2) เริ่มทำตัวอย่างหุ่นฟางนก
การประชุมโดยไม่เห็นตัวหุ่นฟางจริงๆ ยากที่จะทำไห้คนเชื่อว่าฟางสามารถทำนกตัวใหญ่ได้ จึงได้ขอให้วิทยาลัยเทคนิค และสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยนาทลองทำตัวอย่างมาดูกัน อาจารย์ ศึกษานิเทศก็ และข้าราชการ ลูกจ้างช่วยกันออกแบบและลงมือทำ โดยใช้ โครงไม้ไผ่และใช้ลวดหรือเหล็กอ๊อกเป็นรูปนก แล้วใช้กระดาษปะเพื่อจัดฟางมัดเป็นมัดๆ แล้วนำมาเรียงกัน ทำครั้งแรกไม่ได้พ่นสี 1 ตัว และพ่นสีตามสีนก 1 ตัว นำมาตั้งโชว์ไว้หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อให้ผู้สนใจมาดูเป็นตัวอย่างและยังนำใส่รถปิคอัพแห่ไปตามอำเภอต่างๆ ให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
3) การฉัดประกวดหุ่นฟางนก
เมื่อทุกคนเห็นตัวอย่างแล้วมีความมั่นใจมากขึ้น ได้กำหนดให้ผู้ที่ต้องการทำหุ่นพ่างนกมาขอ จองประเภพนกได้ที่กองอำนวยการ มีรูปนกให้ด้วย บางหน่วยงานได้ไปถ่ายนกจริงจากสวนนก รองผู้ว่าราชการจังหวัด (ร.ต.ไมตรี ไนยะกูล) ได้เริ่มแจกจ่ายจำนวนหุ่นฟางนกให้อำเภอและชมรมต่าง ๆ รวมทั้งโรงเรียนหน่วยราชการทำนกฟางเข้าแข่งขัน โดยกำหนดขนาดอย่างน้อยตัวยาว 3 เมตรขึ้นไป
การทำปีแรกหลายรายไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร จังหวัดต้องจัดหน่วยออกตระเวนดูจุดต่างๆ ที่ทำดีแล้ว ให้จุดอื่นไปดูเป็นตัวอย่างและคอยไปชี้แนะ จนในที่สุดกลายเป็นมหกรรมที่ทุกคนต้องการมีส่วนร่วม จำนวนการจองนกที่จะทำมากกว่า 100 ตัว ต้องมีการจับฉลากประเภทนกในกรณีที่ขอจองซ้ำกัน ทั้งนี้ เพื่อให้มีนกประเภทต่างๆ โทรทัศน์ช่องต่างๆ ได้ทะยอยมาทำข่าวและออกเผยแพร่ ชาวชัยนาทยิ่งตื่นตัวมากขึ้น และภูมิไจที่ได้เห็นกิจกรรมที่ทุกคนช่วยจัดฟางทำนกเพื่อเข้าประกวด
4) สัปตาห์มหกรรมหุ่นฟางนกครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 6 - 12 กุมภาพันธ์ 2529 กำหนดให้มีการแสดงหุ่นฟางนกระหว่างทางจากสายเอเชียเข้ามาถึงหน้าสวนนก วันเปิดงานได้เริ่มเดินขบวนจากทุกอำเภอเข้าสู่หน้าศาลากลางจังหวัดตั้งแต่เช้า ความตื่นตาตื่นใจของชาวเมืองเมื่อเห็นขบวนนกที่เดินแห่เข้าสู่สนาม พร้อมกลองยาวและการร่ายรำของเข้าของหุ่นฟางนก ต่างก็ชื่นชมฝีมือของคนทำนก ทั้งหมด 126 ตัว มีสีสรรและรูปนกประเภทต่าง ๆ คณะกรรมการจัดประกวดได้ให้คะแนนและต้ดสินรางวัลที่ 1. 2, 3 รางวัลชมเชยอีก 12 ตัว รวม 15 ตัว ภาคบ่ายได้เชิญรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บันหัตฐาน) มาเป็นประธาน ท่าน รมต.ในฐานะดูแลการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย ได้ชมเชยความสามารถของชาวชัยนาท และให้กำลังใจกับชาวชัยนาทว่าควร
จะทำเป็นประเพณีต่อไป เพื่อชักชวนให้คนมาท่องเที่ยวสวนนก
ระหว่างสัปดาห์มหกรรมหุ่นฟางนก จัดหวัตชัยนาทมีรถยนต์ทั้งส่วนบุคคลและรถทัวร์เล็กใหญ่มาชมมากมายเกินกว่าที่จังหวัดคาดหมาย สินค้าพื้นเมืองและผลิตภัณฑ์ชาวบ้านที่เตรียมมาจำหน่ายหน้าสวนนกจำหน่ายหมดภายใน 2 วัน ต้องรีบขอจังหวัดข้างเคียงนำผลิตภัณฑ์ชาวบ้านมาเสริม ในปี 2529 ได้สร้างความเชื่อมั่นกับชาวชัยนาทมากมาย อาหารต่างๆ รับมือไม่ทัน มีคนมาเที่ยวแล้วกลับไม่ทันก็ต้องพักโรงแรม ชาวชัยนาทตื่นเต้นที่เห็นรถติดและมีผู้คนมากมาย ในช่วงนั้นยังไม่ได้มีกรงนกยักษ์ มีแต่กรงนกเล็กๆ ผู้คนก็สนใจเข้าไปชมนกมากมายโตยไม่เก็บค่าผ่านประตู ร้านอาหารและแม่ค้าในสวนนกมีรายด้อย่างน่าพอใจ และเรียกร้องให้จัดอีกในปีต่อไป
5) การโชว์หุ่นฟางนกในกรุงเทพ ฯ และชลบุรี
ศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ และชลบุรีได้มาขอเช่าหุ่นพางนกที่ชนะการประกวดไปแสดงไว้ในศูนย์การค้าเพื่อให้ประชาชนที่สนใจไปถ่ายรูป ปรากฎว่าชาวกรุงเทพฯว ได้เขียนจดหมายมาชมเชยฝีมือของชาวบ้าน เพราะนกหุ่นฟางทุกตัวจะมีเจ้าของเป็นผู้ทำทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายการทำแต่ละตัวแตกต่างกันไป แล้วแต่วัสดุที่ใช้และขนาดของนก ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 1,000 - 3,000 บาท มีนกบางตัวมีขนาตใหญ่โตสูงกว่า 5 เมตร ราคาจะสูงขึ้นไปถึง 5 -6 พันบาท การตั้งแสดงในกรุงเทพ ฯ 2 ครั้ง และในจังหวัดชลบุรีอีก 1 ครั้ง รวมทั้งการได้รับเชิญเข้าร่วมบานแห่เปิดปีการท่องเที่ยวไทย ในวันที่ 4 มกราคม 2530 ที่ถนนราชดำเนิน หุ่นฟางนก 10 ตัว พร้อมสาวงามประจำนกได้รับการบ่รบมือระหว่างเดินผ่านฝูงชน ทำให้ชาวชัยนาทเกิดความภูมิใจยิ่งขึ้น และมีผู้คนต่างจังหวัดเริ่มมาเที่ยวสวนนกชัยนาทมากขึ้นตามระดับ
6) จูร่ง สิงคโปร์มาเยือนสวนนกและขอซื้อหุ่นฟาง
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสวนนกจูร่ง ได้โทรศัพท์ทางไกลมาติดต่อผู้เขียนเพื่อมาขอดูสวนนกและเยี่ยมชมหุ่นฟางนก หลังจากมหกรรมหุ่นฟางนก ทางจังหวัดขอรับเป็นเจ้าภาพ เมื่อมาถึงชัยนาทแล้วได้แวะชมสวนนกและชมผลิตภัณฑ์ชาวบ้าน เพื่อจะนำไปจำหน่ายที่สวนนกจูร่ง ได้ตกลงในหลักการจะขอซื้อนกหุ่นฟางตามที่เขาต้องการ 15 ตัว เพื่อจะนำไปเปิดแสดง "สัปดาห์ไทย" ที่สวนนกจูร่ง สิงคโปร์ ขณะนี้กำลังเจรจาเรื่องค่าขนส่งและกำหนดวันที่แน่นอน ส่วนราคาหุ่นพ่างจะตกลงแล้วแต่ขนาดและประเภทนกที่ส่งมา แต่จะไม่เกินตัวละหนึ่งหมื่นบาท
7) การจัดสัปดาห์หุ่นฟางนกครั้งที่ 2
เมื่อการจัดครั้งแรกสำเร็จด้วยดี การจัดมหกรรมหุ่นพ่างนกครั้งที่ 2 จึงไม่ต้องออกแรงมาก และกำหนดระหว่าง 24 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2530 การเตรียมงานสะดวกและชำนาญขึ้นกว่าเดิม มีผู้มาจองนกและเข้าประกาดกว่า 146 ตัว และยังได้หาผู้อุปการะเป็นกองทุนหุ่นฟางนกส่งให้ตำบลละ 2,000 บาท มีผู้ว่าราชการจังหวัด 26 จังหวัด อธิบดีกรมต่างๆ และพ่อค้าประชาชนทั้งในจังหวัดและกรงเทพฯ อุปการะมารวม 68 ตัว นับว่าได้รับความกรุณาจากทุกท่านด้วยดี จังหวัดได้ถ่ายรูปหุ่นฟางนกขนาด 8 นิ้วส่งให้ผู้ที่ให้การอุปการะนก
การจัดครั้งที่ 2 นี้ ได้แบ่งประกวด 2 ประเภท คือ ประเภทชาวบ้านทำ และประเภทหน่วยงานทำ และแต่ละประเภทมีรางวัล 1,2,3 ชมเชยอีก 15 ตัว จึงทำให้ชาวชัยนาทตื่นตัวยิ่งขึ้น การประกวดครั้งที่ 2 ได้เชิญกรรมการจากจังหวัดใกล้เคียง และนกที่ชนะการประกวดได้ตั้งแสดงไว้ในสวนนก
ส่วนหุ่นฟางนกที่ตกรอบตั้งเรียงราย สองข้างทางจากสายเอเชียเข้ามาถึงตัวเมืองชัยนาท
การจัดมหกรรมครั้งนี้ได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ให้คนมาชมกรงนกใหญ่ที่สุตในเอเชีย ปรากฏว่ามีคนมาเที่ยวประมาณ 200,000 คน มีรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 10 ล้านบาท เฉพาะค่าผ่านประตูสวนนาและค่จอดรถ ช่วง 8 วัน เก็บได้กว่า 5 แสนบาท ผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านในอำเภอต่างๆ ที่หน่วยราชการส่งเสริมการผลิตทั้งหัตถกรรมและเกษตรกรรมจำหน่ายได้กว่า 4 แสนบาท ชาวบ้านมาจัดจำหน่ายเองด้วยความพออกพอใจ เพราะไม่เคยขายดีเช่นนี้
ก่อนการจัดงาน ได้จัดประชุมร้านอาหาร แม่ค้า สามล้อรับจ้าง โรงแรม เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้เรื่องงานมหกรรมหุ่นฟาง เพื่อจะได้ช่วยประชาสัมพันธ์ ช่วยให้การต้อนรับผู้มาท่องเที่ยว และที่สำคัญต้องช่วยหันรักษาความสะอาด ไม่ฉวยโอกาสขายของแพง ต้องรู้จักแนะนำเส้นทางไปเที่ยววัดต่าง ๆ และเขื่อนเจ้าพระยา รวมทั้งการหาซื้อของฝากกลับไป การแต่งกายของสามล้อรับจ้างได้รับเสื้อดสีเหลืองสัญลักษณ์สวนนก เพื่อร่วมฉลองปีการท่องเที่ยวด้วย
อนาคตของสวนนกชัยนาท
การจัดมหกรรมหุ่นฟางนกเพื่อเสริมการประชาสัมพันธ์สวนนกชัยนาท ได้กลายเป็นกิจกรรมอีกแขนงหนึ่งที่สร้างความแปลกใหม่กับผู้คนที่มาสัมผัส ประชาชนที่ร่วมกันทำหุ่นฟางได้สร้างกิจารรมร่วมโดยแบ่งหน้าที่กันทำ ระหว่างทำฟางนก พระสงฆ์องค์เจ้าหลายแห่งได้ร่วมชวนชาวบ้านทำฟางนก จึงเชื่อว่าการจัดมหกรรมหุ่นฟางนกคงจะไม่หยุดแค่นี้ และจะมีการพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ได้มีการพูดจากันว่าแต่ละอำเภอน่าจะทำหุ่นพ่างประเภทต่าง ๆ แล้วตั้งแสดงไว้ในตัวอำเภอเพื่อชักชวนให้คนไปเที่ยวไม่ใช่แสดงแต่ในอำเภอเมืองเท่านั้น อย่างเช่น การทำฟางลิง ฟางกระบือ ฟางหนู ฟางเสือ ตามสัญลักษณ์หรือแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดชัยนาท เพราะปัจจุบันมีวิทยากรชาวบ้านที่สามารถทำหุ่นฟางเก่งขึ้นมาก
สวนนกชัยนาทจะต้องเร่งพัฒนาภายในกรงใหญ่ และจัดทางเข้าให้เป็นอาคารอำนวยการที่มีสินค้าพื้นเมือง และสินค้าเกษตรที่ผู้มาท่องเที่ยวสามารถซื้อติดมือเป็นของฝาก ส้มโอขาวแตงกวาที่จังหวัดส่งเสริมก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ได้นำมาจำหน่ายในสวนนกตามฤดูกาล ไม้จิ้มฟันหาดท่าเสา เครื่องจักสาน สิ่งประดิษฐ์จากลุ่มสตรี กลุ่มยาวชนจะสามารถนำมาจำหน่ายได้ โดยเฉพาะวันสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวมามากมาย
น้ำตาเทียมในกรงใหญ่ที่กำลังออกแบบคาดว่าจะเบ็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวและทำให้สวนนกแห่งนี้เป็นธรรมชาติมากขึ้น การได้รับเงินสนับสนุนจากกรมการปกครองเพื่อมาราดยางถนนในสวนนกและจะได้จัดขบวนรถไฟเล็กมาวิ่งรับส่งผู้สนใรชมทัศนียภาพรอบๆ สวนนก ต่อไปจะต้องทำให้เสร็จบี 2530 นี้
การเตรียมการสร้างกรงนกกลางคืน เป็นแผนงานที่จะทำให้แล้วเสร็จในบีนี้เช่นกัน บัจจุบันมีนกที่หากินกลางคืนอยู่มากพอควร ต้องใช้แฝกมุงกรงนกเล็กไว้ให้มืดเหมือนกลางคืน เพราะไม่สามารถปล่อยนกเข้าไปในกรงใหญ่ได้ กำลังออกแบบเพื่อของบจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จะให้การสนับสนุนต่อไป
การจัดการสวนนก ปัจจุบันได้มอบให้อำเภอเมืองในฐานะส่วนอำเภอ และปลัตองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นทีมงาน ต่อไปกำลังหารูปแบบว่าควรจะทำในเชิงธุรกิจขององค์การหรือคงไว้ในรูปราชการ ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องพิจารณาถึงเรื่องการเลี้ยงตัวเองจากรายได้ของสวนนกและการจัดกิจการรมต่าง ๆ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้ทัวร์และโรงเรียนต่างๆ พานักเรียนมาเยี่ยมชมสวนนกเป็นประจำด้วย