแผนจะมีคลินิกต่างๆ 7 ประเภท ดังนี้
  1. ร้านยาชุมชนอบอุ่น ดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยา
  2. คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น รับบริการทำแผล ล้างตา ล้างจมูก เปลี่ยนสายให้อาหาร ฉีดยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 กลุ่มอาการ เช่น เป็นไข้ตัวร้อน ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นต้น 
  3. คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น ตรวจแล็บ 22 รายการตามใบสั่งตรวจจากแพทย์ 
  4. คลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น บริการฟื้นฟูผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองได้รับบาดเจ็บ กระดูกสะโพกหัก โดย รพ.ที่ให้การรักษาส่งตัวผู้ป่วยไปรับบริการที่คลินิกฯ
  5. คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟูลออไรด์ 
  6. คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น ให้บริการตรวจรักษาโรคแบบผู้ป่วยนอก
  7. คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น นวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษา  

นานาเสียงสะท้อนจากมุมมองแพทย์

 

หากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนไปใช้บริการสะดวกได้ทุกที่อย่างเป็นจริงและยั่งยืนก็ควรที่จะลงทุนพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างจริงจัง - แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร

แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร  นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมส่วนราชวิทยาลัย ตำแหน่งประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ให้ความเห็นต่อนโยบายนี้ ว่า 
 
"ความพยายามของรัฐบาล รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการให้บัตรประชาชนใบเดียวไปได้ทุกที่นั้นถือว่าเป็นเจตนาที่ดีที่ต้องการให้ประชาชนไปใช้บริการได้สะดวก
 
   แต่วิธีการที่จะตอบสนองต่อเรื่องนี้ได้ดีไม่น่าจะอยู่เพียงการจัดทำระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมต่อกันได้เท่านั้น เพราะหากคุณภาพมาตรฐานของหน่วยบริการสุขภาพไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมทั่วถึง ประชาชนก็ต้องวิ่งไปรับบริการในสถานที่ที่คิดว่าบริการดีก็จะทำให้หน่วยบริการสุขภาพแห่งนั้นแออัด เช่น บริการในโรงพยาบาลใหญ่ บริการในกทม. และตัวเมืองต่างๆ ในขณะที่หน่วยบริการขนาดเล็กๆใกล้บ้าน มีคนมาใช้บริการไม่มากนัก
 
      ฉะนั้นหากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนไปใช้บริการสะดวกได้ทุกที่อย่างเป็นจริงและยั่งยืนก็ควรที่จะลงทุนพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างจริงจังทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้นกว่าเดิม (ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.  ศูนย์บริการสุขภาพสาธารณสุข ศบส. โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก) ประชาชนอยากรับบริการใกล้บ้านที่สะดวกไม่ต้องเดินทางไกลหากหน่วยบริการมีคุณภาพเท่าเทียมกัน [hfocus

โครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ตามหลักจริงๆ ก็ดีต่อประชาชน โรงพยาบาลชุมชนเองก็ต้องปรับตัว - นพ.ปวิตร วณิชชานนท์

นพ.ปวิตร วณิชชานนท์ ผอ.รพ.ละงู ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน กล่าวถึงโครงการนี้ว่า 
 
"โครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ตามหลักจริงๆ ก็ดีต่อประชาชน เพราะประชาชนจะได้เข้ารับการรักษาที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องมีสิ่งกีดขวางหรือว่าสิ่งกีดกั้นทางด้านของสิทธิต่างๆ แต่ขณะเดียวกันทางหน่วยงานราชการรวมถึงโรงพยาบาลชุมชนต้องปรับตัวว่าเราจะทํายังไงให้ประชาชนสามารถที่จะไปรับบริการที่ไหนก็ได้หรือเราเพิ่มพัฒนาบริการเพื่อให้มารักษาบริการที่เรา แล้วเราจะมีระบบเบิกจ่ายหรือมีอะไรต่างๆ ที่จะต้องควบคุมติดตามกันยังไง เพราะฉะนั้นก็คงต้องอยู่ในช่วงปรับตัว ถ้าถามว่าดีต่อโรงพยาบาลชุมชนหรือไม่ ผมว่าดีในแง่ของการที่ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างมีคุณภาพ โรงพยาบาลชุมชนเองก็ต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาให้เป็นตัวเลือกของประชาชนต่อไป"  [hfocus]

คลินิกเทคนิคการแพทย์มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน พร้อมลุยเชิงรุกดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - คลินิกน้ำทองแล็บ เซนเตอร์

