9 ตุลาคม 2565 เวลา 13.21 น. โรงพยาบาลเกาะพะงัน และศูนย์กู้ชีพนเรนทรอ่าวไทย ได้ร้องขอการ สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเด็กหญิงชาวอิสราเอล อายุ 6 ปี 11 เดือน มีประวัติสัมผัสแมงกะพรุนกล่อง มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณแขนและขาทั้งสองข้าง หลังจากนั้นหัวใจหยุดเต้น
แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Post cardiac arrest from Box Jellyish Venom (ภาวะหัวใจหยุดเต้นหลังสัมผัสพิษแมงกะพรุนกล่อง) จำเป็นต้องได้รับการรักษาและดูแลใกล้ชิดโดยกุมารแพทย์ ซึ่งเกินศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาลเกาะพะงัน
นพ.ฐานุวัตร ทิพย์พินิจ แพทย์เจ้าของไข้ ได้ประสานงานส่งต่อ รพ.สุราษฎร์ธานี แพทย์ผู้ให้การรักษาคือ พญ.นพวรรณ พงศ์โสภา กุมารแพทย์ ทารกแรกเกิด แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินท้องที่และหัวหน้าทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ พญ.ธัญวรรณ กุศลชู ประสานงานผ่านศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อแจ้งขอสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยกองบิน7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมื่อเวลา 16.54 น. ผู้ป่วยได้ส่งต่อ เข้ารับการรักษาที่หออภิบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤตเป็นที่เรียบร้อย การส่งต่อครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ประเภทอากาศยานและทีมปฏิบัติการ
สำหรับประเภทอากาศในภารกิจฉุกเฉินครั้งนี้ ได้แก่ ยานเฮลิคอปเตอร์ EC725
มีชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย น.ต.ปิยะวัฒน์ ด้วงพิบูลย์ และ ร.อ.เอกลักษณ์ จำปาม่วง
ชุดลำเลียงทางอากาศประกอบด้วย
พ.ว.รัชนาภรณ์ ฟูแก้ว โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
น.ท.หญิง เหมวรรณ หมายสุข และ พ.อ.อ.กิตติชัย พางาม โรงพยาบาลกองบิน 7