ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย

อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย Thumb HealthServ.net
อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย ThumbMobile HealthServ.net

บทบาทของ "ยาสมุนไพรไทย" ในระบบสาธารณสุข ปรากฎเด่นชัดมากยิ่งขึ้นภายหลังวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ประกาศเพิ่ม "ยาฟ้าทะลายโจร" เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร และกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อันนำมาสู่การเป็นยาพื้นฐานที่ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวตามนโยบาย "เจอแจกจบ"

อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย HealthServ
 
แม้ขณะนี้สถานการณ์ของโควิด-19 จะค่อยๆ ทุเลาลง และเตรียมที่จะปรับเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น หากแต่กระบวนการส่งเสริมสมนไพรไทยจะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปอย่างเข้มข้น อย่างล่าสุดที่ได้มีการเพิ่ม "ยาจากกัญชา" เข้าสู่บัญขียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร จำนวน 8 รายการ ซึ่งประกอบด้วย ตำรับยาแผนไทย 3 รายการและยาน้ำมันกัญชาอีก 5 รายการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยในกลุ่มมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร รวมไปถึงผู้ป่วยลมชักรักษายาก
 
ด้วยโอกาสอันดีที่จะสร้างการตระหนักถึงความสำคัญของสมุนไพรไทยให้มากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2565 ทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงได้จัดงาน "บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร : เข้าถึงถ้วนหน้าต่อยอดภูมิปัญญา พึ่งพาตนเอง" เพื่อตอกย้ำถึงปรัชญาในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรที่มุ่ง "ส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรไทยในระบบบริการสุขภาพเพื่อสนับสนุนการพึ่งพาตนเอง และความมั่นคงทางยา"


 
 
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ระบุว่า การมีบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าถึงยาสมุนไพรที่มีความจำเป็นด้านสาธารณสุขได้ ด้วยความมั่นใจมากขึ้น
 
 
อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย HealthServ
 
นอกจากนี้บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ยังจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความต้องการ (Demand) ของการใช้ยาสมุนไพรภายในประเทศ อันเป็นวิถีของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลก เลือกที่จะทำให้เกิดการพึ่งพาตัวเองอย่างเต็มที่ แทนการผลิตเพื่อส่งออกไปเป็นหลัก
 
 
อย่างไรก็ตาม การที่จะผลักดันให้เกิดการส่งออกเหมือนกับการแพทย์แผนจีนหรือการแพทย์แผนอื่นๆ นั้น รมว.สธ. เชื่อว่าหากยาสมุนไพรไทยที่ผลิตออกมาทำได้ดีในแง่ธุรกิจก็อาจไม่มีความน่ากังวล เพราะมนุษย์ยังจำเป็นต้องใช้ยาในการดำรงชีวิตจึงไม่ใช่สิ่งที่จะโดน Disruption เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ
 
 
ในอีกแง่มุมหนึ่ง รศ.คร.ภญ.จิราภรณ์ ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรอธิบายว่า เมื่อปวดหัวเป็นไข้ ทุกคนมักจะนึกถึงยาพาราเชตามอลเป็นอันดับแรก ทั้งที่มียาแผนไทยที่สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้
 
ดังนั้นบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเข้าถึงการรักษาโรค และทำให้เราไม่ต้องนำเข้ายาจากต่างประเทศมากเกินไป ซึ่งขณะนี้มียาสมุนไพรจำนวน 94 รายการที่ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้ในการรักษาแล้ว
 
ไทยมียาดีๆ อยู่เยอะ แต่ประชาชนไม่ค่อยให้ความนิยมในการใช้มากนัก ทำให้ที่ผ่านมาภาคธุรกิจเอกชนจึงไม่ค่อยเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอรายการยาสมุนไพรเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ตามกลไกที่วางไว้เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน ซึ่งเมื่อยาถูกเสนอชื่อเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติและบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์การรักษาแล้ว ก็จะทำให้มีคนใช้เยอะมากขึ้น" รศ.ดร.ภญ.จิราภรณ์ฉายภาพสถานการณ์
 
 
ดังนั้นเป้าหมายใหญ่ของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรในขณะนี้ จึงต้องการประชาสัมพันธ์และส่งสารไปถึง "ภาคธุรกิจเอกชน" ให้เข้ามารับรู้ถึงความสำคัญและร่วมกันทำให้ "ยาสมุนไพรไทย" ได้รับการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอรายการยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร
 
ขั้นตอนถัดจากนี้ ประธานคณะอนุกรรมการฯ ย้ำว่านอกจากการสื่อสารไปถึงภาคเอกชนแล้วยังต้องหนุนเสริมการให้ความรู้แก่ "ประชาชน" ผ่านกิจกรรม ช่องทางต่างๆ รวมทั้งในภาคส่วนของ "บุคลากรด้านสาธารณสุข" เองที่จะเข้ามาให้ความสนใจกับยาสมุนไพรไทย อันเป็นภูมิปัญญาของประเทศ ด้วยวัตถุดิบภายในประเทศ และเสริมสร้างวงจรเศรษฐกิจของประเทศได้

 
 
ลิงค์เพิ่มเติม

คู่มือประกอบการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2564 (pdf) LINK

คู่มือประกอบการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2564 (pdf) อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย
คู่มือประกอบการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2564 (pdf) อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย
จัดทําโดย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2565

คู่มือประกอบการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนพร พ.ศ. 2564 ประกอบด้วยปรัชญา หลักการเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรในรอบปี 2564 - 2566 ขั้นตอน กลไกและกระบวนการทำงานในการคัดเลือกยาจากสมุนไพร รวมทั้งรายการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรจำนวน 94 รายการตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติด้านสมุนไพร เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564 ซึ่งถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 และคู่มือการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ตามประกาศคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรเรื่องคู่มือการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564
 
การจัดทำคู่มือประกอบการใช้บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สั่งใช้ยาในระบบบริการสาธารณสุข ได้ทราบถึงรายการยาจากสมุนไพรที่ประชาชนจะได้รับตามสิทธิที่พึงมีและวิธีการใช้ยาจากสมุนไพรที่ถูกต้อง ส่งผลให้การใช้ยาจากสมุนไพรมีความปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้ยาจากสมุนไพร
 
คู่มือฉบับนี้ ได้รับความมือจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และที่ขาดไม่ได้คือผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม เภสัชกรรม เวชกรรมไทย แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และนักวิชาการ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา และต่อยอดภูมิปัญญาแผนไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้สั่งยาจะได้ประโยชน์จากคู่มือฉบับนี้ และใช้คู่มือฉบับนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้ยาจากสมุนไพรต่อไป

กระทรวงสาธารณสุขเปิดงาน “บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร” 12 พฤษภาคม 2565 LINK

กระทรวงสาธารณสุขเปิดงาน “บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร” 12 พฤษภาคม 2565 อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย
กระทรวงสาธารณสุขเปิดงาน “บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร” 12 พฤษภาคม 2565 อย.ชวนเอกชน ส่งเสริมใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรไทย
12 พฤษภาคม 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พร้อมด้วย นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมเปิดงาน “บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร” ภายใต้แนวคิด “เข้าถึงถ้วนหน้า ต่อยอด ภูมิปัญญา พึ่งพาตนเอง”  
 
นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงยาจำเป็นด้านสาธารณสุข ไม่เพียงแต่ยาแผนปัจจุบันเท่านั้น ยังผลักดันให้มีการใช้ยาสมุนไพรตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุข เพื่อความมั่นคงทางยาและสนับสนุนการพึ่งพาตนเอง โดยกำหนดให้มีรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรครอบคลุมยาจำเป็นที่ต้องใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน ซึ่งปัจจุบันมีรายการยาจากสมุนไพรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ จำนวน 94 รายการ รวมไปถึงยาจากกัญชา 8 รายการ ประกอบด้วย ตำรับยาแผนไทย 3 รายการ คือ ยาแก้ลมแก้เส้น ยาศุขไสยาศน์ และยาทำลายพระสุเมรุ และ ยาน้ำมันกัญชา 5 รายการ เช่น ยาน้ำมันกัญชาที่มี CBD : THC (1:1) ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือมีอาการปวด และยาน้ำมันกัญชาที่มี CBD : THC (20:1) ในผู้ป่วยลมชักรักษายาก เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่เข้าถึงยาได้ นอกจากนั้น ยังมียาฟ้าทะลายโจร สำหรับผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์โควิด ส่งผลให้ประชาชนที่มีสิทธิ์ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้าถึงยาที่มีคุณภาพได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
 
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนให้ระบบบริการสุขภาพหันมาใช้ประโยชน์จากยาสมุนไพรนั้น นอกจากช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงยาทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย ประชาชน และชุมชน ในการใช้ยาจากสมุนไพรดูแลสุขภาพ อันเป็นการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาวิถีชีวิตพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาไทย และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ การเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรของชุมชน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาจากสมุนไพรไทย สร้างการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย
 
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวต่อไปว่า ในปี 2565 นี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรจะเร่งดำเนินการพิจารณาคัดเลือกยาจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณหรือข้อบ่งใช้ที่ชัดเจน มีส่วนประกอบเป็นสมุนไพรที่สามารถผลิตหรือปลูกได้ในประเทศเป็นหลัก และมีหลักประกันคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาจากสมุนไพรได้เพิ่มมากขึ้น และเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ยาจากสมุนไพรในระบบบริการสาธารณสุขอย่างสืบเนื่องต่อไป 
 
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด