ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

8 แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ผลักดันไทยสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษ

8 แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ผลักดันไทยสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษ Thumb HealthServ.net
8 แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ผลักดันไทยสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษ ThumbMobile HealthServ.net

จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 สถิติการจดทะเบียนใหม่ของยานยนต์ไฟฟ้า แบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV) ในครึ่งปีแรก (พ.ศ.2562) มีจำนวนมากถึง 15,366 กัน ซึ่งคิดเป็นกว่า 75 เปอร์เซนต์ของยอดจดทะเบียนปี2561 ทั้งปีที่มีจำนวนทั้งสิ้น 20,344 กัน ในส่วนของการจดทะเบียนใหม่ประเภทยานยนต์แบบแบตเตอรี่ (BEV) ในครึ่งปีแรก (2562) มีจำนวน 420 คัน ซึ่งสูงกว่ายอดจดทะเบียนใหม่ของปี 2561 ทั้งปีที่มีอยู่ 325 คัน

8 แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ผลักดันไทยสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษ HealthServ
  นอกจากนี้สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) คาดการณ์ว่ามีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะประมาณ 340 แห่งทั่วประเทศจะเห็นได้ว่าตัวเลขการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในครึ่งปีแรก (พ.ศ. 2562) มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มการจดทะเบียนจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ได้ยื่นข้อเสนอการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้าในประเทศไทยอีกหลายบริษัทมีทั้งผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการใหม่ ทำให้มั่นใจได้ประเทศไทยกำลงเดินหน้าได้ยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน
 
 
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้มีส่วนในการเสนอแนะและผลักดันการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งการศึกษาและติดตามนโยบายและการดำเนินการของภาครัฐ พร้อมการจัดระดมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในหลายเวที หลายการประชุมและในหลายโอกาส พร้อมทั้งได้จัดข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยล่าสุดออกมาอย่างเป็นทางการโดยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาทางสมาคมได้จัดแถลงข่าวข้อเสนอดังกล่าวเพื่อเผยแพสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการอีกด้วย

 
 
8 แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ผลักดันไทยสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษ HealthServ
 โดยข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยรวมทั้งหมด 8 ข้อหลักที่จะเสนอให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่
 
1. การจัดทำแผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าแบบบูรณาการ (EV Roadmap) อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องมีการกำหนดเป้าหมายของจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเหมาะสม พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศตลอดห่วงโซ่อุปทานนอกจากนี้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการนโยบายโดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อการบูรณาการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 
2. การพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมาย อาทิ ให้รถสามล้อไฟฟ้าและรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี รวมไปถึงการส่งเสริมการใช้รถสามล้อไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งเสนอให้มีการแยกการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าระหว่างประเภทปลั๊กอิน ไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV)
 
 
3. การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยควรออกมาตรการดังต่อไปนี้
3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนซื้อยานยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสม เช่น การลดภาษีส่วนบุคคลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
 
3.2 เพิ่มแรงจูงใจสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ การออกมาตรการสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามที่จอดสาธารณะและเพิ่มสิทธิ
 
3.3 หน่วยงานรัฐควรเป็นผู้นำด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้าก่อนด้วยการจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่
 
3.4 ขยายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถโดยสารสาธารณะ รถตุ๊กตุ๊ก รถแท็กซี่ ควรเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด
 
3.5 สนับสนุนให้มีการแยกประเภทป้ายทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบบเฉพาะ โดยการใช้สีและสัญลักษณ์บนป้ายทะเบียนที่สามารถมองเห็นและแยกแยะได้ สำหรับป้ายที่เป็นประเภทแบตเตอรี่หรือไฟฟ้า 100 เปอร์เซนต์ (BEV) และประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชน และการมีส่วนร่วมของผู้ขับขี่ในการช่วยลดมลภาวะและรักษาสิ่งแวดล้อม
 
4. การส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถสามล้อไฟฟ้า
 
5. การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยควรจัดให้มีการสนับสนุนการสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ และการพัฒนาแพลตฟอร์มแบบเปิดสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Open Platform) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำแพลตฟอร์มมาต่อยอดได้
 
6. การจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยควรต้องมีหน่วยงานทดสอบและรับรองมาตรฐานของยานยนต์ไฟฟ้าและเบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพควบคู่กันโดยแล้วใช้แนวทางตามมาตรฐานสากล
 
7. การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเนื้อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า อย่างเช่น การสนับสนุนให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ
 
8. การส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้าเช่น ให้มีการอบรมและการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพในสถาบันการศึกษา
 
หากมีการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างจริงจังและแพร่หลาย จะสามารถช่วยลดปัญหามลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อนที่กำลังลุกลามไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย รวมทั้งจะทำให้ประเทศเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนและเป็นการนำประเทศไปสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษได้อย่างแน่นอน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด