ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ

ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ Thumb HealthServ.net
ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ ThumbMobile HealthServ.net

แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ผู้มีโรคประจำตัวเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนหลังโควิด แนะหายแล้วอย่าชะล่าใจ ถ้าไม่ไหวให้ไปพบแพทย์

ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ HealthServ
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2565 - แม้มาตรการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในหลายประเทศรวมถึงเมืองไทยกำลังเริ่มผ่อนคลาย เพื่อให้ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตกันได้ตามปกติ แต่แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและระบบทางเดินหายใจยังเตือนคนไทยให้ระวังโควิดอย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งที่น่ากังวลใจไม่แพ้กันก็คืออาการป่วยตกค้างหลังหายจากโรค หรือที่เราเรียกว่า Long COVID นั่นเอง
 

หลายคนที่ติดตามข่าวสารอาจเคยได้ยินชื่ออาการ Long COVID กันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร อันตรายแค่ไหน และเราหลีกเลี่ยงได้หรือเปล่า ยิ่งเมืองไทยกำลังอยู่ในช่วงหน้าฝน ก็ยิ่งสับสนไปกันใหญ่ว่าที่รู้สึกไม่สบาย หายใจไม่เต็มอิ่มเป็นเพราะเรามีอาการ Long COVID หรือแจ็กพอตติดซ้ำ หรือว่ากำลังป่วยด้วยโรคอื่นกันแน่?
 
 
ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ HealthServ
พญ.ญาดา หลุยเจริญ อายุรแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม



ของแถมจากโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากได้

 
“ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการ Long COVID แต่ในทางการแพทย์มีสมมติฐานว่าอาจเกิดจากเศษซากของเชื้อไวรัสที่ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบในระบบต่าง ๆ” พญ.ญาดา หลุยเจริญ อายุรแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลวิมุต อธิบาย “แน่นอนว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงทุกคน แต่ส่วนใหญ่เราพบภาวะ Long COVID ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุหรือมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน (ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30) ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงคือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง โรคปอดเรื้อรัง โรคไต หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษาโควิด เช่นมีเชื้อลงปอดหรือปอดอักเสบ กลุ่มนี้ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะ Long COVID ด้วยเช่นกัน”
 


 
การชี้ชัดว่าเรามีภาวะ Long COVID หรือไม่ด้วยตัวเองนั้น นับเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าภายในช่วง 3 เดือนหลังจากที่เราหายป่วยโควิด เกิดอาการผิดปกติอื่น ๆ นานเกิน 4 สัปดาห์ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนและควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาภาวะ Long COVID
 
“ภาวะ Long COVID สามารถแสดงออกมาได้หลายระบบ เราจึงควรตรวจดูให้แน่นอนว่าเป็นอาการจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือเปล่า เช่น บางคนที่มีอาการเจ็บหน้าอก อาจเกิดจากภาวะที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ที่พบก็จะเป็นภาวะแทรกซ้อนทางด้านระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปอดอักเสบ หรือบางคนมีอาการไอ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หรือเวลาออกแรงก็จะเหนื่อย อาจมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติ ซึ่งขอแนะนำให้ผู้ที่มีอาการเหล่านี้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนหลังจากการติดโควิดและเข้ารับการรักษาฟื้นฟูปอด เพื่อให้ปอดฟื้นตัวและแข็งแรงยิ่งขึ้น” พญ.ญาดา หลุยเจริญ อธิบาย
 
 
ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ HealthServ

Long COVID รักษาอย่างไร หายขาดได้หรือไม่

 
เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ที่มาตรวจหา Long COVID คือผู้ที่ภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจเกี่ยวกับปอด ดังนั้น การรักษาจึงเน้นไปที่การดูแลสุขภาพของปอดเป็นหลัก
 
พญ. พิชชาพร เมฆินทรพันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า “สำหรับโรงพยาบาลวิมุต การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและปอดในภาวะ Long COVID มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการหลงเหลือภายหลังจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือการทำกิจวัตรต่างๆได้น้อยลง โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยกลับมามีสมรรถภาพทางกายใกล้เคียงกับก่อนการติดเชื้อCOVID-19 ให้มากที่สุด  แน่นอนว่า ทุกเคสจะถูกวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อการออกแบบโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล”
 
 
แพ็กเกจฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโรงพยาบาลวิมุต จะเริ่มจากการทำ Low dose CT Scan ปอด เพื่อดูว่าเคยมีอาการของโควิดลงปอดหรือมีพยาธิสภาพในปอดอื่นๆหรือไม่ (เพราะบางครั้งการเอกซเรย์ธรรมดาอาจมองไม่เห็น แต่จะเห็นผ่าน CT Scan เท่านั้น) หากตรวจพบความผิดปกติก็จะส่งต่อให้เข้าพบกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านปอด แต่ถ้าผลอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติและไม่มีภาวะอื่นๆ ก็จะเข้าสู่โปรแกรมการฟื้นฟู โดยเริ่มจากการทดสอบความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนขณะออกแรง ต่อด้วยมีการฝึกหายใจ การฝึกบริหารปอด การดูดลูกบอลผ่านอุปกรณ์การบริหารปอด (incentive spirometry) การแนะนำในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่ายกายโดยรวม โดยคนไข้ที่เข้ารับโปรแกรมที่โรงพยาบาลก็จะได้รับอุปกรณ์นี้กลับไปฝึกบริหารปอดที่บ้านพร้อมคู่มือ 1 เล่มในการปฏิบัติตัว การบริหาร และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมต่อไป
 
 
 
 
ไอ เหนื่อย เจ็บหน้าอก! ส่องอาการ Long COVID เมื่อโรคหายแต่ยังป่วยไม่จบ HealthServ
 ยกตัวอย่างคนไข้ Long COVID รายหนึ่งของโรงพยาบาลวิมุต เมื่อหายจากโควิดยังมีความรู้สึกว่าเหนื่อยง่าย จากเดิมที่เคยเดินขึ้นบันไดหรือสะพานลอยได้สบายๆ ภายหลังติดเชื้อและหายจากการติดเชื้อ ก็พบว่าตัวเองต้องหยุดพักและหอบเหนื่อยมากขึ้นหลังจากเดินขึ้นบันไดในระยะทางเท่าเดิม เมื่อทำการตรวจอย่างละเอียดจึงพบว่ามีภาวะ Oxygen Drop หลังจากออกแรงไปได้ 2-3 นาที ทีมแพทย์จึงวางแนวทางการฟื้นฟูโดยเริ่มที่การสอนวิธีการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อให้ปอดขยายได้มากที่สุด ต่อด้วยโปรแกรมการเพิ่มความฟิตของร่างกาย เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนสมรรถภาพทางกายโดยรวมฟื้นตัวและมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
หลายคนอาจยังกังวลว่าต้องรักษายืดเยื้อหรือเสียค่าใช้จ่ายสูงหรือไม่ จึงยังลังเลที่จะมาพบแพทย์ “ขอบอกว่าไม่ต้องกังวลขนาดนั้น แม้ระยะเวลาในการฟื้นฟูจะขึ้นอยู่กับแต่ละเคสว่ามีปัญหามากแค่ไหน แต่จริง ๆ แล้ว แพ็กเกจที่ทางวิมุตแนะนำ ส่วนมากจะเป็นการมาพบหมอแค่ครั้งเดียว และที่เหลือคือการแนะนำให้ออกกำลังกายอยู่ที่บ้าน ส่วนเคสไหนที่ต้องมีการติดตามผลต่อเนื่อง ก็จะแนะนำให้เข้ามารับโปรแกรมระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น” พญ. พิชชาพร เมฆินทรพันธุ์ กล่าวทิ้งท้าย
 
 
 วิธีการที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงภาวะ Long COVID ที่แพทย์ทั้งสองท่านแนะนำก็คือ อย่าติดโควิด! เพราะติดแล้วเสี่ยงต่อ Long COVID ทุกคน แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่าก็คือการรับวัคซีนโควิด เพราะนอกจากจะช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้อีกด้วย โดยควรรับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม และฉีดกระตุ้นทุก 4 เดือน แน่นอนว่าการปฏิบัติตัวพื้นฐานอย่างการรักษาระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ก็ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัดต่อไป
 
แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน!
 


เกี่ยวกับโรงพยาบาลวิมุต
โรงพยาบาลวิมุต ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจใกล้สี่แยกสะพานควายของกรุงเทพมหานครฯ เป็นโรงพยาบาลขั้นตติยภูมิ (Tertiary Care) ขนาด 236 เตียงในรูปแบบอาคารสูง 18 ชั้น ซึ่งได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสากลของ Joint Commission International (JCI) เน้นให้บริการรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ สมอง เบาหวาน กระดูก ระบบทางเดินอาหาร และตับ รวมถึงกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)  นอกจากนี้ ยังมีบริการทางการแพทย์อื่น ๆ อาทิ ศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุ (Geriatric center) เพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการดูแลพื้นฟูสภาวะหลังวิกฤต (Transitional Care) เพื่อฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยหลังจากรักษาเพื่อเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน เรานำเสนอบริการในรูปแบบ One-stop Service ซึ่งครอบคลุมบริการดูแลสุขภาพถึงบ้าน (Health to Home) มอบความสะดวกสบายและทันสมัยผ่านการใช้ ViMUT Application สำหรับการตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ส่วนบุคคล การจองนัดหมายแพทย์ด้วยตัวเอง การรับคำปรึกษาจากแพทย์แบบออนไลน์ (Telemedicine) และบริการจัดส่งยาและวัคซีนถึงบ้าน (ViMUT Drug delivery)

โรงพยาบาลวิมุต

522/3 ถ. พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด