หลังติดเชื้อ COVID- 19 ผู้ติดเชื้อมักมีอาการ Long Covid-19 หรือมีภาวะ Post Covid-19 syndrome
ได้แก่ มีไข้ ตัวร้อน อ่อนล้า อ่อนเพลิย ไอ ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ อารมณ์เปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ วิตกกังวล เป็นต้น
ตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ใช้บำบัดอาการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
ชื่อยาสมุนไพร/สรรพคุณ
ยาฟ้าทะลายโจร
ยาห้าราก (เบญจโลกวิเชียร)
ยาประสะจันทน์แดง
ลดไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ
ยาจันทลีลา
บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แก้ลมปลายไข้
อ่านเพิ่มเติม
ยาหอมนวโกฐ
ยาสมุนไพรแก้กลุ่มอาการ ทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม ลมปลายไข้ หมายถึง อาการผิดปกติหลังจากเจ็บป่วย เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเผลีย ท้องอึด ท้องเฟ้อ ฯ)
อ่านเพิ่มเติม
ยาตรีผลา
ยาแก้ไอมะขามป้อม
ยาประสะมะแว้ง
ยาขิง
น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
ยาแก้ลมแก้เส้น
แก้อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดจุกท้อง
ยาศุขไสยาสน์
เก้อาการนอนไม่หลับ อาการอารมณ์เปลี่ยนแปลง แก้อ่อนเพลีย
อ่านเพิ่มเติม
สอบถามเพิ่มเติม หมอแผนไทยสู้ภัยโควิด ไลน์ @morthai-covid หรือสแกน QR Code
กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
Call Center 02-5917007
ยาฟ้าทะลายโจร ลดไข้ ต้านการอักเสบ LINK
ยาสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร มีข้อบ่งใช้ตามบัญชียาหลักแห่งชาติคือ บรรเทาอาการเจ็บคอ และบรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) โดยมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพรีคลินิก/คลินิก พบว่า ฟ้าทะลายโจรทำให้ความรุนแรงอาการต่าง ๆ ของไข้เจ็บคอ และโรคหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสลดลง และหายเร็วขึ้น
ยาห้าราก (เบญจโลกวิเชียร) แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ LINK
ยาห้าราก ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง เป็นชื่อของตํารับยา เดียวกัน ยาห้ารากเป็นตํารับยาแผนโบราณของไทยที่มีการใช้กันมานานแล้ว โดยมีสรรพคุณในการใช้ แก้ไข้ กระทุ้งพิษ หรือถอนพิษต่างๆ ตํารับยาจะประกอบด้วยรากสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ คนทา ชิงชี่ เท้ายายม่อม มะเดื่อชุมพร และย่านาง ในอัตราส่วนที่เท่ากัน
คำเตือน
ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน
ยาประสะมะแว้ง บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ลดอาการระคายคอ LINK
แพทย์แผนไทยนิยมใช้ทั้งมะแว้งเครือ และมะแว้งต้น มาทำยาโดยเรียกว่า "มะแว้งทั้งสอง" นอกจากนี้ ผลมะแว้ง ยังนิยมนำมากินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก รสชาติออกขม แต่ช่วยให้ชุ่มคอ ขับเสมหะได้ดีมาก
ยาประสะมะแว้งเป็นยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้านและจัดอยู่ในกลุ่มยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ยาหอมนวโกฐ เป็นยาตำรับในบัญชียาวากสมุนไพรแก้กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) LINK
ยาหอมนวโกฐ มรดกทางภูมิปัญญาของประเทศไทยที่มีการใช้ยาหอมกันอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีงานวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์สรรพคุณตามภูมิปัญญาพบว่า ยาหอมมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทส่วนกลาง ที่สามารถใช้บำบัดอาการเป็นลม วิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน ท้องอืค แก้ลมจุกเสียด
มีทั้งชนิดผงและชนิดเม็ด
ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีไข้
ข้อควรระวัง ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรคอกไม้
ยาขิง บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้จุกเสียดท้อง LINK
ข้อบ่งใช้
1. บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด
2..ป้องกันและบรรเทาอาการ คลื่นไส้อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ
3. ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัด
ข้อควรระวัง
1.ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
2. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
3.ไม่แนะนำให้รับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
อาการไม่พึงประสงค์
อาการแสบร้อนบริเวณ ทางเดินอาหาร อาการระคายเคืองบริเวณปากและคอ
ยาแก้ไอมะขามป้อม ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ LINK
มะขามป้อม จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านชนิดหนึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีสูงมาก มะขามป้อมมีประโยชน์มากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย
ยาแก้ไขมะขามป้อม มี 2 ตำรับ
คลิกดูสูตรทั้งสองตำรับ
ข้อห้ามใช้ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
ข้อควรระวัง ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
น้ำมันกัญชา (สูตร อ.เดชา) LINK
น้ำมันกัญชา (สูตร อ.เดชา) DTAM GANJA OIL (DEJA FORMULA) ผลิตโดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นตำรับยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศภายใต้การรักษาโรค กรณีจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (Special Access Scheme)
ขนาดและวิธีใช้ - รับประทานขนาด 1 หยด ทางปาก แล้วปรับขนาดใช้ตามคำสั่งของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน
ยาจันทลีลา บรรเทาไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แก้ลมปลายไข้ LINK
ตำรับยาจันทน์สีลามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคือ แก้ไข้ แก้ปวด และต้านการอักเสบ และมีความปลอดภัยสูงซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของตำรับยาที่จะนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้ และเป็นการสนับสนุนและเผยแพร่ตำรับยาที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน
มีทั้ง ชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดแคปซูล
ข้อควรระวัง ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน
ยาศุขไสยาสน์ แก้อาการนอนไม่หลับ อาการอารมณ์เปลี่ยนแปลง LINK
ยาศุขไสยาสน์ สำหรับ
- สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง มากกว่า 1 เดือน เคยใช้ยาช่วยนอนหลับแล้วไม่ได้ผล ผ่านเกณฑ์ประเมินคะแนนคุณภาพการนอนหลับ คือ PSQI มากกว่า 5 ขึ้นไป
- สำหรับผู้มีภาวะเบื่ออาหาร หรือรับประทานลดลงในช่วง 1 เดือนและอาจมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เคยใช้ยาช่วยเจริญอาหารแล้วไม่ได้ผล