ทนพ.สุริยันต์ นันตา คลินิกเทคนิคการแพทย์ น้ำทองแล็บ เซนเตอร์ เปิดเผยว่า

"ตั้งแต่ได้เริ่มคิกออฟเป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว การเข้ารับบริการของประชาชนเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าเข้าร่วมโครงการอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่มีหลักหน่วยต่อวัน พอมีการสร้างเครือข่ายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ภายใต้โครงการกับโรงพยาบาลแพร่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ที่มีปริมาณผู้ป่วยไปใช้บริการที่ราว 700 คนต่อวัน ก็ทำให้ได้รับการผ่องถ่ายผู้ป่วยให้มาตรวจแล็บที่คลินิกฯ มากขึ้นเป็นหลักสิบต่อวัน รวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งคาดว่าอาจถึง 50 คนต่อวันในอีกไม่นาน
         นอกจากนี้ ทางคลินิกฯ พร้อมสนับสนุนในการตรวจแล็บเชิงรุกสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เคลื่อนไหวลำบาก หรือมีภาวะติดบ้านติดเตียง
        สำหรับระบบข้อมูล ทางคลินิกฯ มีทรัพยากรที่พร้อมอยู่แล้ว ทำให้ส่งต่อข้อมูลสุขภาพไปยังโรงพยาบาลได้อย่างไร้รอยต่อ ตลอดจนส่งข้อมูลการให้บริการเบิกจ่ายกับ สปสช. ก็ได้รับเงินรวดเร็วภายใน 3 วัน ส่วนอัตราการเบิกจ่ายที่ สปสช. กำหนด ก็เพียงพอต่อการนำมาบริหารจัดการให้คลินิกฯ ดำเนินการต่อไปได้ไม่มีปัญหา แม้จะไม่ได้มากเหมือนการให้บริการ แต่สิ่งสำคัญคือการได้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสุขภาพประชาชน "  [hfocus]

นโยบายนี้ช่วยเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิ 30 บาทได้ - พญ.อรวรรณ ตะเวทิพงศ์

พญ.อรวรรณ ตะเวทิพงศ์ แพทย์ประจำคลินิกเวชกรรมแพทย์อรวรรณ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี กล่าวถึงโครงการนี้ว่า 
 
"นโยบายดังกล่าวได้ช่วยเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบในพื้นที่ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) และผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาททั้งในพื้นที่และไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหน เมื่อเดินทางมาที่ จ.เพชรบุรี สามารถรับบริการการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยนอกเวลาราชการได้ที่คลินิกฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่พกบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น 
 
       รวมถึงยังเป็นการทำให้คลินิกฯ ซึ่งเป็นภาคเอกชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายการให้บริการในระดับปฐมภูมิในชุมชน เป็นการลดความแออัดในสถานพยาบาลปฐมภูมิของรัฐอย่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) และที่สำคัญคือในโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ที่ประชาชนมักเลือกไปรับบริการ ทั้งที่อาการอาจจะไม่ได้หนักหรือร้ายแรงมาก 
 
         ส่วนการส่งต่อทางคลินิกฯ ก็สามารถที่จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว เพราะจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในแอปพลิเคชัน หรือส่งผ่านระบบข้อมูลให้คนไข้สามารถไปที่โรงพยาบาลรับส่งต่อได้เลยก็ได้เช่นกัน"  [hfocus]

สิ่งที่จะเกิดต่อไป จากเครือข่ายสถานพยาบาล-ร้านยาที่จะร่วมโครงการ

โครงการ 30 บาท รักษาทุกที่ รอบนี้ ไม่เพียงจำกัดการให้บริการด้านสาธารณสุข ไว้กับเฉพาะโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น แต่ได้ขยายขอบเขตเครือข่าย ออกไปยังคลินิกและร้านยา โดยสปสช. ได้ทำข้อตกลงร่วมกับ 4 สภาวิชาชีพ ได้แก่ สภาเภสัชกรรม  สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ และ ทันตแพทยสภา เพื่อให้สถานพยาบาลแต่ละวิชาชีพ มาร่วมให้บริการกับประชาชน ทำให้กระจายบริการออกไปทั่วประเทศได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง 

4 สภาวิชาชีพ จะมีส่วนร่วมและพัฒนาระบบ 30 ในทิศทางอย่างไร ดังนี้  [hfocus]

สภาเภสัชกรรม
  • ปัจจุบันมีร้านยา 2,200 แห่งเข้าร่วมเป็นร้านยาคุณภาพ ให้บริการดูแลประชาชนเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ รับยาได้ที่ร้านยา เป็นด่านหน้าดูแลประชาชน ลดความแออัด และร้านยายังเป็นหน่วยจ่ายยา สำหรับการรับยานอกโรงพยาบาล ประชาชนไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อรับยาแบบเดิม  
  • ร้านยาจะทยอยขึ้นทะเบียนร่วมโครงการมากขึ้น ผ่านระบบหมอพร้อม ที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลประวัติคนไข้ ซึ่งคือหัวใจที่จะทำให้เข้าถึงข้อมูลและซักประวัติเบื้องต้น เพื่อจ่ายยาได้
  • ระบบออนไลน์ เชื่อมโยงนี้ จะทำให้เชื่อมต่อกับการทำงานของแพทย์ได้ แพทย์วินิจฉัยโรคมา มีใบสั่งยาเข้าระบบ ทางเภสัชกรร้านยาก็สามารถจัดยาตามแพทย์สั่งได้


สภาการพยาบาล
  • คลินิกพยาบาลเป็นงานการบริการตามขอบเขตวิชาชีพโดยตรง และสอดคล้องกับการทำงานโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ อยู่แล้ว หน้าที่หลักของคลินิกพยาบาล คือ ปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ ดูแลคนไข้ตามที่แพทย์กำหนด แต่จะไม่สามารถวินิจฉัยและออกแผนการรักษาได้ การจ่ายยาก็เป็นจ่ายยาเบื้องต้น ตามข้อกำหนดของการรักษาโรคเบื้องต้น 
  • อุปสรรคเล็กน้อย คือประเด็นเรื่องคีย์ข้อมูล หากลดขั้นตอนตรงนี้ได้จะดีมาก (ต้องทำ 2 อย่างทั้ง ให้บริการและคีย์ข้อมูลการบริการ)

สภาเทคนิคการแพทย์
  • คลินิกเทคนิคการแพทย์ จะให้บริการเกี่ยวกับ เจาะเลือด ตรวจเลือด สารคัดหลั่งต่างๆ ปัสสาวะ เสมหะ ฯลฯ ที่แพทย์กำหนดเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัย การมีคลินิกเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมโครงการ จัดว่ามีความสำคัญเพราะปกติประชาชนจะต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลเท่านั้น ทำให้เกิดความแออัดและเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายมาก จนบางครั้งประชาชนละเลย คลินิกเทคนิคการแพทย์จะมาช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลได้โดยตรง ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายกว่า ต้นทุนลดลงอย่างชัดเจน
  • ปัจจุบันคลินิกที่เข้าร่วมประมาณ 100 แห่ง และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
  •  
  • ความมั่นใจด้านมาตรฐาน เป็นสิ่งสำคัญ  สภาฯ กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานของผลแล็ป ให้ถูกต้องแม่นยำตามมาตรฐาน มีการรับรอง สร้างความเชื่อมั่นว่าเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะตรวจจากคลินิกใด
  • การร่วมโครงการเป็นโอกาสสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนถึงการมีอยู่และความสำคัญของคลินิกเทคนิคการแพทย์ ทำให้ประชาชนรู้จักมากขึ้น และโอกาสที่สิทธิ์สุขภาพอื่นๆ จะเข้ามาเพิ่มขึ้นด้วย

ทันตแพทยสภา
  • งานบริการทันตกรรม จะมาปรับปรุงให้เหมาะสมมากขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียว โดยการเรียงลำดับความสำคัญใหม่ในการบริการทันตกรรม
  • "เดนท์คลาวด์" ที่จะให้คลินิกคีย์ข้อมูลขึ้นเดนคลาวด์ทั้งหมด จะทำให้มีข้อมูลการรักษาส่งถึงกัน ทั้ง รพ.และคลินิกทันตกรรม และเพื่อเบิกจ่ายเงินจากแพลทฟอร์ม 
 

ข้อกังวล จากหน่วยบริการ

จากการดึงเอาคลินิกและร้านยามาเข้าร่วมโครงการ ทำให้การบริการขยายไปได้กว้างและเร็ว ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศได้มากขึ้นตามเป้าหมาย แต่กระนั้น มีข้อห่วงใยข้อกังวลบางประการ สะท้อนออกมา ในหลายประเด็น 
  • การต้องวางเงินมัดจำ สำหรับคลินิกและร้านยา มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ 
  • กรณีร้านยา มีประเด็นเรื่องภาษีเข้ามาเป็นปัจจัย เพราะในการบริการมีทั้งค่าบริการ และ ค่ายา (ค่าสินค้า) แตกต่างจากสถานพยาบาล ที่จะมีเพียงค่าบริการ 
  • การบันทึกข้อมูล ทำให้คลินิกมีงานมากขึ้น นอกเหนือจากการให้บริการอย่างเดียว  ทำให้ต้องใช้เวลามากขึ้น เสนอให้ลดขั้นตอนตรงนี้ 
  • ความกังวลเรื่องการเบิกจ่าย ในเรื่องทั้งวิธีการและจำนวน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด