สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มเปิดให้บริการการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ปี 2494 จนถึงปัจจุบัน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา และอุปกรณ์ให้การรักษาด้านรังสีรักษาอันทันสมัยที่สุดในประเทศไทย ด้วยงบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท นับว่าเราเป็นผู้นำในการรักษาโรคมะเร็งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีเทคนิค ตลอดจนเป็นสถานที่อบรมศึกษาดูงานของบุคลากรทางรังสีรักษาและโรคมะเร็ง ทั้งจากสถาบันอื่นๆ ในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน เนปาล จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย บังคลาเทศ พม่า เวียดนาม และเกาหลีเหนือ โดยได้รับความร่วมมือจากทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA)
ด้านการบริการ
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความมุ่งมั่นในการรักษามะเร็งด้วยวิธีการมาตรฐาน มีหลักฐานและข้อมูลทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ เราให้การบริการด้วยความจริงใจ และตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติให้มากที่สุด โดยมีการประสานงานการรักษากับทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขา
ติดต่อสอบถาม
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Email address : chulacancer@yahoo.com
ปรึกษาการนัดและการตรวจพบแพทย์ โทร: 02-2564100
ผู้ป่วยใหม่ทำอย่างไร
โดยปกติแล้วสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา จะให้บริการรักษาด้วยรังสีและยาเคมีบำบัด เฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งแล้วเท่านั้น ซึ่งท่านจะต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้ดูแล ซึ่งอาจจะเป็นศัลยแพทย์หรือสูตินรีแพทย์หรือแพทย์หูคอจมูกเสียก่อนจึงจะมารับการตรวจต่อที่เราได้ โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่แล้ว แพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้ส่งปรึกษามายังสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเอง สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่น มีแนวทางปฏิบัติต่อไปนี้
1. เตรียมข้อมูลมาดังต่อไปนี้
ประวัติการรักษา/ใบส่งตัว
ผลการตรวจเลือด
ฟิล์มเอกซเรย์
ประวัติการผ่าตัด
รายงานผลการตรวจชิ้นเนื้อ, รายงานทางพยาธิวิทยา
2. นำข้อมูลมาติดต่อทำบัตรผู้ป่วยที่ตึก ภปร.ชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในเวลาราชการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-16.00 น. แผนที่
3. ติดต่อเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ตึกว่องวานิช ชั้นล่าง แผนที่
4. ผู้ป่วยจะได้รับบัตรนัดเพื่อเข้าที่ประชุมแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา (โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์)
5. ผู้ป่วยได้รับบัตรนัดเริ่มการรักษา
เครื่องมือทางรังสีรักษา
ปัจจุบันมีเครื่องมือทางรังสีรักษามากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่
เครื่องฉายรังสี Linear Accelerator 4 เครื่อง ซึ่งสามารถทำการรักษาฉายรังสีแบบ 3 มิติ แบบปรับความเข้ม 1,000 องศา พร้อมกับการปรับความเร็วของการหมุนและการเคลื่อนที่ของซี่ตะกั่วกำบังรังสี (Volumetric Modulated Arc Therapy) ซึ่งสามารถฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วยที่ฉายรังสีได้ในเวลาอันสั้น พร้อมระบบภาพนำวิถีแบบ 2 และ 3 มิติ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของลำรังสี (Image-guided radiotherapy: IGRT)
เครื่องฉายรังสีความเข้มสูง (TrueBeam) เป็นเครื่องที่ใช้วิธีการฉายลำรังสีโดยไม่ต้องผ่านที่กรองร้งสีให้เรียบ เรียกว่า unflat beam ทำให้ได้อัตราปริมาณรังสีสูงถึง 2,400 cGy/MU สามารถทำการฉายรังสีแบบปรับความเข้มด้วยเวลาอันรวมเร็วจึงเหมาะกับการรักษาที่ให้ปริมาณรังสีสูงใช้จำนวนครั้งการรักษาลดลง
เครื่องฉายรังสีแบบศัลยกรรมความเข้มสูง (TrueBeam) สามารถทำการรักษาฉายรังสีศัลยกรรมบริเวณศีรษะได้อย่างแม่นยำ พร้อมระบบภาพนำวิถีแบบ 3 มิติ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรังสี (Image-guided radiotherapy: IGRT) และมีระบบตรวจสอบตำแหน่งผู้ป่วยตลอดเวลา โดยใช้แสงอินฟราเรด เรียกว่า Align RT
เครื่องจำลองการฉายรังสีด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ซึ่งสามารถให้การจำลองการฉายรังสีทั้งแบบ 3 และ 4 มิติ (CT simulation)
เครื่องจำลองการฉายรังสีด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 2 เครื่อง ( MRI simulation ) ซึ่งสามารถเห็นภาพของเนื้อเยื่อคมชัดกว่าภาพจากเครื่องจำลองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะรอยโรคในสมองและช่องเชิงกราน โดยสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นแห่งแรกในเอเชียที่มีการใช้เทคโนโลยีการจำลองการฉายรังสีด้วยภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้
เครื่องใส่แร่แบบ 3 มิติ พร้อมอุปกรณ์ใส่แร่แบบ 3 มิติ โดยสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ถือเป็นสถานทีแห่งแรกในเอเชีย ที่ให้บริการการใส่แร่แบบ 3 มิติ โดยใช้เครื่องจำลองการฉายรังสีด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้มากที่สุด
เครื่องฉายรังสีเต้านมในห้องผ่าตัดแบบสัมผัส เพื่อทำลายเซลล์เพียงครั้งเดียวหลังการผ่าตัดเอาก้อนออก เพื่อช่วยลดระยะเวลาการฉายรังสีระยะไกลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ ถือว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีเครื่องฉายรังสีเป็นเครื่องแรกของประเทศไทยและเปิดใช้งานตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2554
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
วิธีตรวจคัดกรอง
Papanicolaou smear
- ควรทำทุก 1 ปี ในหญิงทุกคนที่อายุ 35-55 ปี และแนะนำในหญิงทุกคนที่เคยมีประวัติเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ถ้าปกติติดต่อกัน 3 ปี ต่อไปทำทุก 3 ปี
การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ
- ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
- ไม่มีการเหน็บยาในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
- ห้ามล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
- งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจ
วิธีการตรวจ Pap smear technique
- ใส่ปลายแหลมของ Modified Ayre Spatula เข้าในรูปากมดลูก
- ดันส่วนโค้งของ Spatula ชิดปากมดลูก
- หมุน Spatula ด้วยแรงกด จนคิดว่าได้เซลล์จากทุกจุดในบริเวณปากมดลูกทั้งข้างนอกและใน
- ป้ายลงบนแผ่นกระจกโดยวางขนาน
- ค่อย ๆ ลาก Spatula ไปปลายใสของแผ่นกระจก ป้านไปทางเดียว
- ทำอย่างรวดเร็วและเกลี่ยให้บาง
- แช่ในขวดน้ำยา Alcohol
ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่มักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไปก็มักจะมีต่อมลูกหมากโตอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดอาการ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่งแรง ปัสสาวะบ่อย ถ้าอาการเป็นมากอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออกซึ่งอาการเหล่านี้แยกได้ยากกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจึงจำเป็นต้องตรวจดูว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่โดยใช้วิธีดังนี้
1. การตรวจทางทวารหนัก
เป็นการตรวจโดยแพทยย์จะใช้นิ้วมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมากที่อยู่ทางด้านหน้าช่วยในการแยกต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ในบางรายควรปีละครั้ง
2. การตรวจเลืออเพื่อดูระดับ พี-เอส-เอ (PSA= Prostatic Specific Antigen) ระดับ พี-เอส-เอ ในเลือดจะสัมพันธ์กับโรคของต่อมลูกหมาก โดยถ้ามีระดับสูง มากกว่าค่าปกติมากจะช่วยบ่งชี้ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรรับการตรวจปีละครั้ง
3. การตรวจโดยวิธีอัลตร้าซาวนด์ผ่านเข้าทางทวารหนัก (Transrectal ultrasound) แพทย์จะใช้วิธีตรวจนี้เมื่อมีข้อสงสัย, ไม่ได้ใช้ตรวจในผู้ป่วยทุกราย เช่น เมื่อตรวจทาง ทวารหนักแล้วพบความผิดปกติ การตรวจจะทำโดยสอดหัวตรวจขนาดเล็กเข้าไปในทวารหนักแล้วดูภาพการสะท้อนของคลื่นในจอคอมพิวเตอร์
ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
1. การตรวจที่ใช้คัดกรองมะเร็งปอดชนิดต่างๆ
มีการนำการตรวจคัดกรองมาใช้เนื่องจากการตรวจเหล่านี้ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปอดระยะต้น และลดอัตราการเสียชีวิต
จากมะเร็งปอด อย่างไรก็ดีไม่มีการวิจัยทางการแพทย์พบว่าการตรวจคัดกรองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งปอด
นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาการตรวจคัดกรองที่มีประโยชน์สูงและความเสี่ยงต่ำ การศึกษาเรื่อง การตรวจคัดกรองมะเร็ง
มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าการวินิจฉัยมะเร็งปอดได้ในระยะต้นๆ ซึ่งยังไม่มีอาการจะช่วยลดอัตราในการเสียชีวิตจากโรค
หรือไม่ มะเร็งบางชนิดถ้าพบในระยะเริ่มแรกจะเพิ่มโอกาสในการหายมากขึ้น
2. การตรวจที่นิยมใช้คัดกรองมะเร็งปอด
2.1 เอกซเรย์ปอด คือการถ่ายภาพอวัยวะและกระดูกภายในทรวงอก โดยรังสีเอกซเรย์มีความสามารถในการทะลุทะลวง
ร่างกายไปแสดงภาพบนแผ่นฟิล์ม
2.2 การตรวจเสมหะ เป็นการนำเสมหะมาดูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเซลล์มะเร็ง
3. การตรวจคัดกรองแบบใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยการแพทย์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการแสดงชุดภาพของอวัยวะภายในร่างกายโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ในการสแกนร่างกายแล้ว
ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้ได้รูปภาพออกมา
ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆในคนไทย และอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ และการตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน
ดังนั้นบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และบุคคลที่มี พ่อ แม่ พี่ น้องลูกป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ในทุกอายุ แต่อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะสูงขึ้นในผู้สูงอายุ โดยจะพบได้มากหลัง อายุ 50 ปี แต่โอกาสเกิดโรคจะมีการเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ หลังอายุ 40 ปี เป็นต้นไป
- บุคคลที่มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, หรือผู้ที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังของลำไส้บางอย่าง จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงกว่าคนทั่วไป (Crohn’s disease และ Ulcerative colitis)
- ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดใกล้เคียงกัน
- มีอาการท้องผูกเป็นประจำ
- ทานเนื้อสัตว์ จำนวนมาก
- ทานผักน้อย
- ไม่ออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา
ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกรณีที่มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ถ้ามีพ่อ, แม่, พี่, น้องหรือลูก เป็นโรคนี้ 1 คน => จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า
- ถ้ามีพ่อ, แม่, พี่, น้องหรือลูก เป็นโรคนี้ 2 คน => จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า
- ถ้ามีพ่อ, แม่, พี่, น้องหรือลูก เป็นโรคนี้ โดยอายุของญาติที่เป็นโรคอายุน้อยกว่า 50 ปี => จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า
- ถ้ามีพ่อ, แม่, พี่, น้อง, ลูก มีเนื้องอกที่ลำไส้ 1 คน => จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 เท่า
- ถ้ามีปู่, ย่า, ตา, ยาย, ลุง, ป้า, น้า, อา เป็นโรคนี้ 1 คน => จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า
- ถ้ามีปู่, ย่า, ตา, ยาย, ลุง, ป้า, น้า, อา เป็นโรคนี้ 2 คน => จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า
การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้หญิง
การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้หญิง
ตรวจสุขภาพหามะเร็งอย่างไรดี และเมื่อไหร่!
โรคที่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงก็คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงเน้นไปที่อวัยวะเหล่านี้เป็นหลัก
เต้านม
โดยทั่วๆไป ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ควรจะต้องเริ่มมีการตรวจเต้านมตัวเองอยู่สม่ำเสมอ แนะนำให้ตรวจหลังการหมดช่วงมีประจำเดือน และให้พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุก1-3ปี
อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แนะนำเริ่มมีการตรวจแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี และยังต้องมีการตรวจด้วยตัวเองต่อไปอย่างสม่ำเสมอเช่นเดิม
แต่ถ้าเป็นผู้หญิงที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป เช่น เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน เคยตรวจเจอเนื้อเต้านมชนิด LCIS เคยฉายแสงก่อนอายุ 30 ปี บริเวรหน้าอก มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเป็นมะเร็งทางพันธุกรรมเต้านม รังไข่ อาจต้องเริ่มตรวจแมมโมแกรมที่อายุ 30 พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทุก 6-12 เดือน หรือตรวจแมมโมแกรมอาจไม่พอ บางรายอาจต้องตรวจ MRI หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย
ปากมดลูก
อายุ 21-29 ปี ให้ตรวจ Pap test (ตรวจแป๊ป) ทุก 3ปี เป็นการตรวจภายในและตรวจเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูก
อายุ 30-65 ปี ให้ตรวจ Pap test ทุก3ปีได้ และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นอาจต้องมีการตรวจเชื้อ HPV (เอชพีวี) เพิ่มเติม โดยทำทุก 5 ปีถ้าตรวจ Pap test ร่วมกับการตรวจ HPV
ลำไส้ใหญ่
คนทั่วไป เริ่มตรวจที่อายุ 50 ปีค่ะ
โดยการตรวจได้หลายแบบได้แก่
* การส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก (flexible sigmoidoscopy) ทุก 5 ปี
* การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (colonoscopy) ทุก10 ปี
* การตรวจอุจจาระ โดยอาจร่วมกับส่องกล้องลำไส้ส่วนปลายปละทวารหนัก ทุก 5 ปี
* การตรวจลำไส้ใหญ่ทางเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT colonography ทุก 5 ปี
การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้ชาย
การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้ชาย
มะเร็งที่เจอบ่อยในผู้ชาย ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด ดังนั้นการตรวจสุขภาพจะเป็นตามแนวทางนี้
มะเร็งต่อมลูกหมาก
จริงๆการตรวจคัดกรองในโรคนี้ก็ยังมีการถกเถียงกันเพราะมีหลายการศึกษาที่ระบุว่าการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ไม่ได้ช่วยเพิ่มการมีชีวิตอยู่รอด แถมเมื่อตรวจค่าผิดปกติและต้องไปเจาะตรวจชิ้นเนื้อ พบว่าประมาณ 75% พบว่าไม่ได้เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยก็จะเจ็บตัวเปล่าๆ
แต่ถ้าอยากตรวจก็สามารถทำได้โดยการตรวจหาค่า PSA และการพบแพทย์เพื่อตรวจขนาดต่อมลูกหมากทางทวาร (rectal examination) โดยมักแนะนำในคนที่มีความเสี่ยงเช่น อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว
มะเร็งตับ
เรามักจะตรวจในผู้ป่วยที่โรคตับอักเสบเรื้อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบBและC ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง โดยการหาเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ (liver function test) ค่าของ AFP และการอัลตราซาวน์ตับ หรือถ้ามีการสงสัยอะไรก็อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเช่นการทำMRI
มะเร็งลำไส้
เริ่มตรวจที่อายุ 50 ปี แต่ถ้ามีภาวะบางอย่างที่อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ ก็จะแนะนำตรวจก่อนอายุ 50 ปี เช่น มีประวัติในครอบครัวเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ มีให้เลือกตรวจได้หลายแบบ เช่น
-การส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก (flexible sigmoidoscopy) ทุก 5 ปี
-การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (colonoscopy) ทุก10 ปี
-การตรวจอุจจาระ โดยอาจร่วมกับส่องกล้องลำไส้ส่วนปลายปละทวารหนัก ทุก 5 ปี
-การตรวจลำไส้ใหญ่ทางเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ CT colonography ทุก 5 ปี
มะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดนี่ เป็นเรื่องใหม่มากพอสมควรค่ะ ล่าสุดมีการศึกษาหนึ่งออกมาว่า ช่วยลดอัตราการตายจากมะเร็งปอด 20% (lung cancer mortality rate) แต่ในการศึกษาพุ่งเป้าไปที่คนบางกลุ่ม ดังนั้นกลุ่มดังกล่าวจึงเป็นกลุ่มที่มีประโยชน์จากการตรวจคัดกรองมะเร็ง
การคัดกรองในที่นี้ คือการตรวจโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบปริมาณรังสีต่ำกว่าปกติ เรียกว่า low-dose CT ซึ่งจะมีจำกัดอยู่เฉพาะบางโรงพยาบาลเท่านั้น
กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์คือ
ต้องมีทั้งสามข้อนะคะ
- มีประวัติสูบบุหรี่จัด ในที่นี้คือ ค่า pack-year ให้เอาจำนวนต่อซอง x จำนวนปี ค่าตั้งแต่30ขึ้นไปถือว่าจัด เช่น สูบ1ซองเป็นเวลา30ปี (pack year=30) , สูบ2ซองเป็นเวลา15ปี (pack year=30)
- ยังคงสูบอยู่หรือถ้าเลิกแล้ว ยังคงอยู่ในช่วงไม่เกิน 15 ปีหลังเลิก
- อายุช่วง 55-74 ปี
ความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมีอยู่ว่า
1.ในเอกซเรย์อาจเห็นว่ามีอะไร แต่จริงๆแล้วไม่มี เรียกว่าค่าบวกลวง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความกังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เครียด ต้องมาตรวจเพิ่มเติมบ่อยๆ เจาะชิ้นเนื้อเพิ่ม
2.อาจเจออะไรที่ผิดปกติบางอย่างจริงๆ แต่จริงๆอาจไม่ต้องรักษา ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร แต่อาจต้องไปผ่าตัดจริง หรือรักษาเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
3.การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บ่อยๆหลายครั้งมากๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้ร่างกายเราได้รับรังสีด้วยเช่นกัน อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็งบางอย่างในอนาคต
เพราะฉะนั้นเราจึงเลือกในคนที่มีความเสี่ยงจริงๆ เพราะจะได้รับประโยชน์จากการรักษาจริงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจต้องรอผลการวิจัยอื่นๆในอนาคตด้วย