ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

G-Green เครื่องหมายรับรองธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

G-Green เครื่องหมายรับรองธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thumb HealthServ.net
G-Green เครื่องหมายรับรองธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ThumbMobile HealthServ.net

การดำเนินโครงการ G-Green เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ พร้อมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน

G-Green เครื่องหมายรับรองธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม HealthServ
G-Green ยกระดับการผลิตและการบริโภค ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ G-Green ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายในการส่งเสริมศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
 
การดำเนินโครงการ G-Green เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน ตลอดทั้งการผลิตและการบริโภค โดยมีเป้าหมายนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 
สำหรับการประเมินตามมาตรฐาน G-Green นั้น ได้จัดทำไปทั้งหมด 5 โครงการ ประกอบด้วย
 
1.โครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production)
สำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ OTOP
 
2.โครงการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel)
สำหรับผู้ประกอบการโรงแรมหรือรีสอร์ท
 
3.โครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office)
สำหรับสำนักงานทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
 
4.โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)
ดำเนินการในอุทยานแห่งชาติในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
5. โครงการภัตตาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Restaurant)
 
 
 

การดำเนินโครงการ

การดำเนินโครงการนี้โดยหลักจะประกอบด้วยขั้นตอน 2 ส่วน คือ การให้ความรู้และคำแนะนำ (Coaching) กับการประเมินตามเกณฑ์ G-Green โดยคณะกรรมการตรวจประเมินในส่วนของเกณฑ์การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อมจะมี 14 ด้าน ได้แก่ 
 
1.การตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม 
2.ประเมินข้อกำหนดโดยภาคธุรกิจ 
3.ประเมินความเสี่ยง 
4.ประเมินสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น 
5.ประเมินกระบวนการต่างๆ 
6.ประเมินการจัดการผลิตภัณฑ์ 
7.ประเมินผลิตภัณฑ์ 
8.ประเมินการจัดการของเสีย 
9.ประเมินการจัดการพลังงาน 
10.ประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 
11.ประเมินสิ่งอำนวยความสะดวก 
12.ประเมินการปนเปื้อนในพื้นที่ 
13.ประเมินการจัดการป่าไม้ และ 14.ประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
 
สิ่งที่สำคัญ การตรวจประเมินจะต้องมีจริยธรรม นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง และยุติธรรม มีความเป็นมืออาชีพ มีอิสระ และต้องมีหลักฐานประกอบการตรวจประเมิน เพื่อให้โครงการ G-Green ตรงตามคุณภาพมาตรฐาน  
 
บันทึกจากรัฐมนตรี 2564

ท่องเที่ยวหลัง Covid-19 อย่าลืมมองหาตราสัญลักษณ์ G-Green เครื่องหมายรับรองธุรกิจ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเอง ได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า Green Growth การเติบโตสีเขียวกับยุทธศาสตร์ 20 ปี 
 
โดยมีนโยบายส่งเสริมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานสีเขียว (Green Office), โครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production), โครงการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel), อุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) และเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (Green City) ครับ
 
ที่ผ่านมา Green Growth ได้ถูกผลักดันอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามาร่วมโครงการกันอย่างหนาแน่น เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า กลุ่มผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจและหน่วยงานนั้นๆ มีส่วนร่วมกับวิถีชีวิตและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
 
โดยจะมีการมอบรางวัลตราสัญลักษณ์ G-Green ในทุกๆปี แบ่งเป็น 3 ระดับคือ G-Green ระดับดีเยี่ยม (ระดับทอง), G-Green ระดับดีมาก (ระดับเงิน), และ G-Green ระดับดี (ระดับทองแดง) โดยรางวัลนี้จะมีอายุการรับรองเป็นระยะเวลา 3 ปี ครับ
 
สำหรับเกณฑ์พิจารณารางวัลแต่ละประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 
 
เกณฑ์บังคับ 
โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ ดังนี้
* ข้อร้องเรียนด้านมลพิษ
* ข้อร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์
* การใช้วัตถุดิบที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
* การใช้สารเคมีต้องห้ามตามกฎหมายในกระบวนการผลิต
* การใช้แรงงานผิดกฎหมาย
 
เกณฑ์ทั่วไป
เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต (Green Supply Chain)
* นโยบายและการวางแผนการดำเนินการ
* การออกแบบการผลิตวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์
* การจัดการกระบวนการผลิต
* การจัดการผลิตภัณฑ์
* มาตรการด้านอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย
* การจัดการของเสีย
* การอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน
 
ดังนั้นสัญลักษณ์ G-Green นอกจากจะเป็นจุดขายในด้าน Eco-Friendly แล้ว ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ทำให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคทุกคน ได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ทรัพยากร ในการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงปลายทาง อย่างการรีไซเคิลขยะที่เกิดจากธุรกิจของตนครับ
 
สำหรับพี่น้องประชาชน ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อย่าลืมมองหาตราสัญลักษณ์รางวัล G-Green ในการเลือกซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการจากสถานประกอบการต่างๆในครั้งต่อไป เพราะเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆในชีวิตประจำวัน ที่เริ่มจากตัวเรา ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและส่งผลยิ่งใหญ่ในปลายทางได้เช่นกันครับ 

TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา
20 ตุลาคม 2564

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด