การประเมินผู้บาดเจ็บรอบแรก (Primary Survey) ในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจะแค่ประเมิน ABC เบื้องต้น หากเป็นเคส Trauma ก็จะประเมิน X รวมเข้าไปด้วย ในการประเมินรอบนี้ ล่ามอาจยังจัได้ยินศัพท์ที่เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์อยู่บ้าง และอาจจะได้ยินเยอะหน่อยในการประเมินที่สอง (Secondary Survey) ดังนั้น ล่ามเตรียมศัพท์ด้านกายวิภาคและ สรีระวิทยาไว้เลยนะคะ และอาจได้ช่วยแปลอีกในชั้นพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมอีกด้วย
ศัพท์กลุ่มงานกู้ชีพกู้ภัย - ฉุกเฉินที่พบเห็นได้ทั่วไป
• Pulse = อัตราการเต้นของหัวใจ
• BP (Blood pressure) = ความดันโลหิต
• O2 Sat (Oxygen Saturation) = ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
• เปิด IV ( intravenous) = การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
• ผล CT brain (Computerized Tomography brain) = ผลการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
• Extern = นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6 นักศึกษาแพทย์ที่กำลังเรียนปีการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ขั้นต้น มักจะถูกเรียกว่า “หมอ” เพราะต้องลงมือปฏิบัติกับคนไข้จริง ต้องทำหน้าที่ให้ได้เหมือนหมอทุกอย่าง แต่จะไม่สามารถสั่งการเองได้โดยตรง จะต้องอยู่ในความควบคุมของอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุนอย่างเข้มงวด
Arrest = ภาวะหัวใจหยุดเต้น ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะสมองทำให้ผู้ป่วยมีอาการหมดสติ ซึ่งหากพบผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรรีบทำการกดหน้าอกช่วยฟื้นคืนชีพทันที
• CPR (CARDIO-PULMONARY RESUSCITATION) = การช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการปั๊มหัวใจ
• Resuscitation Room = ห้องกู้ชีพ
• EMT (Emergency Medical Technician) = พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ สามารถกู้ชีพขั้นต้น และขับแอมบูแลนซ์ได้
• ET-Tube (Endotracheal tubes) = ท่อช่วยหายใจ
• Tension pneumothorax = ภาวะลมรั่วในปอดฉับพลันจนความดันโลหิตต่ำลง มีความจำเป็นต้องใช้เข็มขนาดใหญ่เจาะระบายลมออก และใส่สายระบายทรวงอก เพื่อให้ลมได้ระบายออกไป
• Trauma = การบาดเจ็บ
• Primary Survey = การตรวจประเมินค้นหาภาวะที่คุกคามต่อขีวิต
• Case Advance : คนไข้ที่ต้องได้รับการปฎิบัติการกู้ชีพฉุกเฉินขั้นสูง
• Case Basic : คนไข้ที่ต้องได้รับการปฎิบัติการกู้ชีพฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน
• Dyspepsia : โรคกระเพาะอาหาร
• Ruptured Abdominal Aortic Aneurysm : ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก
• Discharge : อนุญาตให้คนไข้กลับบ้าน
• Round Ward : ตรวจคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
• Admit : การรักษาแบบผู้ป่วยใน ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล
• EKG Sinus Rhythm = คลื่นไฟฟ้าหัวใจเต้นปกติ Normal Sinus Rhythm เป็นจังหวะการเต้นของหัวใจในภาวะปกติ อัตรา 60 – 100 ครั้ง/นาที จังหวะสม่ำเสมอ
• Cath Lab = การสวนหัวใจ เป็นการใช้สายสวนขนาดเล็ก ใส่เข้าในหลอดเลือดแดงเพื่อฉีดสีดูความผิดปกติของเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างแม่นยำ
• EKG เป็น VT มี Pulse = คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องล่าง (Ventricular Tachycardia) เมื่อหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากก็อาจทำให้ไม่สามารถสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทำให้ความดันโลหิตลดลง การรู้สึกตัวลดลง เจ็บหน้าอก เป็นต้น
• Synchronized Cardioversion = การช็อกไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ยังมีชีพจร และมีภาวะคุกคามต่อชีวิต เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตลดลง การรู้สึกตัวลดลง เจ็บหน้าอก เป็นต้น
• Load IV = การให้สารน้ำปริมาณมากทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว
• Monitor = การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
• Maintain Airways = ดูแลระบบทางเดินหายใจเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญในการช่วยการหายใจของผู้ป่วย เพราะถ้าเปิดทางเดินหายใจได้ช้าหรือช่วยหายใจไม่ได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจน ก็จะมีผลเสียต่อสมองแบบถาวร หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
• 5th Intercostal space anterior to midaxillary line = ช่องซี่โครงที่ 5 บริเวณแนวหน้าต่อรักแร้ เป็นบริเวณที่ผนังทรวงอกบาง ช่องระหว่างกระดูกซี่โครงกว้าง และอยู่ห่างจากอวัยวะที่สำคัญ เป็นตำแหน่งที่ใช้ในการเจาะระบายลมในภาวะ Tension pneumothorax
• Heart Rate = อัตราการเต้นของหัวใจ ปกติอัตราการเต้นจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที ถ้าสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป ถือว่าหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย เล่นกีฬา ความตื่นเต้น ความเครียด หรือความวิตกกังวล
ศัพท์การแพทย์สำหรับงานกู้ชีพ-กู้ภัย ตอนที่ 2
• Oropharyngeal airway (mouth gag), (airway) = อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ
• Suction = เครื่องดูดเสมหะ
• Stethoscope = หูฟัง
• Blood pressure (BP.) = ความดันโลหิต
• Splint = การดาม
• Stop bleed = ห้ามเลือด
• Glucometer =เครื่องวัดค่าน้ำตาลในกระแสเลือด
• Elastic Bandage (EB.) = ผ้าพันชนิดยืด
• Defibrillator = เครื่องกระตุกหัวใจ
• cervical collar = ปลอกคอ
• Pulse Oximeter = เครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของ O2 ในกระแสเลือด
• Treatment = การรักษา
• Diagnosis = การวินิจฉัย
• Vital sign = สัญญาณชีพ
• Temperature = อุณหภูมิ
• Pulse = ชีพจร
• Respiration = การหายใจ
• Blood pressure = ความดันโลหิต
• Observe = สังเกตอาการ
• Tepid sponge = เช็ดตัวลดไข้
• Transfer = การย้ายผู้ป่วย
• Discharge = การจำหน่ายผู้ป่วย
• Sphygmomanometer = เครื่องวัดความดันโลหิต
• Needle = เข็ม
• Syringe = กระบอกฉีดยา
• Intravenous Fluid (IV. Fluid) = สารน้ำ (น้ำเกลือ)
• Medicut = เข็มแทงน้ำเกลือ
• I.V. set = ชุดให้สารน้ำ
• Extension = สายต่อชุดให้น้ำเกลือ
• 3-way = ข้อต่อ 3 ทาง
• Tourniquet = สายยางรัดแขน
• Gauze = ผ้าก๊อซ
• Dressing = การทำแผล
• Top gauze = ผ้าก๊อซหุ้มสำลี (ใช้พันแผลขนาดใหญ่)
• Micropore = พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกระดาษ
• Transpore = พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดพลาสติก
• Ambubag = ลูกยางบีบช่วยการหายใจ
• Abnormal = ผิดปกติ
• Abortion = การแท้ง
• Artery = เส้นเลือดแดง
• Vein = เส้นเลือดดำ
• B.P. drop = ความดันเลือดต่ำ
• Brain = สมอง
• Chills = หนาวสั่นจากไข้สูง
• Coma = ภาวะหมดสติ ไม่รู้สึกตัว
• Complication = โรคแทรกซ้อน
• Cyanosis = อาการเขียวจากการขาดออกซิเจน
• Secretion = สารคัดหลั่ง
• Edema = บวม
• Electrodiogram (EKG) = เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
• Expire = หมดอายุ
• Infection = การติดเชื้อ
• Jerk = เคาะเข่า
• Nausea = คลื่นไส
• Nipple = หัวนม
• Pain = ความปวด
• Pale = ซีด
• Paralysis (Paralite) = อัมพาต
• Rupture = การแตก
• Sick = ป่วย
• Side effect = ผลข้างเคียง
• Sputum = เสมหะ
• Stat = ทันที
• Stomach = กระเพาะอาหาร
• Stress = เครียด
• Therapy = การรักษา
• Unconscious = ไม่รู้สึกตัว
• Urine = ปัสสาวะ
• Urine analysis = การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
• Vomit = อาเจียน
• Wound = แผล
• Surgery = ศัลยกรรม
• Medication = การรักษาด้วยยา
• Pediatric = กุมารเวชกรรม
• Obstetric = สูติกรรม
• Gynecology = นรีเวชกรรม
• Orthopedic = กระดูกและข้อ
• Hemodialysis = ห้องล้างไต
• Physical therapy = แผนกกายภาพบำบัด
• Pharmacy = ห้องจ่ายยา
• Emergency room = ห้องฉุกเฉิน
• Intensive care unit (I.C.U) = แผนกผู้ป่วยหนัก
• Operating room (O.R) = ห้องผ่าตัด
• Anesthesia (Anes) = แผนกดมยา
• Recovery room (R.R.) = ห้องพักฟื้น
• Labour room (L.R) = ห้องคลอด
• Ward = ตึกผู้ป่วย
• Mask = ผ้าปิดปากและจมูก
ศัพท์การแพทย์สำหรับงานกู้ชีพ-กู้ภัย ตอนที่ 3
• Frontal bone = กะโหลกศีรษะส่วนหน้า
• Cranium = กระดูกศีรษะ
• Mandible = กระดูกขากรรไกร
• Cervical vertebrae = กระดูกสันหลังส่วนคอ
• Clavical = กระดูกไหปลาร้า
• Scapula = กระดูกสะบัก
• Humerus = กระดูกต้นแขน
• Pelvis = กระดูกสะโพก
• Ulna = กระดูกปลายแขนด้านใน
• Carpus = กระดูกข้อมือ
• Femur = กระดูกต้นขา
• Patella (kneecap) = กระดูกสะบ้า
• Tibia = กระดูกปลายขาด้านใน
• Fibula = กระดูกปลายขาด้านนอก
• Heart = หัวใจ
• Kidney = ไต
• Nasal passage = โพรงจมูก
• Pharynx = คอหอย
• Epiglottis = ฝาปิดกล่องเสียง
• Larynx = กล่องเสียง
• Esophagus = หลอดอาหาร
• Trachea = ท่อลม
• Bronchus = หลอดลม
• Left lung = ปอดซ้าย
• Ribs = กระดูกซี่โครง
• Diaphragm = กระบังลม
• Stomach = กระเพาะอาหาร
• Spleen = ม้าม
• Liver = ตับ
• Appendix = ไส้ติ่ง
• Pupil = รูม่านตา
• Bladder = กระเพาะปัสสาวะ
• Urethra = ท่อปัสสาวะ
• Penis = องคชาต
• Scrotum = ถุงอัณฑะ
• Testis = อัณฑะ
• Anus = ทวารหนัก
• Cervix = ปากมดลูก
• Vagina = ช่องคลอด
• Uterus = มดลูก
• Ovary = รังไข่