วันผู้บริจาคโลหิตโลก (WBDD) จัดขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี งานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 โดยองค์กรระหว่างประเทศหลัก 4 องค์กร ได้แก่ องค์การอนามัยโลก สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ สหพันธ์องค์กรผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (IFBDO) และสมาคมการถ่ายเลือดระหว่างประเทศ (ISBT) เพื่อให้เป็นวันที่ระลึกถึง ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) ชาวออสเตรีย ผู้คันพบหมูโลหิตระบบเอบีโอครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการคันพบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก
และเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการใช้เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดที่ปลอดภัย และเพื่อขอบคุณผู้บริจาคโลหิตสำหรับของขวัญจากเลือดที่สมัครใจและช่วยชีวิตได้
วันผู้บริจาคโลหิตโลกเป็น 1 ใน 11 แคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกอย่างเป็นทางการที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พร้อมด้วยวันสุขภาพโลก วันโรค Chagas โลก วันวัณโรคโลก สัปดาห์การสร้างภูมิคุ้มกันโลก วันความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก วันมาลาเรียโลก , วันงดสูบบุหรี่โลก, วันโรคตับอักเสบโลก, สัปดาห์การให้ความรู้ต้านจุลชีพโลก และวันเอดส์โลก [
wikipedia]
สำหรับปี 2567 เป็นวาระโอกาสครบรอบ 20 ปี วันผู้บริจาคโลหิตโลก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้จัดทำโครงการ “วันผู้บริจาคโลหิตโลก 2567 World Blood Donor Day 2024" ขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2567 (5 วัน) ภายใต้แนวคิด “เฉลิมฉลอง 20 ปี แห่งการให้ ขอบคุณจากใจถึงผู้บริจาคโลหิต” เพื่อขอบคุณผู้บริจาคโลหิต พลาสมา และเกล็ดเลือด พร้อมสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นของการบริจาคโลหิต รณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิตมีส่วนร่วมในการช่วยชีวิตผู้ป่วย เพราะโลหิตยังคงเป็นยารักษาโรคที่สำคัญซึ่งต้องได้มาจากการบริจาคเท่านั้น ผู้บริจาคโลหิตในโครงการฯ จะได้รับเสื้อยืดวันผู้บริจาคโลหิตโลก เป็นที่ระลึกแทนคำขอบคุณ
ผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิต ทำได้ที่
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Stations) 7 แห่ง ได้แก่ สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค) เดอะมอลล์ใลฟ์สโตร์ สาขาบางแค สาขาบางกะปิ สาขางามวงศ์วาน สาขาทำพระ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียมและบ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)
- ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา และภูเก็ต
- โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ 8 แห่ง ในกรุงเทพฯ ได้แก่
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
โรงพยาบาลตำรวจ
คณะแพทยศาสตร์ชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
โรงพยาบาลราชวิถี
โรงพยาบาลสิรินธร
ฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 02-2564300, 02-2639600 ถึง 99 ต่อ 1760, 1761
เตรียมพร้อมก่อนมาบริจาค
เตรียมพร้อมก่อนมาบริจาค
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชม.
- สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต งดบริจาคเมื่อรู้สึกไม่สบาย
- หากอยู่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง
- ดื่มน้ำ 300-500 ซีซี ก่อนบริจาคโลหิต ช่วยลดภาวะอาการแทรกซ้อนระหว่างและหลังบริจาคโลหิต
- รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชม.
- งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชม.
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 24 ชม.
- ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
++ จุดรับบริจาคพื้นที่จังหวัดอื่น ++
จ.ลำปาง ตารางออกหน่วย รับบริจาคโลหิต ประจำเดือนมิถุนายน 2567
จ.แพร่ กำหนดการออกหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ ประจำเดือนมิถุนายน 2567