กำหนดการ
10.00 - 10.20 น. ลงทะเบียน
10.20 - 10.30 น. กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
10.30 - 11.30 น. แถลงข่าว ผลการวิเคราะห์ “การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูป”
“การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูป บนตัวหีบห่อผลิตภัณฑ์ และจุดจำหน่าย”
โดย นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
"ผลการวิเคราะห์การสำรวจฉลากเนื้อหมูสดและเนื้อไก่สด และการโฆษณา ณ สถานที่ขาย”
โดย อ.ภก.ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
"ข้อสังเกตจากฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูป การโฆษณา ณ สถานที่ขาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”
โดย ผศ.ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"สรุปผลการวิเคราะห์ ข้อเสนอต่อหน่วยงานกำกับ และคำแนะนำสำหรับผู้บริโภค”
โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
11.30 น. จบการแถลงข่าว
* วิทยากรดำเนินรายการ : ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
เกี่ยวกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เริ่มก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้ดำเนินการด้านระบบยามาอย่างต่อเนื่อง และได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำรายงานแผนพัฒนาระบบยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคปี 2550 ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดจากระบบยาที่มีต่อ สุขภาพ หากมีกลไกที่เข้มแข็งในการติดตามเฝ้าระวัง และจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบยา จะสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
ในการดำเนินงานระยะที่ 2 กพย. ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา" เพื่อสร้างต้นแบบระบบเฝ้าระวังการดำเนินงานตามนโยบายแห่งชาติด้านยาและยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยาแห่งชาติ ด้วยการผนึกกำลังภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะจากภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคประชาสังคม ทำหน้าที่เป็นกลไกเฝ้าระวังระบบยาแบบครบวงจร สะท้อนสภาพปัญหาจากพื้นที่ พร้อมทั้งจัดการความรู้เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับฝ่ายวิชาการ เพื่อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็นนโยบายสำคัญ คือ เรื่องยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัย การเข้าถึงยา และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายภาคส่วนร่วมกันให้ความเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วน นอกจากนี้ จะได้พัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมการพัฒนาให้เกิดกองทุนเฝ้าระวังและส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาของประชาชน และส่งเสริมการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติรวมถึงมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ในการดำเนินงานระยะที่ 3 นี้ กพย. ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา