ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อุ้มบุญ ทำได้ภายใต้ 2 เงื่อนไขเท่านั้น

อุ้มบุญ ทำได้ภายใต้ 2 เงื่อนไขเท่านั้น Thumb HealthServ.net
อุ้มบุญ ทำได้ภายใต้ 2 เงื่อนไขเท่านั้น ThumbMobile HealthServ.net

การอุ้มบุญ สามารถทำได้โดยถูกกฏหมายในประเทศไทย เป็นไปตามข้อบ่งชี้ มีข้อกำหนดที่ยึดถือทั้งผู้ที่ต้องการให้ตั้งครรภ์แทน ผู้รับตั้งครรภ์แทน และที่สำคัญข้อห้ามข้อควรระวังที่จำเป็นต้องทราบ

อุ้มบุญ ทำได้ภายใต้ 2 เงื่อนไขเท่านั้น HealthServ




อุ้มบุญ หรือ การตั้งครรภ์แทน คือ การที่หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนให้สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าไม่อาจตั้งครรภ์เองได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ซึ่งทารกถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยา ทั้งนี้ การอุ้มบุญจะต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนให้แก่สามีและภริยารายนั้นๆ 

 
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ หมายถึง กรรมวิธีใดๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่นำอสุจิและไข่ออกจากร่างกายมนุษย์ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยไม่เป็นไปตามธรรมชาติ รวมทั้งการผสมเทียม
 
การให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์
 
  1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตามแพทยสภากำหนด
  2. ก่อนให้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องจัดให้มีการตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างการ จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ (หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ผู้รับบริจาคอสุจิหรือไข่) รวมทั้งป้องกันโรคที่อาจมีผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมาด้วย
  3. การสร้าง การเก็บรักษา การใช้ประโยชน์จากตัวอ่อน หรือการทำให้สิ้นสภาพของตัวอ่อน ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่แพทยสภาประกาศกำหนด แต่จำกำหนดให้เก็บรักษาหรือใช้ประโยชน์จากตัวอ่อนที่มีอายุเกินกว่าสิบสี่วันนับแต่วันปฏิสนธิไม่ได้ทั้งนี้อายุของตัวอ่อนไม่นับรวบระยะเวลาในการแช่แข็งตัวอ่อน
  4. สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
  5. ผู้ให้บริการ อาจทำการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำในลักษณะที่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการเลือกเพศ การตรวจวินิจฉัยให้เป็นไปตามแพทยสภากำหนด
  6. การผสมเทียมต้องกระทำต่อหญิงที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับการผสมเทียมที่แพทยสภากำหนด
  7. การผสมเทียมโดยใช้อสุจิของผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการผสมเทียม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่แพทย์สภากำหนด
 
 
 
การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนอย่างน้อยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
 

ผู้ที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
 
  1. สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยามีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าไม่อาจตั้งครรภ์เองได้และต้องมีสัญชาติไทย
  2. สามีหรือภริยามิได้มีสัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี


หญิงที่รับการตั้งครรภ์แทน
 
  1. ต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
  2. ต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีไม่มีญาติสืบสายโลหิต ให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    1) มีสัญชาติเดียวกันกับสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
    2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 40 ปีบริบูรณ์ และเคยมีบุตรมาแล้วโดยการคลอดตามธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หรือในกรณีผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง
    3) เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดี โดยผ่านการตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายจิตใจ และสภาพแวดล้อม ตามที่แพทยสภาประกาศ
    4) เป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชายที่อยู่กินฉันสามีภรรยา
    5) มีหนังสือแสดงความยินยอมให้มีการตั้งครรภ์แทนพร้อมเอกสารตามแบบคทพ.1
  3. ต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้น
  4. ถ้าหญิงนั้นมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายหรือชายที่อยู่กินฉันสามีภริยา จะต้องได้รับความยินยอมจากสามี
 

การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน


ให้กระทำได้ 2 วิธี ต่อไปนี้
 
  1. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน
  2. ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทบกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น ทั้งนี้ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน


การยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการตั้งครรภ์แทน
 
          แพทย์ผู้ให้บริการมีหน้าที่ยื่นคำขออนุญาตให้ดำเนินการตั้งครรภ์แทนต่อกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
 

เด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน
 
  1. เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ประสงค์จะมีบุตร
  2. มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก
  3. กรณีสามีและภริยาเสียชีวิตก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็ก จนกว่าศาลจะตั้งผู้ปกครองขึ้นใหม่


การแจ้งเกิด
 
  1. สามีและภริยามีหน้าที่แจ้งเกิดตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
  2. กรณีสามีและภริยาเสียชีวิตก่อนเด็กเกิดหรือ ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือ ไม่ปรากฏตัว ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนั้น มีหน้าที่แจ้งเกิด


ข้อควรระวัง
 
  1. ห้ามเป็นคนกลาง นายหน้า โดยมีค่าตอบแทนให้จัดการหรือชี้ช่องให้มีการตั้งครรภ์แทน
  2. ห้ามสามีและภริยาปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนเป็นบุตร
  3. ห้ามซื้อขาย เสนอซื้อ นำเข้า ส่งออก ซึ่งอสุจิ ไข่หรือตัวอ่อน
  4. ห้ามให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า
  5. ห้ามโฆษณาว่าจะรับหรือจะให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน
  6. ห้ามกระทำการที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการเลือกเพศ

สบส.คอลัมน์ "รอบรู้กับกรม สบส."

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด