ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หนังสือรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) เตรียมใช้ พ.ย.64 นี้ รับเปิดประเทศ

หนังสือรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) เตรียมใช้ พ.ย.64 นี้ รับเปิดประเทศ Thumb HealthServ.net
หนังสือรับรองดิจิทัล (Digital Certificate) เตรียมใช้ พ.ย.64 นี้ รับเปิดประเทศ ThumbMobile HealthServ.net

เพิ่มการออกหนังสือรับรอง ในรูปแบบดิจิทัล เพิ่มเติม จากเดิมที่กำหนดไว้เพียงรูปแบบเป็นเอกสารเล่ม เท่านั้น

28 ตุลาคม 2564 ในประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 10/2564  โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน พร้อมกับผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลาโหม มหาดไทย แรงงาน ศึกษาธิการ การต่างประเทศ การท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ UHOSNET โรงพยาบาลเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข ผู้แทนสภาวิชาชีพและองค์กรอิสระ ร่วมการประชุมและประชุมผ่านระบบออนไลน์
 
          ที่ประชุมได้หารือประเด็นสำคัญเรื่อง การเพิ่มรูปแบบการให้บริการ "หนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate)"  โดยสรุปว่า 

         คณะกรรมมีติ เห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่องการ "ออกหนังสือรับรอง"  การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 พ.ศ. ... ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข โดยมีการ 

         เพิ่มการออกหนังสือรับรอง "ในรูปแบบดิจิทัล"  เพิ่มเติม จากเดิมที่กำหนดไว้เพียงรูปแบบเป็นเอกสารเล่ม เท่านั้น


         การออกใบรับรองดิจิตอล นี้ จะมีค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือรับรองในอัตรา 50 บาทต่อเล่มหรือต่อครั้ง

         ประกาศจะมีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะทันภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 จะเริ่มให้บริการหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) ในบางสถานที่นำร่องก่อนขยายทั่วประเทศต่อไป


         สำหรับการขอใบรับรองแบบเล่มนั้น ปัจจุบันมีหน่วยงานที่จะให้บริการออกหนังสือรับรอง มีจำนวน 102 แห่ง ได้แก่
  • กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • สถาบันบำราศนราดูร
  • สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กทม.
  • สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 7 แห่ง (เชียงใหม่ สระบุรี ราชบุรี ชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี และสงขลา)
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวม 92 แห่ง 
นับถึงขณะนี้ มีผู้ขอใบรับรองแล้วกว่า 4 หมื่นคนทั่วประเทศ 

        

กรอบงานรองรับการเปิดประเทศ

ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะกรรมการได้มีมติ เห็นชอบกรอบการดำเนินงานรองรับการเปิดประเทศและการระบาดของโรคโควิด 19 ปี พ.ศ. 2565 มีเป้าหมายสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้มาตรการป้องกันควบคุมโรค สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยมอบคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จัดทำแผนปฏิบัติการรองรับการเปิดประเทศและการระบาดของโรคโควิด 19 ปี พ.ศ. 2565 และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสาน สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานตามแนวทาง 3.เห็นชอบผลการประชุมของคณะกรรมการวิชาการ เรื่องแนวทางปฏิบัติในการกักตัวสำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยปรับนิยามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกรณีผู้เดินทางโดยเครื่องบิน จากผู้ที่นั่งใกล้ชิด 2 แถวหน้าหลังและแถวเดียวกับผู้ติดเชื้อ ไม่สวมหน้ากากนานกว่า 5 นาที เป็นผู้ที่นั่งติดกับผู้ติดเชื้อซ้ายขวา ไม่สวมหน้ากากนานกว่า 5 นาที และลดเวลากักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ครบโดส จาก 14 วัน เป็น 10 วัน ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจะใช้วิธีการติดตาม ซึ่งจะเสนอ ศบค.ต่อไป

         

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด